คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปัวะโป้ย

เครื่องมือสื่อสารกับเทพเจ้า

ปัวะโป้ย หรือ เจี๋ยวเป้ย คนภูเก็ตจะเรียกสั้น ๆ ว่า โป้ย หมายถึง แท่งไม้ประกบคู่กัน มีให้เห็นทั่วไปตามแท่นบูชาในศาลเจ้าโดยมักจะวางคู่กับกล่องเซียมซี
.
โป้ยที่ใช้อยู่ทั่วไปมีทั้งหมด 3 ลักษณะ คือ แบบที่หนึ่ง เป็นแบบรูปดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยว แบบที่สอง เป็นรูปดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยวตัดปลายข้างเดียวทั้งสองอัน ทำให้สามารถวางแบบตั้งตรงได้ แบบที่สาม เป็นข้อไม้ไผ่ผ่าซีกตัดหัวท้ายตรงข้อ ทั้งสามแบบมีลักษณะเหมือนกัน คือ ด้านหนึ่งแบนราบ อีกด้านหนึ่งโค้งนูน คล้ายกับเมล็ดถั่วผ่าซีก วัสดุที่ใช้ทำโป้ยในอดีตจะทำด้วยรากโคนกอไผ่
.
โป้ยในคติของลัทธิเต๋าเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แทน หยิน-หยาง ด้านโค้งนูนเป็นภาวะหยาง ส่วนด้านเกลี้ยงเรียบเป็นภาวะหยินเมื่อเสี่ยงทายแล้วถ้าหากชิ้นหนึ่งคว่ำและชิ้นหนึ่งหงาย ย่อมบ่งบอกถึงความสมดุลของสภาวะหยิน-หยาง ถือเป็นการตอบรับหรืออนุญาตในเรื่องที่อธิษฐานเสี่ยงทาย
.
การโป้ยจะทำเมื่อต้องการสอบถามเสี่ยงทายเรื่องราวต่างๆ ต่อหน้าองค์เทพเจ้ารวมถึงถามเรื่องราวต่าง ๆ จากสิ่งที่มองไม่เห็น เช่นการถามฤกษ์จัดงานต่าง ๆ ถามผลของสิ่งที่มุ่งหวังหรือถามผลของเซียมซีที่เสี่ยงได้ ในภูเก็ตเมื่อเสี่ยงเซียมซีได้เลขต่าง ๆ แล้วมักจะมีการโป้ยถามองค์เทพเจ้าอีกครั้งหนึ่งว่าผลที่ได้ถูกต้องหรือไม่
.
ผลของโป้ยที่โยนลงพื้นมีทั้งหมด 3 ลักษณะ ลักษณะแรก ถ้าโป้ยคว่ำหนึ่งอัน หงายหนึ่งอัน ทายผลว่า เทพเจ้าเห็นด้วย ดี ใช้ได้ ถูกต้อง ลักษณะที่สอง ถ้าโป้ยคว่ำทั้งสองอัน ทายผลว่า เทพเจ้าไม่เห็นด้วย ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ประการที่สาม ถ้าโป้ยหงายทั้งสองอัน ทายผลว่า เทพเจ้าหัวเราะ เพราะ เทพเจ้ารู้ว่าคำถามนั้นผู้ถามทราบคำตอบอยู่แล้ว การปัวะโป้ยผู้ถามจะต้องปัวะโป้ย หรือ โยนให้ครบสามครั้ง จึงจะถือว่าเป็นคำตอบสุดท้าย
.
ปัวะโป้ยจึงเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับสื่อสารและเสี่ยงทายสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ จากองค์เทพเจ้า สุข ทุกข์ และการเลือกทางเดินชีวิตของคนจำนวนไม่น้อยขึ้นอยู่กับไม่คว่ำหงายเล็ก ๆ คู่นี้
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
1. http://www.somboon.info/default.asp…
2. https://www.tnews.co.th/contents/300288
 

27,625 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต