คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระยารัษฎาฯปราบมังกร

ตำนานพญามังกรทะเลใต้

10 เมษายน ของทุกปีเป็นวันครบรอบการถึงแก่อนิจกรรมของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลฯ นักพัฒนา “ผู้เป็นดวงประทีปแห่งชายฝั่งทะเลตะวันตก”
.
เรื่องราวประวัติของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ คิดว่าหลายคนคงเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้ว วันนี้จึงขอเอาตำนาน เรื่องเล่า เก่าแก่ของชาวภูเก็ตที่กล่าวถึงการปราบมังกรของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ มาเล่าสู่กันฟัง ว่าแต่ ทำไมต้องปราบ หรือ ปราบได้อย่างไร อยากรู้ตามมาเลยครับ
.
มังกรแห่งเกาะภูเก็ตไม่ได้ธรรมดาอย่างที่คิด ซินแสได้บอกกับพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ อีกว่า การที่เกาะภูเก็ตมีลักษณะดั่งมังกร “ฮ่ายเหล็งอ๋อง” แม้ว่าจะส่งเสริมให้เกาะภูเก็ตมีความมั่งคั่ง รุ่งเรือง แต่มังกรตัวนี้มีความคะนอง ยากต่อการควบคุม อีกทั้งตำแหน่งของหัวใจมังกรตรงกับบริเวณเขาโต๊ะแซะ ได้มีการก่อสร้างเรือนจำกลางทับตำแหน่งที่เป็นขั้วหัวใจมังกร พลังงานที่ไม่ดีจากเรือนจำ ยิ่งสงเสริมให้มังกรฮ่ายเหล็งอ๋องเป็นมังกรที่ดุร้าย
.
เมื่อเป็นอย่างนี้ต้องหาวิธีแก้ฮวงจุ้ย พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ได้ถามถึงวิธีการแก้ไข โดยซินแสได้แนะนำให้พระยารัษฏานุประดิษฐ์นำ “หอก” หรือ “ลูกศร” ไปปักยังขั้วหัวใจมังกร เพื่อสะกดพลังด้านลบ ทำให้ฮ่ายเหล็งอ๋องสงบลง และกลายเป็นมังกรที่ให้คุณแก่เกาะภูเก็ต
.
จากคำชี้แนะของซินแส พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการคมนาคมได้มีคำสั่งสร้าง"หอก"ขึ้นเพื่อสกดมังกร โดยการตัดถนนสุทัศน์เชื่อมถนนมนตรีต่อไปจนตัดกับถนนดำรง ปลายหอกมุ่งเขาสู่ทางเข้าเรือนจำกลาง ภูเก็ตกลายเป็นที่มาของถนนดังกล่าวในปัจจุบัน
.
ถอยออกมาจากตำนาน ชวนให้สงสัยว่าตำนานเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ถ้าจะหาคำตอบคงต้องสืบสาวจากหลักฐานสำคัญนั่นคือ “ถนนสุทัศน์” จากการสืบค้นยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงโครงการตัดถนนสุทัศน์เชื่อมต่อถนนมนตรีว่าตัดขึ้นในช่วงเวลาใด แต่จากการเทียบเคียงกับแผนที่ระวางเมืองภูเก็ต ร.ศ.129 (พ.ศ.2454) ถนนสุทัศน์ยังไม่ตัดเชื่อมต่อกับถนนมนตรี แสดงว่าถนนสายดังกล่าวตัดขึ้นในช่วงหลัง พ.ศ.2454 และหากพระยารัษฎานุประดิษฐ์เป็นผู้ตัด ถนนสายนี้จะต้องตัดขึ้นก่อน พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นปีที่ถึงแก่อนิจกรรม ของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ฉะนั้นเรื่องราวการเชิญซินแสมาดูฮวงจุ้ยของเมืองคงเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.2454 – 2456
.
ยังมีเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกว่า การสะกดมังกรครั้งนี้มีผลแค่ 10 ปี เท่านั้น ตำนานเรื่องนี้ได้กลายเป็นเรื่องเล่าไม่รู้จบ ที่อยู่คู่เมืองภูเก็ตมาอย่างยาวนาน น่าสนใจว่าหากมองข้ามเรื่องราวของความเชื่อไปถึงเรื่องการปกครอง เมืองภูเก็ตในช่วงนี้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ถึงทำให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์ต้องหาวิธีสกดมังกรภูเก็ตไม่ให้ดุร้าย
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. แผนที่ระวางเมืองภูเก็ต ร.ศ.129
2. ประวัติพระยารัษฏา https://www.facebook.com/1770379049866544/posts/2672162829688157/

1,758 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต