คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประโยชน์ของสับปะรด

"แป๊ะสุ่น" เล่า

ยังอยู่กับเรื่องราวของความยากลำบากในวิกฤติสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนอกจากเรื่องราวความขาดแคลนอาหารแล้ว เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มก็เป็นความยากลำบากอีกอย่างหนึ่งของชาวภูเก็ตในช่วงเวลานั้น
.
“แรกสงครามลำบาก เสื้อผ้าสมัยนั้นขาดก็ต้องปะ ไม่มีให้เปลี่ยน บางที่ปะกันพรุนไปทั้งตัว”

คือหนึ่งในภาพจำของนายจำรัส ภูมิภูถาวร หรือ "แป๊ะสุ่น" ผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้บ้านกู้กู ซึ่งเป็นคนต้นเรื่องใน“นิทรรศการภาพจำสงครามโลก ภูเก็ต” ได้เล่าถึงภาพจำชีวิตในวิกฤติสงครามโลกครั้งที่ 2
.
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มกลายเป็นสินค้าควบคุมในภาวะสงคราม รวมถึงเส้นดายที่ใชสำหรับ ปะ เย็บเสื้อผ้า การซื้อขายสินค้าเหล่านี้ต้องปันส่วนโดยรัฐเท่านั้น ตลอดทั้งในบริบทของภูเก็ต ซึ่งต้องใช้เรือในการขนส่งสิ่งของต่าง ๆ เรือเหล่านี้ได้ถูกรบกวนจากจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในขณะนั้น ทำให้ไม่สามารถขนส่งเครื่องอุปโภคบริโภคมาส่งได้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอยู่บ่อยครั้ง
.
ด้วยเสื้อผ้าที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นใช้เสื้อผ้าอย่างคุ้มค่าที่สุด ชาวภูเก็ตจึงต้องใช้การปะเย็บเสื้อผ้าเมื่อเวลาฉีกขาด เป็นการยืดเวลาการใช้ให้ได้มากที่สุด แต่วัสดุในการปะซ่อมเสื้อผ้าอย่างเส้นดายก็กลายเป็นสินค้าควบคุมและขาดแคลน พืชประจำถิ่นอย่าง “สัปปะรด” ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหานี้
.
“...เสื้อผ้าไม่มี ลำบาก ต้องนุ่งกระสอบแป้งหมี่ ถ้าขาดก็เย็บด้วยใยสัปปะรด ปะด้วยยางพารา...”

แปะสุ่นเล่าว่า คนภูเก็ตในช่วงสงคราม จะใช้ใยสับปะรดในการปะเย็บเสื้อผ้าแทนเส้นด้าย โดยวิธีการคือนำใบสับปะรดที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน นำมาขูดด้วยช้อนหรือกระเบื้องแตกจนผิวด้านนอกออกหมด นำมาควั่นเป็นเส้น ตากลม ไว้ราว 1 -2 วัน จะได้เส้นใยสับปะรดที่เหนียว สามารถนำไปปะ หรือ เย็บเสื้อผ้าสำหรับสวมใสได้ ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวภูเก็ตที่ใช้แก้ปัญหาในยามวิกฤติ
.
นอกจากนี้ ในช่วงเวลานั้น แป๊ะสุ่นยังกล่าวถึงวิธีการอีกแบบหนึ่งที่ชาวภูเก็ตที่ใช้ปะเสื้อผ้าที่ขาดในช่วงนั้นคือ การใช้น้ำยางพาราแทนกาวในการปะเสื้อผ้า แต่แป๊ะสุ่นบอกว่าการปะผ้าแบบนี้จะมีข้อเสียคือผ้าที่ปะจะดำจากรอยคราบของน้ำยาง ทำให้ไม่สวยงาม
.
เสื้อที่เต็มไปด้วยรอยปะเย็บจากใยสับปะรดถือเป็นภาพจำของแป๊ะสุ่นและชาวภูเก็ตในวิกฤติสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องราวการปะผ้าด้วยใยสับปรดและยางพาราแสดงให้เห็นถึงการใช้ภูมิปัญญาการแก่ปัญหาและประโยชน์ยามสงครามของพืชประจำถิ่นขึ้นชื่ออย่าง “สับปะรด”
.
เข้าชมวิดิโอสาธิตการทำเส้นใยสับปะรดได้ที่ลิงค์นี้เลย
https://youtu.be/Z8QFFPGolmA
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
บทสัมภาษณ์ นายจำรัส ภูมิภูถาวร (แป๊ะสุ่น) ศูนย์การเรียนรู้บ้านกู้กู "นิทรรศการภาจำสงครามโลก ภูเก็ต" มิวเซียมภูเก็ต

1,131 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต