คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ครูลำยอง วิศุภกาญจน์

คนภูเก็ตที่ควรค่าแก่การรำลึกถึง

..ครูลำยอง วิศุภกาญจน์ คนภูเก็ตที่ควรค่าแก่การรำลึกถึง..

ย้อนไปในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 จนบัดนี้ 8 ธันวาคม 2561 ครบรอบ 77 ปี เหตุการณ์ยกพลขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการของไทย ด้วยความสับสนในภาวะสงคราม ทำให้เกิดการปะทะระหว่างกองทัพญี่ปุ่นกับกองกำลังฝ่ายไทยซึ่งประกอบด้วย ทหาร ชาวบ้านและยุวชนทหารหลายจุด
.
ภูเก็ตในวันนั้นอาจมิใช่ยุทธภูมิสำคัญ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าหนึ่งในวีรชน ผู้ที่สละชีพเพื่อรักษาเอกราชของชาติในยุทธภูมิจังหวัดสุราษฏรธานี นามว่า ครูลำยอง วิศุภกาญจน์ เกิดและเติบโตในแผ่นดินภูเก็ต
.
ครูลำยอง วิศุภกาญจน์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2459 เป็นบุตรของนายแดง นางย้อย วิศุภกาญจน์ ภูมิลำเนาเดิมเป็นชาวจังหวัดภูเก็ต ครูลำยองเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนปลูกปัญญา และเริ่มเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต จนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 ต่อจากนั้นได้เข้ากรุงเทพฯ ศึกษาต่อวิชาครูประกาศนียบัตรครูประโยคประถม (ป.ป.) และได้เริ่มรับราชการครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนสุราษฎร์ธานี
.
ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพเรือญี่ปุ่นได้มุ่งตรงเข้าสู่อ่าว บ้านดอนและบุกขึ้นตลาดบ้านดอน ในวันนั้นครูลำยอง วิศุภกาญจน์ เป็นผู้หนึ่งที่อาสารับปืนพระรามหกออกต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น ก่อนโทรเลขแจ้งข่าวข้อตกลงระว่างรัฐบาลไทยกับกองทัพญี่ปุ่นจะมาถึง ครูลำยองถูกยิงโดยทหารญี่ปุ่นถึงแก่กรรมในสนามรบ
.
ครูลำยอง วิศุภกาญจน์ จึงเป็นอีกความภูมิใจและเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่สำคัญ จากวันนั้นถึงวันนี้ 77 ปี การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง 77 ปีการจากไปของครูลำยอง วิศุภกาญจน์ คนภูเก็ตที่ควรค่าแก่การรำลึกถึง

2,314 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต