คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

จ้อซือก้ง

ศาลเจ้าหงวนก้ง พระผู้ปัดเป่าโรคภัยของชาวภูเก็ต

โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่อยู่คู่มนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ตลอดระยะเวลาหลายพันปีมนุษย์คิดค้นวิธีการมากมายเพื่อจัดการกับปัญหานี้ หนึ่งในวิธีเหล่านั้นคือการพึ่งพาอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์
.
#พระหมอ

“ศาลเจ้าฮกหงวนก้ง” หรือ “จอซู้ก๋งอ่ำ” ศาลเจ้าเล็ก ๆ ตั้งอยู่บริเวณ วงเวียนสุรินทร์ (หอนาฬิกา) หลายคนที่เคยไปทานหมี่ต้นโพธิ์ อาจเคยสังเกตเห็นอยู่บ้าง ศาลเจ้าแห่งนี้มี “พระจ้อซือก้ง” เป็นประธาน ซึ่งเป็นพระที่ชาวไทยเชื้อสายจีนภูเก็ต ขนานนามท่านว่า “พระหมอ” เป็นที่พึ่งทางใจในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ
.
#ศาลเจ้าเก่าแก่ที่สุด

จากเอกสารและคำบอกเล่า ถือได้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้มีความเก่าแก่เป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองภูเก็ต สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 150 ปี และสืบเนื่องถึงการเข้ามาทำเหมืองแร่ของชาวจีนฮกเกี้ยนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์

ตำแหน่งศาลเจ้าในปัจจุบัน เป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นใหม่ในช่วง รัชกาลที่ 6 พ.ศ.2468 โดย ขุนชนานิเทศ (ตันเซียวเซอะ)และหลวงอร่ามสาครเขตร์ โดยก่อนหน้านี้ ศาลเจ้าแห่งนี้ได้ย้ายที่ตั้งมาแล้วถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกสุดตามบันทึกของขุนชนานิเทศ กล่าวว่าเดิมเป็น “ตึกศาลเจ้าจีนโรงใหญ่ เรียกว่า จอซู้ก๋งอ่ำ ตั้งอยู่ในหมูบ้านบางเหนียวเหนือ” ซึ่งต่อมาได้มีการสัมปทานที่ดินดังกล่าวในการทำเหมืองแร่ จึงได้มา “ปลูกโรงจากไว้รูปจอซู้ก๋งอ่ำชั่วคราวที่ใกล้สพานพระอร่าม” (ฝั่งโรงแรมชิโนอิมพิเรียล) ก่อนเกิดไฟไหม้และย้ายไปยังศาลเจ้าปุดจ้อและมาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน
.
#บุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

“พระจ้อซือก้ง” เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์โดยมีชีวิตรัชสมัยฮ่องเต้ซ่งเหรินจง ( จ้าวเจิน ) แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ หรือ พ.ศ. ๑๕๖๖ – ๑๖๐๖ เทียบเคียงได้กับสมัยศรีวิชัยในประวัติศาสตร์ไทย (ราวพุทธศตวรรษ ที่ 13 – 17)

พระจ้อซือก้ง เดิมชื่อ ผูชวี (ตัน ผ่อ เจ่ว) เป็นคนตระกูล แซ่ตัน (แซ่เฉิน) ถือกำเนิดที่ หมู่บ้านเสี่ยวก้อ ตำบลหยงชุน จังหวัดเฉวียนโจว มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน ด้วยเป็นคนที่มีความสนใจในธรรม ท่านได้บวชเป็นนักบวชในพุทธศาสนา หรือ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าท่านเป็นนักบวชในลัทธิเต๋า จ้อซือก้ง ถือเป็นพระนักพัฒนา นอกจากการเพยแพร่ธรรมแล้ว ท่านยังมีบทบาทในการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนน สะพาน ในหมู่บ้าน รวมถึงช่วยเหลือชาวบ้านในด้านการแพทย์ มีตำนานกล่าวว่าที่ร่างกายที่เป็นสีดำเกิดจากการทดลองยาเพื่อรักษาชาวบ้าน นอกจากนี้พระจ้อซือก้งยังเป็นที่นับถือด้านการขอฝน ท่านจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เฉ่งจุ้ยจ้อซือ” หรือ “ปรมาจารย์น้ำใส” นัยยะหมายถึงเป็นผู้สำเร็จธรรมและมีคุณวิเศษเกี่ยวกับน้ำ
.
#ที่พึ่งด้านสุขภาพ

สำหรับชาวภูเก็ต เมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพ ศาลเจ้าฮกหงวนก้ง มักจะเป็นที่แรกที่นึกถึง ซึ่งนอกจากจะบนบาน ขอพร เติมน้ำมันตะเกียงเพื่อต่อชีวิต หรือ ปั่วโป๊ยถามเรื่องราวความป่วยไข้แล้ว ศาลเจ้าแห่งนี้ยังเป็น 1 ในศาลเจ้า 2 แห่ง ที่มีเซียมซียา สำหรับขอยารักษาโรคต่าง ๆ เป็นที่พึ่งของชาวผู้เก็ตมาแต่โบราณ

"ศาลเจ้าฮกหงวนก้ง" หรือ "จอซู้ก๋งอ่ำ" ถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยง สัมพันธ์กับเรื่องโรคภัยไข้เจ็บของชาวภูเก็ตมาอย่างยาวนาน ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ นอกจากจะปฏิบัติตามหลักการป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัดแล้ว การตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเสริมสร้างกำลังใจอีกทาง ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แล้วเราจะผ่านช่วงเวลาร้าย ๆ ไปด้วยกัน ขอจ้อซือก้ง คุ้มครอง
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. พระเฉ่งจุ้ยโจวซือ
http://www.somboon.info/default.asp?content=contentdetail&id=32791
2. เซียมซีเสี่ยงยา
https://www.facebook.com/museumphuket/photos
3. ประสบการณ์เกี่ยวกับศาลเจ้าฮกหงวนก้ง ข้อเขียนของ ปัญญา ไกรทัศน์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10213782473140008&set=pcb.10213782474060031&type=3&__tn__=HH-
4.เอกสารเรื่องศาลเจ้าจ้อซู้ก๋งเสียหาย โดย หลวงชนาทรนิเทศ

5,184 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต