คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ข่าวสารทั้งหมด

กรองข้อมูล

- เลือกหมวดหมู่ -
17 มีนาคม 2566
16 มีนาคม 2566: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมกับ เทศบาลนครภูเก็ต มิวเซียมภูเก็ต, พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์ จัดงานเสวนา Peranakan Phuket – Penang Sharing เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับเครือข่ายด้านวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้จากเมืองปีนัง รวมถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือ เชื่อมโยงองค์ความรู้ เกี่ยวกับวัฒนธรรมเปอรานากัน จากผู้เชี่ยวชาญทั้งสองเมือง โดยมี คุณสุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) และ คุณสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ร่วมเป็นแกนนำชวนภาคีเครือข่ายเปิดมุมมองแลกเปลี่ยนองค์ความร่วมรู้ร่วมกัน ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์มนัส ชัยสวัสดิ์ ชั้น 1 อาคาร 3  คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต   รายชื่อวิทยากรจากภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรมมีดังนี้ (1) ดร. แอง มิง ชี ผู้จัดการทั่วไป เมืองมรดกโลกจอร์จทาวน์ (2) คุณลิลเลี่ยน ต็อง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เปรานากันของปีนัง และเป็นประธานกลุ่มเปรานากัน บาบ๋า หยาหยา ปินัง (ชาวจีนเชื้อสายมลายู) และ (3) คุณฤดี ภูมิภูถาวร นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภูเก็ต   
16 มีนาคม 2566
จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.  เปิดโซนใหม่ ให้ได้เพลิดเพลินไปกับตัวต่อยักษ์สีฟ้า “BLUE BOX IMAGINARIUM” พื้นที่เปิดโลกแห่งจินตนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ช่วยเสริมสร้างทักษะในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคิด จินตนาการ พัฒนาการประสานงานทางกายภาพ ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น รวมไปถึงเสริมสร้างทักษะการเข้าสังคมกับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน อีกทั้งช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี (โดยอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง) เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00-19.00 น. (ไม่จำกัดเวลา)   อัตราค่าเช้าชมนิทรรศการ      • ผู้ใหญ่ 20 บาท      • นักเรียน / นักศึกษาปริญญาตรี อายุไม่เกิน 24 ปี (แสดงบัตร) เข้าชมฟรี      • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (แสดงบัตร) เข้าชมฟรี      • สมาชิก อพวช. (แสดงบัตร) เข้าชมฟรี NSM Science Square @ The Street Ratchada ชั้น 5 ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพ โทร. 0 2577 9970
16 มีนาคม 2566
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ ม.วลัยลักษณ์ ได้ดำเนินการเปิด Facebook Page: https://www.facebook.com/SIRIN.Museum เพื่ออัพเดทข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ ม.วลัยลักษณ์ และสาระสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2566 ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปติดตามข้อมูลในเพจได้นะครับ
09 มีนาคม 2566
เนื่องด้วยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จะดำเนินงานโครงการปรับปรุงส่วนจัดแสดง จึงขอปิดให้บริการเข้าชม อาคารจัดแสดงหลักของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ** ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป จนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ **   นักท่องเที่ยวยังสามารถเข้าชมอาคารศิลาจำหลัก (คลังเปิด) สถานที่จัดเก็บและจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามจากหลายแห่ง เช่น หน้าบันและทับหลังจากปราสาทเมืองต่ำ หน้าบันจากปราสาทพะโค ทับหลังจากปราสาทพิมาย โดยสามารถเข้าชมได้ฟรี ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
22 กุมภาพันธ์ 2566
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล เปิด Walk-IN แล้ว จะเดินเล่น ปั่นจักรยาน ชมธรรมชาติ วิ่งออกกำลังกาย หรือถ่ายรูปกับมุมสวยๆในสวนสิรีฯ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 18.00 น. ของทุกวัน พิเศษ สำหรับ บุคลากร, นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และน้องๆอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าชมสวนสิรีฯ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย   หมายเหตุ: ปิดปรับปรุงพื้นที่บริเวณห้องนิทรรศการ หอดูนกและบริการรถราง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FB : Sireepark (มีแอดมินพร้อมตอบคำถาม) หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก Q&A : https://bit.ly/3Rye4yU   เตรียมตัวให้พร้อม แล้วออกไปเปิดประสบการณ์ห้องเรียนธรรมชาติที่ "อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล" พื้นที่แห่งการเรียนรู้สมุนไพร ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และพฤกษศาสตร์ สำหรับทุกคน เปิดให้บริการทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) ตั้งแต่เวลา 6.00-18.00 น. จองเข้าชมเป็นหมู่คณะล่วงหน้า คลิกเลย https://sr.mahidol.ac.th/calendar-sr  
22 กุมภาพันธ์ 2566
พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดตัวนิทรรศการ PRIMATES and ME เรียนรู้วานร เข้าใจมนุษย์ และเสวนาเปิดตัวหนังสือ “วานรศึกษา Primate Studies” ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เนื่องในโอกาสวันสถาปนา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 58 ปี   เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 66 - พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดตัวนิทรรศการ PRIMATES and ME เรียนรู้วานร เข้าใจมนุษย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ ผอ.พิพิธภัณฑ์ และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ โดยนิทรรศการจะนำทุกคนไปสู่โลกแห่งวานรศึกษาตลอดช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา และ ในงานนี้ยังมีเสวนาเปิดตัวหนังสือ “วานรศึกษา Primate Studies” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร , รองศาสตราจารย์ ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ บอกเล่าเส้นทางวานรศึกษา ที่เริ่มต้นด้วยวิธีคิดด้านวิทยาศาสตร์ จนถึงแนวคิดแบบมานุษยวิทยาที่มองว่า การศึกษาไพรเมต คือ การศึกษาเผ่าพันธุ์อื่นที่ขยายไปจากมนุษย์ ซึ่งประเด็นวานรศึกษา ถือเป็นความท้าทายในฐานะ “เครื่องมือ” สำหรับการทำความเข้าใจมนุษย์   หนังสือ วานรศึกษา (Primate Studies) ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่เส้นทางความรู้อันหลากหลายของการศึกษาวานร ทั้งในมุมมองทางทฤษฎีและวิธีวิทยาจากนักวิชาการทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมถึงข้อวิพากษ์จากศาสตร์อื่นๆ ด้วย   ผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการได้ฟรี วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.30 - 15.30 น. จนถึงเดือนธันวาคม 2566 (ปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: โทร. 02 - 696 6610-12 หรือ FB: https://www.facebook.com/SocAnthTUMuseum  
20 กุมภาพันธ์ 2566
ขอเชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พิเศษ ผู้บริจาคจะได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี เมื่อบริจาคตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป จะได้รับหนังสือ "คิดถึง ถวัลย์ ดัชนี" (จำนวนจำกัดเพียง 300 เล่ม เท่านั้น) ช่องทางการรับบริจาค "ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 101-7688-282" ชื่อบัญชี มูลนิธิหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและส่งหลักฐานการบริจาคได้ที่ E-mail: info@queengallery.org หรือ โทรศัพท์ 02-281-5360-1
08 กุมภาพันธ์ 2566
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดให้เข้าชมพิเศษ ในวันอาทิตย์ที่ 5, 12, 19, 26 กุมภาพันธ์ 2566 สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 09.00 - 18.00 น. พบกับนิทรรศการ “Ju Ju” นิทรรศการเดี่ยว โดย ทวีศักดิ์ ศรีทองดี(โลเล) ภัณฑารักษ์ กฤษฎา ดุษฎีวนิช จัดแสดงระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ – 25 มีนาคม 2566
10 กุมภาพันธ์ 2566
เข้าชมฟรี งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งที่ ๓๕ ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์    เข้าชมฟรี อาคารพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมเวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดให้บริการวันจันทร์-วันอังคาร) โบราณสถานภายนอกเข้าชมได้ทุกวัน