คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ครูนะหุษ รักแต่งาม

ครูนะหุษผู้รักชาติ

มิวเซียมภูเก็ตได้ดูข่าวการออกมาช่วยเหลือกันและกันของชาวภูเก็ตในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเวลานี้ ถือเป็นเรื่องราวที่น่าประทับใจและทำให้นึกถึงเรื่องราวของครูนะหุษ รักแต่งาม ครูผู้แสดงเจตจำนงในการช่วยเหลือชาติในภาวะคับขันโดยไม่ต้องมีใครร้องขอ โพสนี้มิวเซียมภูเก็ตจึงของนำเรื่องราวของครูนะหุษมานำเสนออีกครั้ง เพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนที่ลุกขึ้นมาช่วยเหลือซึ่งกันและกันในภาวะคับขัน
.
ความรักชาติของ ครูนะหุษ รักแต่งาม แสดงให้เห็นผ่านจดหมายฉบับลายมือเขียน ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นเอกสารจดหมายเหตุเก็บรักษาโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จดหมายฉบับนี้เขียนขึ้นในเช้าวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ทันทีที่วิทยุแจ้งข่าวการปะทะกันระหว่างกองกำลังฝ่ายไทยกับกองกำลังญี่ปุ่น เนื้อความในจดหมายไดแสดงเจตจำนงในการช่วยราชการในภาวะสงครามอย่างเต็มที่ โดยครูนะหุษได้กล่าวถึงสถานการณ์ในช่วงนั้นว่า

“เวลานี้ นับว่าชาติไทยต้องเข้าสู่สงครามแน่แล้ว ในยามคับขันเช่นนี้ ข้าพเจ้าขอโอกาสสนองและช่วยเหลือชาติ..”

และดูเหมือนครูนะหุษ จะเป็นคนที่มีความเข้าใจในภาวะสงครามเป็นอย่างดี สิ่งที่ครูนะหุษเสนอความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือยานพาหนะในการลำเลียงขนส่ง โดยครูนะหุษได้มอบ “รถยนต์บรรทุก ๒ คันและเรือใบลำเลียง ๓ ลำ” ไว้สำหรับช่วยราชการ
.
จดหมายของครูนะหุษ คงเป็นจดหมายฉบับแรกที่ส่งถึงจังหวัด ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ในฐานะประชาชนที่แสดงเจตจำนงในการช่วยเหลือชาติ ก่อนที่คำสั่งในการระดมยานพาหนะช่วยราชการจากทางราชการจะมาถึงเสียอีก
.
ตลอดจดหมาย ถ้อยความที่กินใจที่สุดคือข้อความในย่อหน้าสุดท้าย เชื่อว่าใครได้อ่านก็จะรับรู้ถึงความรักชาติของครูนะหุษ ที่เขียนอุทิศตัวเพื่อชาติไว้ว่า

“นอกจากยานพาหนะดังกล่าว ข้าพเจ้าขอมอบตัวและครอบครัว เพื่อราชการเรียกใช้ได้ทุกเวลา นับแต่วันนี้เป็นต้นไป”
.
เรื่องราวในจดหมายของครูนะหุษถือเป็นบทบันทึกประวัติศาสตร์อารมณ์ ความรู้สึกของผู้คน ที่กำลังเผชิญสงครามโลกครั้งที่ 2 และความรัก ความเสียสละเพื่อชาติของครูนะหุษ รักแต่งาม มากกว่าจดหมายของครูคนหนึ่งที่รักชาติ นี้คือบทเรียนที่ดี สำหรับสอนใจคนรุ่นหลังอย่างพวกเรา
.
สำเนาจดหมายของครูนะหุษ รักแต่งาม
https://upload.i4th.in.th/th/download.php?id=5E2018D81
อ่านประวัติครูนะหุษ รักแต่งาม เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/38c0dHM

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ แกะรอยสงครามโลกครั้งที่ 2 ภูเก็ต โดย อ.ฤดี ภูมิภูถาวร

743 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต