คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พ้อต่อ เต่าแดง

พ้อต่อ ทำไมต้องเต่าแดง?

เดินเที่ยวงานพ้อต่อหรือประเพณีสาทรจีนภูเก็ต หันไปทางไหนก็เห็นแต่ขนมรูปเต่าสีแดงหลากหลายขนาดวางเต็มไปหมด เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไม่ช่วงเทศกาลพ้อต่อ ต้องใช้ขนมรูปเต่าสีแดงเป็นของเซ่นไหว้ ถ้าสงสัย ตามไปหาคำตอบพร้อมกันเลย...
.
#เต่าสื่อกลางระหว่างภพ

“เต่า” ถือเป็นสัตว์มงคลในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก สำหรับวัฒนธรรมจีนเต่าถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์มงคลที่แสดงถึงความมีอายุยืนและความแข็งแกร่ง ในขณะเดียวกันชาวจีนยังเชื่อว่า “เต่า” เป็นสัตว์ที่มีพลังพิเศษในการสื่อสารระหว่างภพภูมิ หลักฐานเก่าแก่ที่แสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อนี้คือ “เจียกู่เหวิน” หรือ กระดองเต่าจารึกอักษร สมัยราชวงศ์ซาง มีอายุราว 1570-1045 ปี ก่อคริสตกาล ที่ขุดพบที่เมืองอิน กระดองเต่าเหล่านี้ถูกใช้ในพิธีกรรมการขอคำพยากรณ์จากเทพเจ้า โดยการนำกระดองเต่ามาจารึกตัวอักษรและเผาเพื่อให้เกิดรอยร้าว แล้วอ่านคำทำนายจากรอยร้าวนั้น ถือเป็นวิธีการทำนายที่ได้รับความนิยมในวัฒนธรรมจีนโบราณ
.
#พาหนะของพระโพธิสัตว์

สำหรับกลุ่มคนจีนทางตอนใต้ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มกวางตุ้ง แต้จิ๋ว ไหหลำ และฮกเกี้ยน เต่า ถือเป็นสัตว์ที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตเป็นพิเศษ เพราะคนจีนเหล่านี้มีถิ่นฐานอยู่ใกล้ทะเลและมีความเชื่อว่าเต่าเป็นพาหนะของพระโพธิ์สัตว์กวนอิมและมาจ้อโป๊ที่คอยช่วยผู้คนในทะเล
.
#ขาดไม่ได้ในพิธีกรรมเซ่นไหว้

ความเชื่อเรื่องเต่าในสังคมจีนได้ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว เรื่องราวของเต่าที่เป็นพาหนะให้กับพระถังซัมจั๋งในการข้ามแม่น้ำไปอัญเชิญพระไตรปิฎกได้แสดงให้เห็นถึงคติเรื่องเต่าที่มีอยู่ในสังคมจีนและส่งอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้คนในเวลาต่อมารวมถึงชาวภูเก็ต เต่า ในวัฒนธรรมจีนจึงมีความหมายในฐานะของพาหนะและสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างภพภูมิ เต่าจึงกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีกรรมเซ่นไหว้ต่าง ๆซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของขนมที่ทำจากข้าว
.
#เต่าแดงของคนภูเก็ต

สำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนภูเก็ต มีรากฐานของวัฒนธรรมมาจากกลุ่มคนจีนฮกเกี้ยน “อังกู๊โก้ย” หรือ ขนมเต่าแดง ยังคงเป็นขนมสำคัญที่ขาดไม่ได้ในพิธีเซ่นไหว้ โดยเฉพาะในประเพณีพ้อต่อหรือประเพณีวันสาทรจีนที่มีจุดประสงค์หลักในการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ ขนมรูปเต่าจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของประเพณีนี้
.
#อังกู๊โก้ย

ในอดีตขนมเต่าแดงที่ใช้เซ่นไหว้ในประเพณีพ้อต่อของชาวภูเก็ตนั้นคือขนมเต่าแดงที่เรียกว่า “อังกู๊โก้ย” หรือขนมเต่าแดงที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวสอดไส้ถั่ว มีขนาดไม่ใหญ่มาก ลักษณะคล้ายกระดองเต่า และด้วยคติที่ว่าจะต้องเพิ่มจำนวนและขนาดในทุกปี ขนมเต่าแดงจึงมีการพัฒนาเป็น “ตั่วกู๊โก้ย” ทำจากแป้งสาลีหมักด้วยน้ำเชื่อม มีการขึ้นรูปเหมือนเต่าจริง ๆ รสสัมผัสคล้ายขนมโก๋อ่อน มีขนาดเล็กจนถึงใหญ่ตามความประสงค์ของผู้ถวาย ในอดีต ตั่วกู๊โก้ย จะมีสีขาวและแต้มจุดแดงกลางกระดองเรียกว่า “มอฮ่อ” ต่อมาพัฒนาเป็นขนมเต่ายักษ์สีแดงทั้งตัวที่เราเห็นในปัจจุบัน
.
#ไม่ได้มีเฉพาะภูเก็ต

ในด้านของคติเรื่องเต่าในการทำบุญเซ่นไหว้ดวงวิญญาณในลักษณะนี้ไม่ได้มีเฉพาะภูเก็ตเท่านั้นแต่ยังปรากฏในกลุ่มจีนโพ้นทะเลอื่น ๆ อีกด้วย เช่นชาวจีนในหมู่เกาะเผิงหู ประเทศไตหวัน ที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมมาจากชาวจีนฮกเกี้ยนเช่นเดียวกับภูเก็ต ก็มีการทำขนมเต่าตัวใหญ่ หรือ เครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ มาเรียงเป็นรูปเต่า ในพิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณและบรรพบุรุษ โดยมีความเชื่อว่า เต่า จะเป็นพาหนะนำพาของเซ่นไหว้ต่าง ๆไปสู่โลกแห่งวิญญาณ
.
#สื่อกลางความรักความกตัญญู

ขนมเตาสีแดงหลากหลายขนาด จึงกลายเป็นของที่ขาดไม่ได้เปรียบเสมือนสื่อกลางในการส่งของเซ่นไหว้รวมถึงความรักและความกตัญญูของลูกหลานชาวจีนภูเก็ตไปสู่บรรพชนและวิญญาณพี่น้องชาวจีนไร้ญาติที่เดินทางมาเสวงหาชีวิตใหม่และล้มหายตายจากไปในดินแดนโพ้นทะเลโดยไร้ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้
.
ขอบคุณข้อมูล
1. เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ โดยถาวร สิกขโกศล
2. ประเพณีพ้อต่อ โดย ฤดี ภูมิภูถาวร สภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
3. https://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency.th
4. https://www.lonelyplanet.com/taiwan/penghu-islands/background/other-features/bdce3396-16fb-4760-8ed1-db8223bdb13b/a/
5. https://georgehbalazs.com/turtle-sacrifice-to-the-temple-gods-in-the-penghu-islands-of-taiwan/

3,977 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต