สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
อาภรณ์ถือเป็นเสน่ห์ที่สำคัญของวัฒนธรรมภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ ล้วนมีความสวยงามและเกิดขึ้นจากการการผสมผสานความเป็นเอกจากหลากหลายวัฒนธรรม ในบรรดาอาภรณ์ของสาวภูเก็ต “เสื้อเคบายา” หรือ “เสื้อย่าหยา” ถือเป็นแฟชั่นยอดฮิตของสาว ๆ มาตั้งแต่อดีต เรามาดูกันว่าเสื้อเคบายาที่เรารู้จัก มาจากไหน และมีกี่แบบ?
.
เสื้อเคบายา ถือเป็นผลผลิตหนึ่งจากการผสมผสานของวัฒนธรรมระหว่างคนมลายูท้องถิ่นในคาบสมุทรมลายู ที่นับรวมตั้งแต่ตอนใต้ของไทยไปจนถึงดินแดนในช่องแคบมะละกากับผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ที่เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนแถบนี้ ทำให้เกิดกลุ่มวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่า“เพอรานากัน” และเสื้อเคบายาถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมนี้
.
ในเสื้อเคบายาหนึ่งตัว รูปแบบเสื้อมีพื้นวัฒนธรรมมาจากเสื้อของชาวมลายูดั้งเดิม โดยปรับรูปแบบให้เน้นทรวดทรงและลดความยาวให้อยู่เหนือสะโพก ตกแต่งด้วยผ้าลูกไม้หรือเทคนิคการฉลุผ้าแบบตะวันตกและปักด้วยลวดลายมงคลตามคตินิยมจีน สำหรับชาวภูเก็ตจะเรียกเสื้อเคบายาว่า “เสื้อย่าหยา” ถือเป็นรูปแบบเสื้อที่เป็นที่นิยมของสาวภูเก็ตมาตั้งแต่อดีต
.
เสื้อเคบายา สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ 3 ยุค แต่ละยุคจะมีรูปแบบที่สัมพันธ์กับกระแสแฟชั่น และเทคโนโลยีในแต่ละช่วงเวลา มาดูกันว่าเสื้อเคบายาแต่ละแบบมีความโดดเด่นอย่างไรบ้าง
.
1. เคบายาลินดา (Kebaya Renda) โดดเด่นด้วยการใช้ผ้าลูกไม้ นิยมในช่วงประมาณ พ.ศ. 2463 - 2473 ใช้ผ้าป่านรูเบียชนิดหนาหลากสีในการตัดเย็บ สาบเสื้อ และริมสะโพกจะมีลายดอกทำจากผ้าลูกไม้ยุโรป ตัวเสื้อไม่มีกระดุม จะใช้เครื่องประดับในการกลัดติดแทน
2. เคบายาบีกู (Kebaya Biku)โดดเด่นด้วยการใช้เทคโนโลยี การฉลุลายนิยมในช่วงประมาณ พ.ศ. 2473 – 2483 เสื้อจะมีการฉลุลายเล็ก ๆ ริมขอบสาบเสื้อด้านหน้า รอบสะโพกจะมีการตัดเย็บคล้ายการคัตเวิร์ค เคบายาบีกูเป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนามาจาก เคบายาลินดา (Kebaya Renda) เนื่องจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เริ่มมีการผลิตจักรเย็บผ้าที่สามารถฉลุลายผ้าได้ ทำให้รูปแบบของเสื้อเปลี่ยนไป
3. เคบายาซูเลม (Kebaya Sulam) โดดเด่นด้วยสีสันและลายฉลุที่ซับซ้อน นิยมในช่วงประมาณ พ.ศ. 2483 – 2500 ลักษณะคล้ายเคบายาบีกู แต่มีการฉลุลายที่ประณีตงดงามมากยิ่งขึ้น และเน้นสีสันสวยงาม เริ่มปรากฏการใช้แพร่หลายในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังความนิยมเริ่มลดลง และกลับมาเริ่มฟื้นฟูอีกครั้งในช่วงที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมมากขึ้น ทำให้วัฒนธรรมแบบบาบ๋าในภูเก็ตเริ่มเป็นที่รู้จักอีกครั้ง
เสื้อเคบายาไม้ได้เป็นที่นิยมเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมเพอรานากันเท่านั้น แต่ยังถือเป็นแฟชั่นล้ำสมัยของบรรดาสาว ๆ ในคาบสมุทรมลายู ทั้ง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปีนัง สิงคโปร์ ภูเก็ตรวมถึงทางตอนใต้ของไทย และฮอตฮิตข้ามเวลามาถึงยุคแห่งการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
.
อ้างอิงภาพ
1. ภาพปก นางถิ่น โลหะผล (ประทีป ณ ถลาง)และญาติ ๆ ถ่าย ณ วัดบ้านดอน ถลาง ภูเก็ต พ.ศ. 2490 ขอบคุณภาพจาก เพจเฟสบุ๊ค "ที่นี่ภูเก็ต" และเฟสบุ๊ค "ปัญญา ศรีนาค"
2. ภาพเสื้อเคบายา จาก หนังสือวิวาห์บาบ๋าและหนังสือการแต่งกายผู้หญิงบาบ๋า โดย อ.ฤดี ภูมิภูถาวร
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. https://www.nst.com.my/news/nation/2019/12/546479/showcasing-peranakan-dress-style-world
2. https://eresources.nlb.gov.sg/infopedia/articles/SIP_2013-09-27_173744.html
3. หนังสือการแต่งกายผู้หญิงบาบ๋าภูเก็ตและหนังสือวิวาห์บาบ๋า โดย อ.ฤดี ภูมิภูถาวร