คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

จับปิ้ง

เครื่องประดับวัยเยาว์ พบใช้ที่อินเดียและอาจมาจากโปรตุเกส?

จับปิ้งเป็นเครื่องประดับของเด็ก ๆ ในอดีต โดยเฉพาะในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรมลายู หน้าตาของเครื่องประดับชนิดนี้คล้ายกับ "จีสตริง" อยู่ไม่น้อย มีไว้สำหรับปกปิดอวัยวะเพศของเด็กผู้หญิง ลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น รูปทรงทะนาน รูปกระเบื้องเกล็ดเต่า รูปหน้าแว่น รูปใบโพธิ์ ธรรมเนียมปกติจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่เด็กโกนผมไฟเป็นต้นไป
.
ที่มาของจับปิ้งมาจากที่ไหนไม่สามารถยืนยันได้ แต่เครื่องประดับชนิดนี้ นอกจากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วยังพบใช้ในอินเดียใต้อีกด้วย ชาวทมิฬ เรียกว่า Araimudi หรือ Araimuti มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะเงิน หรือทองคำขนาดเล็ก รูปหัวใจ ใช้ปกปิดอวัยวะเพศของเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ชาวทมิฬเชื่อว่าเป็นเครื่องรางที่คุ้มครองจากวิญญาณร้าย
.
อีกข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจเกี่ยวกับจับปิ้งคือข้อสันนิษฐานของ อ.พิทยะ ศรีวัฒนสาร ที่กล่าวว่าจับปิ้งที่เรารู้จักอาจมีที่มาจากโปรตุเกส โดยอ้างอิงจากเนื้อหาตอนหนึ่งของหนังสือเรื่อง The Portuguese Missions in Malacca and Singapore (1511-1958) Volme III-Singapore (1987 p.485-486) เรียบเรียงโดย Mons. Manuel Teixeira กล่าวถึง "คำ"โปรตุเกส ที่ตกค้างอยู่ในภาษาเขมร (Cambodia Language) หนึ่งในนั้นคือคำว่า จะปึง (chapung) ตรงกับภาษาโปรตุเกสว่า chapinha (จาปินญา) มาเลย์และสยามออกเสียงคล้ายกันว่า จะปิ้ง/จับปิ้ง ใช้เรียกแผ่นโลหะที่ใช้สำหรับปิดอวัยวะเพศ
.
สำหรับชาวภูเก็ตย้อนไปในอดีต เด็ก ๆ ภูเก็ตก็มีจับปิ้งเป็นอาภรณ์ประดับร่างกายเช่นเดียวกัน ญาติผู้ใหญ่มักซื้อจับปิ้งให้เป็นของรับขวัญ จับปิ้งของเด็กภูเก็ตมีมาหมายหลายแบบ ทั้ง ทองคำ เงิน โลหะต่าง ๆ ไปจนถึงจับปิ้งกะลามะพร้าว ซึ่งบ่งบอกฐานะวงศ์ตระกูลของเด็ก ๆ ผู้สวมใส่
.
หากมองจับปิ้งในแง่ภูมิปัญญาแล้ว ทำให้เห็นว่าการที่ผู้ใหญ่ให้เด็ก ๆ ใส่จับปิ้งนั้น เพราะด้วยสภาพอากาศในภูมิประเทศร้อนชื้น ผู้คนส่วนใหญ่ไม่นิยมสวมเสื้อผ้ากันมากนัก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เพราะจะทำให้เกิดผื่นคัน จับปิ้งจึงถูกใช้เพื่อส่วมใส่แทนเสื้อผ้าและปกปิดส่วนที่อ่อนไหวของเด็กผู้หญิง และหากมองในเชิงเพศวิถี เพศหญิงถือเป็นเพศที่ต้องรักนวลสงวนตัว อวัยวะเพศหญิงถือเป็นสิ่งที่ต้องปกปิด เด็กผู้หญิงจึงต้องใส่จับปิ้งเพื่อปกปิดและฝึกความรักนวลสงวนตัวตามจารีตของสังคมสยามในอดีต
.
อ้างอิง /ข้อมูลเพิ่มเติม
1. สยาม-โปรตุเกสศึกษา โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2010/06/blog
2. หนังสือการแต่งกายของผู้หญิงบาบ๋า อ.ฤดี ภูมิภูถาวร
3. http://ruch-sattahip.blogspot.com/2018/11/blog-post_29.html

5,551 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต