คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ภาพจำภูเก็ตในสงคราม

ข้าวสารปันส่วนไม่พอกิน ต้องหุงผสมหัวมันและกลอย

พูดถึง"ข้าว"วันนี้มิวเซียมภูเก็ตก็เลยเอาเรื่องข้าวคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเล่าสู่กันฟัง เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ชวนทุกคนมาเว้นระยะห่าง_เติมช่องว่างด้วยการเรียนรู้ไปกับมิวเซียมภูเก็ตกันครับ
.
“ข้าวสารซึ่งมีอยู่ในจังหวัดภูเก็ตขณะนี้มีปริมาณน้อยมาก...หากขาดแคลนขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความเดือดร้อนถ้วนทั่วทุกตัวคนไม่ว่ามีหรือจน ด้วยเหตุผลนี้ทางจังหวัดจึงได้เข้าดำเนินการควบคุมโดยรวบรวมอาหารทั้งสิ้นที่มีในท้องตลาดมาไว้เสียในที่แห่งเดียว”

เมื่อไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในเช้าวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 จังหวัดภูเก็ตประกาศกฎอัยการศึก เพื่อควบคุมสถานการณ์ในภาวะสงคราม จากประกาศจำนวน 4 ข้อ เรื่อง "ข้าว" กลายเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของประกาศฉบับนี้
.
ด้วยความเป็นเกาะและพื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยขุมเหมือง ตลอดช่วงสงครามการขาดแคลนข้าวสารเป็นปัญหาสำคัญ เพราะโดยปกติภูเก็ตจะนำเข้าข้าวสารมาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่นตรัง พังงา เพชรบุรีและนครศรีธรรมราชโดยทางเรือ ยิ่งสงครามทวีความรุ่นแรง การเดินเรือลำบากขึ้น ทำให้ข้าวสารขาดแคลนมากขึ้น นายประวัติ แซ่หลู่ ได้เล่าถึงชีวิตในช่วงนั้นว่า

“สมัยสงคราม ข้าวสารไม่มี เรือถลางไปไม่ได้ เรือถ่องโหจม..ต้องปันผล ปันส่วน บ้านกี่คน กำนันผู้ใหญ่บ้านต้องเอามาให้ มีเงินซื้อมากไม่ได้ เขาไม่ขาย”

ข้าวสารในยุคนั้นกลายเป็นสินค้าควบคุม การซื้อขายจะทำโดยการปันส่วน ซึ่งต้องใช้สำมะโนครัว หรือทะเบียนบ้านในการซื้อเท่านั้น ซึ่งแต่ละครอบครัวจะสามารถซื้อได้ในจำนวนที่จำกัด นางมาลี เอี่ยวผดุง หนึ่งในผู้คนร่วมสมัยก็ได้เล่าถึงการไปซื้อข่าวสารในยุคนั้นว่า

“ต้องเอาสำมะโนครัวไปซื้อ ไปซื้อกับพาณิชย์จังหวัด..รู้สึกว่าได้ 5 โล จำไม่ได้ว่ากีบาทแล้ว”
.
ข้าวสารที่ได้จากการปันส่วนมักจะไม่พอกับการบริโภคในครัวเรือนเสมอ นายปราโมทย์ เบญจเลิศยานนท์ เล่าว่าวิธีการแก้ปัญหาคือการเข้าป่าเพื่อหาหัวมัน หัวกลอยมาเก็บไว้เพื่อใช่ผสมหุงพร้อมกับข้าวที่ได้ปันส่วน เพื่อเพิ่มปริมาณให้กินอิ่มกันทั้งครอบครัว

“ชาวบ้านต้องขึ้นเขาไปขุดหัวมัน หัวกลอยในป่า มันป่า มันเส้อ มันเคย ตอนนี้ไม่มีพันธ์แล้ว”

นายปราโมทย์ยังบอกอีกว่า โดยเฉพาะหัวกลอยต้องนำมาแช่น้ำก่อน เมื่อน้ำมาขูดผสมข้าวสีจะเหมือนเมล็ดข้าวจนแยกไม่ออก กินแล้วอิ่มท้องกว่าข้าวทั่วไป
.
ข้าวผสมมันและกลอยกลายเป็นอาหารหลักของผู้คนจำนวนไม่น้อยตลอด 4 ปีแห่งความยากลำบาก และกลายเป็นเรื่องเล่าไม่รู้จบของคนเฒ่าคนแก่ที่ผ่านเวลานั้นมาได้ ถือเป็นบทเรียนความลำบากในยามวิกฤตสำหรับสอนใจคนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี
.
ข้อมูลจาก
1. นิทรรศการภาพจำสงครามโลก
2. บทสัมภาษณ์ นายประวัติ แซ่หลู่/นางมาลี เอี่ยวผดุง/นายปราโมทย์ เบญจเลิศยานนท์
3. เอกสารจดหมายเหตุ คำแถลงการญ์ เรื่องประกาศใช้กฎอัยการศึก จังหวัดภูเก็ต

1,076 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต