กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต

28 มิถุนายน 2562

ชื่นชอบ 646

7,893 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

อาคารที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า เป็นอาคารเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดภูเก็ตที่มีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรมและทรงคุณค่า ด้วยมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นจังหวัดชายทะเลตะวันตก อาคารสีขาวโดดเด่นงามสง่า ตั้งประจักษ์แก่สายตาบุคคลทั่วไปมาหลายยุคสมัย  จากหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของรัชกาลที่ 6 ทำให้ทราบว่า อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2473 แต่เดิมเคยเป็นเรือนที่พักอาศัยของพระอนุรักษ์โยธา(นุด) ข้าหลวงรักษาราชการหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ภายหลังไม่นาน อาคารแห่งนี้ถูกนำมาใช้ในส่วนของราชการ นอกจากอาคารที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแล้ว ยังมีสำนักงานการไฟฟ้า สุขาภิบาลเมืองภูเก็ต และธนาคารออมสิน อยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกันด้วย

 

ลักษณะสถาปัตยกรรม สร้างเป็นอาคารชั้นเดียวคอนกรีตเสริมเหล็ก ทาสีขาว ด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้น 5 ขั้น เสาเป็นสี่เหลี่ยมเซาะร่องห่าง ราวลูกกรงปูนเรียบยาว กรอบหน้าต่างสีโอ๊ค มีหน้าต่างแบบเปิดบานคู่ เหนือบานเปิดเป็นช่องแสงไม้ตารางสี่เหลี่ยมติดกระจกใส ภายในตีฝ้าเพดานไม้ตีชิดทาสีขาว ประตูภายในเปิดปิดบานคู่ลูกฟักไม้ ก่อนถึงหลังคามีแนวกันสาดยื่นเป็นกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็กบาง ๆ ประมาณ 10 เซนติเมตร ยื่นออกมาประมาณ 80 เซนติเมตร หลังคาเป็นทรงปั้นหยา กระเบื้องจีนดินเผาทรงกระบอกผ่าซีก ป้ายหน้าอาคารเขียนด้วยตัวหนังสือแบบเก่าว่า ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข POST & TELAGRAPH OFFICE

 

ตรงบริเวณโรงแรมเพิร์ลในปัจจุบันที่อยู่ตรงข้ามกับอาคารที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นขุมเหมืองถูกพัฒนาเป็นอาคารพาณิชย์ของขุนเลิศโภคารักษ์ ท่านได้พัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นศูนย์การค้าเลิศโภคารักษ์ นับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต จึงจัดได้ว่าบริเวณที่ทำการไปรษณีย์ฯ ในอดีตเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เคยมีความพยามจะทำการรื้อถอนอาคารแห่งนี้มาแล้วครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2524 เมื่อสำนักงานจังหวัดภูเก็ตได้ทำหนังสือถึงสำนักงานไปรษณีย์เขต 8 แจ้งความประสงค์จะขอรื้อถอนอาคารเพื่อสร้างอาคารที่ทำการหลังใหม่ แต่กรมศิลปากรไม่อนุญาตให้รื้อถอน เนื่องจากอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการปรับปรุงอาคารไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า จัดสร้างให้เป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ตขึ้น เพื่อเป็นที่รวบรวมความรู้เรื่องแสตมป์และการสื่อสารต่างๆ ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ โดยเปิดให้เข้าเยี่ยมชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ภายในส่วนของอาคารพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงตราไปรษณีย์ยากร หรือดวงตราไปรษณียากรชุดต่างๆ ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการสื่อสารของไทยสมัยก่อน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข อาทิ เครื่องชั่งไปรษณียภัณฑ์แบบตัวเลขรุ่นแรก เครื่องประทับตราไปรษณียากร เครื่องรับส่งสัญญาณโทรสาร ฯลฯ ห้องด้านหลังภายในพิพิธภัณฑ์ยังจัดเป็นห้องสมุดที่รวบรวมความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ ประวัติความเป็นมาของแสตมป์ทั้งของโลกและของประเทศไทย และความเป็นมาของไปรษณีย์ไทย ฯลฯ 

 

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการสื่อสารของไทยสมัยก่อน

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ต ถนนมนตรี ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
โทรศัพท์ : 076 - 216 951
โทรสาร : 076 - 212 026

วันและเวลาทำการ

ทุกวันตั้งแต่เวลา 09.30-17.30 น. ยกเว้นวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตปัจจุบัน 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม 7 วัน

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

5

แบ่งปัน