คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ชักพระวัดเกาะสิเหร่

พุทธประเพณีถิ่นใต้ ในโลกหลากหลายชาติพันธ์ุ

“พอได้ฤกษ์มงคล มือนับร้อยคู่เกาะกุมสายเชือกอย่างแน่นเหนียว หนึ่งคน หนึ่งแรง ร้อยคน ร้อยแรง ฉุดเรือพนมพระเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ เสียงไชโยโห่ร้องกึกก้องหยอกรับกับจังหวะกลอง ฟ้าครึ้มเล็กน้อยกับจุดหมายในอีก 10 กิโลเมตรข้างหน้า แต่ไม่ว่าฝนหรือแดดจะเป็นเจ้าของวันนี้ ศรัทธาคือผู้ชนะ ”

ประเพณีชักพระ
ประเพณีชักพระ ถือเป็นประเพณีใหญ่ของภาคใต้ มีหลักฐานเก่าแก่ย้อนไปถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ในบันทึกของ “หลวงจีนอี้จิง” ประเพณีชักพระจะทำหลังวันออกพรรษา โดยการนำพระพุทธรูปประดิษฐานบนพาหนะชักลากไปยังสถานที่ต่าง ๆ เปรียบเสมือนการรับเสด็จพระพุทธองค์กลับจากการโปรดพระมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อีกทั้งประเพณีนี้ยังมีนัยยะถึงความอุดมสมบูรณ์ของฝนและพืชผลทางการเกษตรอีกด้วย

ชักพระภูเก็ต
ในภาคใต้ประเพณีลากพระยังคงความเข้มข้นในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกและลดความเข้มข้นลงในชายฝั่งทะเลตะวันตก โดยเฉพาะในเกาะภูเก็ต ด้วยความลื่นไหลหลากหลายของผู้คนและวัฒนธรรม ประเพณีชักพระบนเกาะแห่งนี้จึงลดทอนลงไป ยังคงเหลือเพียงจำนวน 4 วัดเท่านั้นที่ยังคงปฏิบัติประเพณีนี้อยู่ในปัจจุบัน

ความพิเศษของประเพณีชักพระวัดบ้านเกาะสิเหร่
วัดบ้านเกาะสิเหร่แห่งนี้ ถือเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่วัดบนเกาะภูเก็ต ที่ยังคงปฏิบัติประเพณีชักพระในวันออกพรรษาเป็นประจำทุกปี ซึ่งความพิเศษของประเพณีชักพระวัดบ้านเกาะสิเหร่ คือความหลากหลายของกลุ่มคนที่เข้ามาร่วมประเพณี ที่มีทั้งคนในท้องถิ่นและพลังจากแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายมอญ ที่กลายเป็นพลังหลักในประเพณีนี้

ชาวพุทธ
เมื่อถึงวันออกพรรษา พระ คนในท้องถิ่นและแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ จะเขามาช่วยเตรียมตกแต่งเรือพนมพระสำหรับชักลากและเตรียมงานต่าง ๆ และเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ มาถึง ผู้คนจากหลากหลายชาติพันธุ์จะรวมตัวตั้งแต่เช้า ดูเผิน ๆ คงยากจะแบ่งได้ว่าว่า ใครเป็นคนเชื้อชาติใดบ้าง แต่ศรัทธาแรงกล้าที่พวกเขาแสดงออกในประเพณีชักพระวัดบ้านเกาะสิเหร่แห่งนี้ ได้หล่อมรวมพวกเขาอยู่ภายใต้คำว่า “ชาวพุทธ”

ฤกษ์มงคล
พอได้ฤกษ์มงคล มือนับร้อยคู่เกาะกุมสายเชือกอย่างแน่นเหนียว หนึ่งคน หนึ่งแรง ร้อยคน ร้อยแรง ฉุดเรือพนมพระเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ เสียงไชโยโห่ร้องกึกก้องหยอกรับกับจังหวะกลอง ฟ้าครึ้มเล็กน้อยกับจุดหมายในอีกสิบกิโลเมตรข้างหน้า แต่ไม่ว่าฝนหรือแดดจะเป็นเจ้าของวันนี้ ศรัทธาคือผู้ชนะ
.
ประเพณีชักพระวัดบ้านเกาะสิเหร่ 14 ตุลาคม 2562

2,595 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต