คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เหมืองรู

วิทยาการทำเหมืองแร่ดีบุกยุคโบราณ

การทำเหมืองแร่ดีบุกของเกาะภูเก็ต มีหลายรูปแบบ เปลี่ยนแปลงตามสภาพพื้นที่ เทคโนโลยีและภูมิปัญญา “เหมืองรู” หรือ “เหมืองปล่อง” คือหนึ่งในรูปแบบการทำเหมืองของภูเก็ตในอดีต
.
เหมืองรู สันนิษฐานว่าเป็นภูมิปัญญาการทำเหมืองที่มีมาแต่โบราณ เป็นวิธีการที่มนุษย์ใช้ในการหาแร่ต่าง ๆ รวมถึงแร่ดีบุก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
.
สำหรับภูเก็ตคาดว่าวิธีการนี้ในการทำเหมืองดีบุกอย่างแพร่หลาย อย่างน้อยก่อนการมาถึงของวิทยาการเหมืองหาบที่เข้ามาพร้อมชาวจีน ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
.
วิธีการทำเหมืองรู มักทำในบริเวณเชิงเขา โดยการใช้แรงงานคนในการขุดหรือเจาะผิวดินตามสายแร่ที่มีความสมบูรณ์ เข้าไปจนเป็น "รู" หรือ "ปล่อง" ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง ขนาดของรูมีขนาดพอให้คน 1 คนลอดเข้าไปได้ และมีการเว้นปล่องเพื่อระบายอากาศ จึงเป็นที่มาของชื่อเหมืองรู
.
การทำเหมืองรูใช้แรงงานขั้นต่ำตั้งแต่ 2 คน คนหนึ่งจะเป็นลงไปในรูพร้อมอุปกรณ์การขุดดิน เช่น จอบ เสียม บุ้งกี๋ เชือก โดยมีคนที่อยู่ด้านบนสำหรับชักรอกน้ำดินปนแร่ขึ้นจากรู เมื่อได้ดินปนแร่แล้วจะนำเข้าสู่กระบวนการกู้แร่โดยการร่อนด้วยเลียงหรือการใช้รางกู้แร่ต่อไป
.
ตัวอย่างพื้นที่ปรากฏหลักฐานการทำเหมืองรูในภูเก็ต เช่น เหมืองรู ในขุมเหมืองฉีดของบริษัทลุ่นเส้งที่บ้านบางคู ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต (จากการเก็บข้อมูลของ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ พ.ศ.๒๕๒๔) หรือ เหมืองรู บริเวณตำบลนาลึก หาดสุรินทร์ ที่บันทึกอยู่ในหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ต ของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กล่าวถึงการเสด็จทอดพระเนตรเหมืองรู ความว่า

“...วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ เวลา ๑๑ นาฬิกา พระบาทสเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จทรงรถยนต์พระที่นั่ง ไปทอดพระเนตรการทำเหมืองหาบและเหมืองปล่องที่ตำบลนาลึก ใกล้หาดสุรินทร์ แล้วเสด็จสู่พลับพลาที่ประทับแรม...”
.
แม้จะเข้ายุคของการทำเหมืองหาบ หรือ เหมืองฉีดแล้ว ก็ยังปรากฏการทำเหมืองรูในบางพื้นที่ หรือ ในบางเหมือง เนื่องด้วยชั้นดินในบริเวณนั้นไม่เอื้อต่อการทำเหมืองในลักษณะอื่น เหมืองรู หรือ เหมือง ปล่อง จึงถือเป็นวิทยาการในการทำเหมืองอีกวิธีหนึ่งและถือเป็นรูปแบบการทำเหมืองของชาวภูเก็ตตั้งแต่ยุคโบราณ
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
1. กรมศิลปากร. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
2. www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/minerals/images/วิธีการทำเหมืองและเทคโนโลยีการทำเหมือง.pdf
3. ภูเก็ตดาต้า

1,361 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต