คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แกะ

เครื่องมือเก็บข้าว วิถีชาวนาภูเก็ต - ปักษ์ใต้

นาข้าวคืออีกส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวภูเก็ตนอกจากการทำเหมืองแร่ พื้นที่นาข้าวส่วนใหญ่ของภูเก็ตอยู่ที่อำเภอถลางและกระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นที่ราบลุ่มบนเกาะแห่งนี้ การทำนาของชาวนาภูเก็ตมีเครื่องมือพิเศษอย่างหนึ่งที่ใช้ในการเก็บข้าว แน่นอนว่าไม่ใช่ “เคียว” ที่เราคุ้นตา แต่คืออุปกรณ์ที่เรียกว่า “แกะ” ใช่ครับ ชาวนาภูเก็ตใช้ “แกะ” เก็บข้าว?
.
แกะที่พูดถึงแน่นอนว่าไม่ได้หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่งแน่นอน แต่คืออุปกรณ์เก็บข้าวที่ทำจากไม้เนื้อเบาและใบมีดเหล็กกล้า ในบางท้องถิ่นจะเรียกว่า “แกระ” หรือ “มัน” เป็นเครื่องมือเก็บข้าวของชาวปักษ์ใต้และถือเป็นอารยะธรรมร่วมในพื้นที่คาบสมุทรมลายู มีประวัติความเป็นมายาวนานย้อนได้ถึงในสมัยอาณาจักรฟูนัน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 - 11 หรือราว 2000 ปีมาแล้ว อาณาจักรฟูนั้นได้มีการบันทึกถึงการใช้ใบมีดที่ซ่อนในอุ้งมือในการเก็บข้าวของชาวนา การใช้แกะยังคงปรากฏในวัฒนธรรมข้าวในพื้นที่คาบสมุทรมลายู เช่น มาเลเซีย สุมาตรา และ ชวา รวมถึงวิธีการเก็บข้าวเป็น “เลียง” หรือ มัด เก็บในห้องข้าวด้วยเช่นเดียวกัน
.
"แกะ" ประกอบด้วยสำคัญสามส่วนคือ
1) ตาแกะหรือคมแกะ เป็นใบมีดเหล็กกล้า ยาว 5-6 ซม.
2) กระดานแกะ ทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้เบา เช่น ไม้ตีนเป็ด ไม้เค โดยจะตัดไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สำหรับฝังใบมีดหรือตาแกะ
3) ด้ามแกะ ทำจากไม้ไผ่เรี้ย เรียกสั้น ๆ ว่า "เรี้ย" ยาวประมาณ 7-8 ซม. เสียบขวางติดกับกระดานแกะ ใช้เป็นด้ามจับ
.
วิธีเก็บข้าวด้วยแกะ จะเอาแกะใสเข้าในระหว่างนิ้วกลางกับนิ้วนาง แล้วใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้ง จับรวงข้าวมาทาบกับคมแกะให้คมแกะตัดคอรวงข้าวที่ละรวง เก็บมัดให้แน่นทำเป็น “เลียง” เพื่อเข้าสู่กระบวนการนวดซ้อมต่อไป
.
ความพิเศษของการเก็บข้าวแบบใช้แกะ คือความประณีตในการเลือกเก็บข้าวที่ละรวง โดยจะเลือกเก็บฉพาะรวมข้าวที่สุกได้ที่แล้วเท่านั้นทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ และแกะเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับพื้นที่นาข้าวของภาคใต้ที่มีขนาดแปลงไม่ใหญ่นักและความอุดมสมบูรณ์ของฝน ดิน ลมมรสุม ตลอดถึงพันธ์ข้าว ทำให้ต้นข้าวที่เติบโตในภูมิภาคนี้มีลำต้นสูงใหญ่เมื่อรวงข้าวสุก น้ำหนักของรวงจะทำให้ข้าวมักจะล้มราบลง รวงเปราะกรอบหักง่าย การใช้แกะจึงเหมาะสมกว่าการใช้เคียวที่เหมาะสำหรับเกี่ยวข้าวในลักษณะเป็นกอ
.
ในแง่ความความเชื่อของชาวนาในมณฑลภูเก็ตรวมถึงภาคใต้ เชื่อว่าการเก็บข้าวด้วยแกะ จะทำให้แม่โพสพไม่ตกใจกลัวและขวัญข้าวหนีหายไป อย่างข้อความที่ หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ ข้าหลวงเกษตรมณฑลภูเก็ต เขียนรายงานเรื่องการใช้แกะเก็บข้าวถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ความว่า

“..เป็นลัทธิชาวนามณฑลภูเก็ต เชื่อกันว่า แม่ประสกอาจให้ดีให้ร้ายกับคนได้ ...เมื่อข้าวสุกแล้วต้องทำพิธีขวัญข้าวเสียก่อน และต้องเก็บข้าวที่ละร่วงด้วยแกะ จะเกี่ยวด้วยเคียวที่ละกำอย่างในมณฑลชั้นในเป็นไม่ได้ เข้าจะตกใจ จะหนี จะหาย...”
.
มีเกร็ดเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ “แกะ” เรื่องหนึ่งที่ทำให้แกะเกือบจะสูญหายไปจากวิถีชาวนาภาคใต้ คือการที่ ข้าหลวง หรือ ข้าราชการมณฑล ที่เข้ามาปกครอง มณฑลทางปักษ์ใต้ ทั้งในส่วนมณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลภูเก็ต ได้มองว่าการใช้แกะเก็บข้าวไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยแกะนั้นเก็บข้าวได้ที่ละรวง เป็นการชักช้า ต่างจากการเก็บข้าวด้วยเคียว จึงพยายามในการยกเลิกการเก็บข้าวด้วยแกะและส่งเสริมการใช้เคียวแทน ในฝ่ายมณฑนครศรีธรรมราช พระยาสุขุมนัยวินิจ สมุหเทศาภิบาล (พ.ศ.2439 - 2449) ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ เสนอให้สั่งงดเก็บข้าวด้วยแกะ และหันมาใช้เคียวเกี่ยวข้าวแทน โดยงดเว้นภาษีสำหรับผู้ใช้เคียว แต่จะเก็บภาษีสำหรับผู้ที่ใช้แกะเก็บข้าวในอัตราร้อยชักสิบ
.
ฝ่ายมณฑลภูเก็ต หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ ข้าหลวงเกษตรมณฑลภูเก็ต ก็ได้ทำหนังสือรายงานถึงพระยารัษฏานุประดิษฐ์ฯ เพื่อยกเลิกการใช้แกะเช่นเดียวกัน ตามหนังสือรายงาน ความว่า

“...ชาวนาในมณฑลกรุงเทพฯ หรือมณฑลอื่น ๆ เกี่ยวเข้าด้วยเคียวได้ และไม่ปรากฏว่าแม่ประสกให้ร้ายผู้เกี่ยวอย่างหนึ่งอย่างใด ... เพราะฉะนั้นข้านเจ้าเห็นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแนะนำและบังคับและรับผิดชอบตามเมืองฯ ให้ราษฎร์ใช้เคียวให้จงได้”
.
เมื่อความทราบถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงมีพระวินิจฉัยว่าไม่ควรห้ามการใช้แกะเพราะถือเป็นภูมิปัญญาเฉพาะถิ่นของชาวใต้ซึ่งใช้มาหลายชั่วอายุคน ความว่า

“...ฉันเห็นว่าการที่ราษฎร์ใช้เหล็กแกะเก็บเข้าในนานั้น ย่อมจะต้องใช้ด้วยประกอบเหตุผลอันจำเป็น จนเป็นธรรมเนียมที่ใช้กันมาสืบจนชั่วบุตรหลาน คงจะไม่เป็นเพราะความไม่ฉลาดอย่างเดียว ก็หามิได้ ราษฎร์เหล่านั้นใช้ว่าจะไม่รู้จักเคียว ก็หามิได้ ย่อมจะรู้จัก แต่หากมีเหตุผลที่จำเป็นให้ใช้ไม่ได้ หรือจะใช้แกะเหล็กเก็บข้าวได้ดีกว่า ที่คิดเห็นเวลานี้ที่เขาเก็บรวงเข้า ไม่ต้องถึงต้นเข้านั้น ก็มีประโยชน์ที่ไม่ต้องนวดเข้าเป็นต้น...”
.
เรื่องคำสั่งการงดใช้แกะในมณฑลปักษ์ใต้เป็นอย่างไรต่อไปยังไม่พบหลักฐาน แต่ได้มีการสั่งตีเคียวมาแจกจ่ายให้กับชาวนาในพื้นที่ต่าง ๆ ในมณฑลปักษ์ใต้ และส่งเสริมให้ใช้เคียวเกี่ยวข้าว แต่ชาวนาในภาคใต้ก็ยังคงนิยมให้แกะในการเก็บข้าวมากว่า เพราะภูมิปัญญาที่สั่งสมมาหลายชั่วคนได้คัดสรรแล้วว่า "แกะ" เหมาะสมกับการเก็บข้าวในพื้นที่ภาคใต้มากกว่าเครื่องมือรูปแบบอื่น
.
"แกะ" จึงเป็นเครื่องมือเก็บข้าวที่อยู่คู่วิถีชีวิตชาวนาภูเก็ตและภาคใต้มาอย่างยาวนานเหนียวแน่น จนกระทั่งการมาถึงของรถเกี่ยวข้าวในปัจจุบัน ที่ทำให้เแกะทยอยหายไปจากวิถีชาวนา
.
ภาพ
ชาวนา อำเภอถลางใช้แกะเก็บข้าว พ.ศ.2495 /ถ่ายโดย ดร.โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยี่ท้องถิ่น อ.สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์
2. เอกสารจดหมายเหตุ เรื่องพระยารัษฏาฯส่งรายงานตรวจเหมืองแร่และการเพาะปลูกฯ
3. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออกของไทย (นครศรีธรรมราช) พ.ศ.2435-2504 พูนศักดิ์ ชานิกรประดิษฐ์

1,981 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต