คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ข่าวสารจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์

กรองข้อมูล

- เลือกหมวดหมู่ -
14 มิถุนายน 2567
NSM ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันชาติรัสเซีย 11 มิถุนายน 2567 /ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เข้าร่วมงานลี้ยงฉลองวันชาติรัสเซียพร้อมมอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีกับ นายเยฟกินี โทมิคิน(H.E. Mr. Evgeny Tomikhin) เอกอัครราชทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย เนื่องในโอกาสวันชาติรัสเซีย ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ
14 มิถุนายน 2567
NSM เปิดความสนุกวิทย์ฯ ใน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อว.” จ.อ่างทอง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 11 มิถุนายน 2567-นายอนันตกร ขยันงาน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นายบรรจบ เฉลยมรรค ผู้อำนวยการ โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม ให้การต้อนรับ นายวานนท์ นนทวงค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ในพิธีเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อว.” จ.อ่างทอง เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดสู่ความยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งงานฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน 2567 ณ โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม อ.เมือง จ.อ่างทอง
12 มิถุนายน 2567
เริ่มแล้ว “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย” ประจำปี 2567 พร้อมเปิดพื้นที่ “การผจญภัยในห้วงอวกาศ” จัดเต็มกิจกรรม 2 ภูมิภาค ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้วิทย์นอกห้องเรียนอย่างสร้างสรรค์   เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงาน “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประจำปี 2567” ภายใต้หัวข้อ “การผจญภัยในห้วงอวกาศ” พร้อมด้วย คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และ ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้ ให้กับเด็กปฐมวัยผ่านเรื่องราวของดวงดาวและอวกาศ ที่จะชวนทุกคนสร้างสรรค์จินตนาการ ไปด้วยความสนุกสนาน โดยมีนางฤทัย จงสฤษดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.สุพรรณี ชาญประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) นางสาวพรเพ็ญ ทองสิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผศ.ดร.สุวรรณ พลายพิชิต ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ และกิจการพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คุณคาโรลีน ลิงค์ ประธานบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และประธานร่วมบริษัท บี.กริม ฟาร์มา และนางสาวสมพร สิริพิทักษ์เดช หัวหน้างานศูนย์สื่อสาธารณะ เพื่อเด็กและครอบครัว ไทยพีบีเอส ร่วมแถลงข่าวฯ ที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ   นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้ที่กรุงเทพมหานครพร้อมสนับสนุน ซึ่งที่ผ่านมามีโรงเรียนจากหลายสังกัดเข้าร่วมโครงการนี้ รวมถึงโรงเรียนในสังกัดของกรุงเทพมหานครเอง ก็ได้เล็งเห็นความสำคัญและเข้าร่วมโครงการนี้มามากกว่า 10 ปี ทั้งยังมีการขยายผลที่ดีภายในโรงเรียนอีกด้วย ในฐานะตัวแทนกรุงเทพมหานคร รู้สึกยินดี และดีใจแทนเด็ก ๆ รวมทั้งคุณครู อาจารย์ ที่มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่ได้มาผนึกกำลังร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สนุกสนาน ให้กับเด็กเล็ก หรือเด็กปฐมวัย ที่เปรียบเสมือนเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ ถือเป็นฐานรากที่สำคัญที่ทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิดเป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นการสร้างโอกาส ในการเกิดการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดเพียงการเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียน เเต่ยังรวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ นอกห้องเรียนที่สนุกสนานจะช่วยให้เด็กที่พัฒนาการที่ดีนำไปสู่การเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ”   คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กล่าวว่า “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ดำเนินการจัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เราได้ตระหนักถึงปัญหาของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กไทยที่ผ่านมา ไม่ได้รับการพัฒนาทักษะอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้ปัจจุบันเกิดการขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ จึงได้ศึกษาโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศเยอรมนี จากมูลนิธิ “Haus der Kleinen Forscher” ซึ่งเป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มการนำโครงการดังกล่าว มานำร่องเป็นต้นแบบในประเทศไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปัจจุบันดำเนินโครงการเป็นปีที่ 13 โดยได้ขยายผลกว่า 39,835 โรงเรียนทั่วประเทศ ทั้งในระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ผ่านผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น 456 แห่ง โดยมีกิจกรรมอบรมครู พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และทำกิจกรรมสู่กลุ่มครอบครัว ถือเป็นกิจกรรมการเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวเด็ก ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ที่สามารถเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้อย่างเต็มที่ เพื่อที่จะเติบโตเป็นเยาวชนที่ดีในอนาคต และเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนต่อไป”   ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กล่าวว่า “อพวช. ถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานหลักที่มีบทบาทขับเคลื่อน 'โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย' มาอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 10 ปี โดยเฉพาะรายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งออกอากาศในช่อง Thai PBS และช่วยในการประสานงาน ในการจัดทำคู่มืองาน 'เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย' เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับเด็กปฐมวัย โดย 'เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2567' ในปีนี้จัดขึ้นทั้งหมด 2 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลางและภาคใต้ ในหัวข้อ 'การผจญภัยในห้วงอวกาศ' โดยภาคกลางจะจัดขึ้นที่ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา และภาคใต้จัดที่จังหวัดสงขลา ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ซึ่งปีนี้เราได้พัฒนาคู่มือ 'การผจญภัยในห้วงอวกาศ' ขึ้น เพื่อสร้างทักษะการสังเกต การจำแนกกลุ่มดาวบนท้องฟ้า การประดิษฐ์แผนที่ดาวแบบง่าย ตลอดจนปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 4 ฐานกิจกรรม ประกอบด้วย ฐานที่ 1 ค้นหากลุ่มดาวบนท้องฟ้า: ต่อยอดจินตนาการด้วยการประดิษฐ์แผนที่ดาวด้วยตัวเอง ฐานที่ 2 สร้างระบบสุริยะด้วยมือเรา: ชวนเปรียบเทียบดาวเคราะห์กับโลกในระบบสุริยะของเรา ฐานที่ 3 เมื่อฉันไปเยือนดาวอังคาร: เรียนรู้เกี่ยวกับดาวอังคารและจินตนาการถึงสิ่งที่มีอยู่บนดาวดวงนั้น ฐานที่ 4 ส่งสารไปต่างดาว: ชวนเด็ก ๆ บอกเล่าความพิเศษส่งออกไปในอวกาศ โดยคู่มือนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนครูและนักวิทยาศาสตร์น้อยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ค้นคว้าคำตอบ เกิดความสนุกสนานและสร้างจินตนาการ และทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ นำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต”   คุณคาโรลีน ลิงค์ ประธานบริษัท  บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และประธานร่วมบริษัท บี.กริม ฟาร์มา กล่าวว่า “การศึกษาคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นกำลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพัฒนาของประเทศ บี.กริม จึงให้ความสำคัญและสนับสนุนการศึกษาในทุก ๆ มิติ มาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในโครงการสำคัญคือ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ซึ่ง บี.กริม ได้ให้การสนับสนุนมา ตั้งแต่ปี 2553 เนื่องด้วยวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ซึ่งสอดคล้องตามหลักปรัชญา 'การดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี' ของ บี.กริม เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ ให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการวางรากฐานทักษะการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering, and Mathematics) หรือ STEM ให้แก่นักเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษากว่า 400,000 คน  ภายในปี 2573 ผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย บี.กริม เล็งเห็นว่าทักษะด้าน STEM มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นพนักงานของ บี.กริมเองยังได้มีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ในฐานะ 'นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง' ด้วยการเข้าร่วมฝึกอบรมและทำกิจกรรมร่วมกับคุณครูในโรงเรียนเครือข่าย บี.กริม ซึ่งเป็นโรงเรียนในบริเวณใกล้เคียง สถานประกอบการของ บี.กริม กว่า 138 แห่งอีกด้วย”
12 มิถุนายน 2567
แสดงความยินดี กับ นักธรรมชาติวิทยา NSM ที่ได้รับรางวัล ในงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12   8 มิถุนายน 2567 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เข้าร่วมงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธาน และซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12 (The 12th Conference on Taxonomy and Systematics in Thailand) ทั้งนี้ นักธรรมชาติวิทยาของ NSM ได้รับรางวัล Best oral presentation award ได้แก่ดร.พุทธมน ผ่องกาย นักวิชาการชำนาญการ หัวข้อ Taxonomic status of Twin-sorus fern (Diplazium Sw.) In Thailand และดร.ณัฐพล นพพรเจริญกุล นักวิชาการกองวิชาการพฤกษศาสตร์ หัวข้อ Unveiling the hidden diversity of Kaempferia subgenus Protanthium(Zingiberaceae) in Thailand using multidisciplinary ซึ่งงานประชุมฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6 - 8 มิถุนายน 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท กรุงเทพฯ
12 มิถุนายน 2567
NSM ผนึก สมาคมวิทย์ฯ และ สพฐ. เปิดค่าย Thai Science Camp ครั้งที่ 16 ชวนเยาวชนแลกเปลี่ยนมุมมองกับนักวิทย์ระดับนานาชาติ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนต่อยอดการเรียนรู้ในอนาคต   องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดจัดค่าย Thai Science Camp ครั้งที่ 16 เพื่อให้เยาวชนพัฒนาทักษะ และกระบวนการคิดด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศไทย พร้อมสร้างแรงบันดาลใจเตรียมต่อยอดการเรียนรู้ในอนาคต โดยกิจกรรมค่ายฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8 - 11 มิถุนายน 2567 ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี   ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.NSM กล่าวว่า “NSM ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ และ สพฐ. ผนึกกำลังร่วมกันจัดกิจกรรมค่าย “Thai Science Camp ครั้งที่ 16” ขึ้น สำหรับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์จากทั่วประเทศ มาร่วมทำกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนได้สนุกกับการค้นพบและเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรมฯ ดังกล่าว ถือเป็นการสร้างเครือข่ายวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งของสังคม โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เห็นแนวทางการทำงาน และมุมมองอันจะเป็นแบบอย่างที่ควรค่าแก่การเรียนรู้จากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศมากมาย เพื่อให้เยาวชนเกิดทักษะ และกระบวนการคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ พร้อมกันนี้ ปีนี้เรายังได้รับเกียรติจากนักวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติมาร่วมบรรยาย อาทิ Prof.Dr. Abhi Veerakumarasivam Co-Chair & Professor, ASEAN Young Scientists Network & Sunway University, Malaysia นักวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ ผู้มีประสบการณ์การทำงานและประสบความสำเร็จ ที่มาถ่ายทอดมุมมองการทำงานและการเป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม “เสวนากับนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยระดับชาติ” นำโดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ศ.ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ และดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญ ทั้ง 3 ท่าน ที่จะชวนสร้างแรงบันดาลใจของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ และแนวทางการทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต”   รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “กิจกรรม Thai Science Camp เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงอยากเห็นเยาวชนไทยมีเวทีในการเข้าร่วมกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่างให้เข้าใจการทำงาน ด้านการวิจัยและพัฒนาให้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เรียนรู้ผ่านแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์จากมุมมองของผู้ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้และปลูกฝังแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนไทย ทางสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ จึงเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ช่วยผลักดันกิจกรรม Thai Science Camp ครั้งที่ 16 ในครั้งนี้ ซึ่งเยาวชนจะได้ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอความคิด และอภิปราย อันเป็นทักษะสำคัญต่อการทำงานร่วมกันในสังคม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และการต่อยอดความคิด จึงเป็นโอกาสที่เยาวชนจะได้เตรียมความพร้อมของตนเองเพื่อก้าวสู่รูปแบบกิจกรรมในเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป”   ด้าน รศ.ดร.บุญโชติ เผ่าสวัสดิ์ยรรยง ประธานโครงการกิจกรรม Thai Science Camp กล่าวว่า “Thai Science Camp ถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับ ความสนใจจากเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายฯ นี้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และยังได้ส่งเสริมให้เยาวชนที่ได้ผ่านกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์นี้ ได้สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะกิจกรรมนี้เราเน้นให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ สนับสนุนส่งเสริมให้เยาวชนกล้าแสดงออก ทั้งในการซักถาม และการเสนอความคิดเห็น รวมทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้าใจแนวคิดของการบูรณาการความรู้ และการเปลี่ยนแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ ๆ ได้ ซึ่งหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์กับเยาวชน นำไปสู่การพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์อย่างยั่งยืนต่อไป”                                                                                                                                                                                                                                                   
07 มิถุนายน 2567
อพวช. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2567   วันที่ 5 มิ.ย. เวลา 09.00 น. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2567 นำโดย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการ อพวช. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ร่วมถวายราชสักการะ พร้อมลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณโถงสำนักงาน ชั้น 1 อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
07 มิถุนายน 2567
“ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จของคณะทีมเยาวชนไทยที่คว้ารางวัลโครงงานวิทย์ฯ ระดับโลก ISEF 2024 พร้อมขอให้นำความสำเร็จไปเป็นแรงผลักดันเพื่อต่อยอดในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ   เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) ให้คณะทีมเยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2024 และสามารถคว้ารางวัล สร้างความภาคภูมิใจให้ประเทศไทยได้สำเร็จเข้าพบเพื่อร่วมแสดงความยินดีและมอบโอวาทให้แก่เยาวชน โดยมี น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. น.ส.สุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ น.ส.อารยา ภู่พานิช รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมด้วย     น.ส.ศุภมาส ได้แสดงความยินดีกับความสำเร็จของตัวแทนทีมเยาวชนไทย ได้แก่ ร.ร.กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ ร.ร.ดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย ร.ร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ร.ร. วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จ.ปทุมธานี ร.ร.กำเนิดวิทย์ จ.ระยอง ร.ร.ห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จ.เชียงราย  และ ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม จ.เชียงใหม่ พร้อมชื่นชมเยาวชนที่นำความรู้ความสามารถ ไปแสดงบนเวทีระดับโลกและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศไทย ซึ่งผลงานของทีมเยาวชนไทยในครั้งนี้ ถือว่าเป็นความสำเร็จของเยาวชน และทุกหน่วยงานที่สนับสนุนเหล่าเยาวชนไปสู่เวทีแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้ เพราะเยาวชนไทยสามารถพัฒนาผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ออกมาได้โดดเด่นจนสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยสำเร็จ ด้วยการคว้า 13 รางวัลใหญ่ ประกอบด้วยรางวัล Grand Awards จำนวน 9 รางวัลใหญ่ และรางวัล Special Awards จำนวน 4 รางวัล ในหลากหลายสาขา อาทิ สาขาสัตวศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ สาขาพฤกษศาสตร์  สาขาหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลปัญญาประดิษฐ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ปริวรรต และสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยตนขอให้เยาวชนทุกคนนำความสำเร็จครั้งนี้ไว้เป็นแรงผลักดันเพื่อต่อยอดในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ในวงกว้าง ให้กับประเทศไทยต่อไปในอนาคต   ด้านตัวแทนทีมเยาวชน นายกรกฤต ต้นพงษ์พันธุ์ จาก ร.ร.กำเนิดวิทย์ ที่ได้รับรางวัลได้รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 2 ในสาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ เจ้าของโครงงานการศึกษาผลของมุมยอดของรูปทรงสามเหลี่ยม ที่มีผลต่อการไหลแบบ Acoustic streaming กล่าวว่า ดีใจและภูมิใจเป็นอย่างมาก ต้องขอขอบคุณ กระทรวง อว. สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ และ อพวช.ที่ช่วยผลักดันและเตรียมความพร้อมในการแข่งขันให้พวกเราจนสามารถคว้ารางวัลมาได้สำเร็จ ซึ่งโครงงานนี้พวกเราศึกษาผลของมุมยอดรูปทรงของสามเหลี่ยมที่มีมุมยอดขนาดแตกต่างกันว่าจะมีผลต่อการไหลของน้ำอย่างไร โดยเราใช้การจำลอง ด้วยคอมพิวเตอร์และการทดลองในห้องปฏิบัติการ และพบว่าจากการทดลองทั้ง 2 แบบเมื่อสามเหลี่ยมมีมุมยอดน้อยจะสั่นและทำให้เกิดการไหลของน้ำ ในทิศทางที่พุ่งออกจากสามเหลี่ยม ส่วนสามเหลี่ยมที่มุมใหญ่มาก ๆ จะทำให้น้ำไหลกลับมาที่สามเหลี่ยมแทน ซึ่งสิ่งนี้สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการอธิบายปรากฏการณ์ของฟิสิกส์ต่าง ๆ อย่างที่ไม่เคยมีนักวิจัยทำมาก่อน โดยโครงงานฯ นี้ ในอนาคตจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการ ควบคุม Microrobots ในเลือดและร่างกายของคนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   ด้าน น.ส.สิริปภา ปันทุราภรณ์ และน.ส.สิริอาภา ปันทุราภรณ์ ทีมเยาวชนจาก ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ที่ได้รับรางวัล Special Award อันดับที่ 2 จากหน่วยงาน : U.S. Agency for International Development กับโครงงานการพัฒนาแผ่นอนามัยออร์แกนิกจากเส้นใยพืชเคลือบสารสกัดมะขามป้อม กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นตัวแทนประเทศซึ่งพวกเราตั้งใจทำอย่างเต็มที่ ที่สำคัญเราได้นำเสนอเรื่องปัญหาสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้หญิงในด้านการเข้าถึง ผ้าอนามัยของผู้หญิงที่ทุกคนพึงมีและการใช้ผ้าอนามัยที่ต้องมีคุณภาพ ถือว่าเป็นก้าวสำคัญแห่งความภาคภูมิใจที่เราได้พูดเรื่องนี้บนเวทีระดับโลก โดยการพัฒนาแผ่นอนามัยออร์แกนิกที่ทำจากเส้นใยพืชเคลือบสารสกัดหยาบจากมะขามป้อมครั้งนี้ จะส่งสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนตามเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ สุดท้ายอยากขอบคุณคุณครูที่ปรึกษาที่คอยเป็นแรงสนับสนุนที่ดีในทุกด้าน และขอบคุณทางโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 26 (YSC 2024) โดย สวทช. และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมสนับสนุนพวกเราไปคว้าชัยในครั้งนี้
05 มิถุนายน 2567
NSM เปิด “คาราวานวิทยาศาสตร์ อว.” จ.สุพรรณบุรี สืบสาน รักษา ต่อยอดสู่ความยั่งยืน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   4 มิถุนายน 2567 / นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.)หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นายวชิระ ขวัญเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ให้การต้อนรับ นายภูวฤณ ภูริธรจินดา สมาชิกสภาจังหวัดสุพรรณบุรี นายกสมาคมผู้ปกครอง ครู ศิษย์เก่าและผู้สนับสนุนทางการศึกษา โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม ในพิธีเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อว.” เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดสู่ความยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งงานฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน 2567 ณ โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
30 พฤษภาคม 2567
NSM ขนทัพ “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช.” ไปสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน ในโครงการวิทยาศาสตร์ต้านภัยยาเสพติด ประจำปี 2567 ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านบึง และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จ.ชลบุรี   28 พ.ค. 2567 / นางณัฐนันท์ พิพัฒน์นวกิจ เลขานุการคณะทำงานโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ NSM เป็นประธานเปิด โครงการวิทยาศาสตร์ต้านภัยยาเสพติด ประจำปี 2567 โดยมี นายคมกฤษณ์ แสงจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านบึง พร้อมด้วย นายยุทธศักดิ์ รุ่งเรืองนรา ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จ.ชลบุรี ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านบึง จ.ชลบุรี ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว NSM ได้นำกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. ไปจัดแสดงให้เยาวชนได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงผ่านนิทรรศการและกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่สนุกสนาน และมอบชุดสื่อการเรียนรู้ NSM Plearn Science จำนวน 50 กล่อง เพื่อเสริมสร้างทักษะโดยใช้กระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ แบบบูรณาการองค์ความรู้ STEM Education ให้กับเยาวชน โดยสามารถนำความรู้ไปต่อยอดเป็น “พลังสร้างสรรค์” พร้อมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เติบโตไปเป็นกำลังสำคัญที่มีคุณภาพของสังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต