สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
“พ้อต่อ” คือชื่อเรียกประเพณีวันสารทจีน ของชาวไทยเชื้อสายจีนภูเก็ต ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน เชื่อกันว่าเป็นช่วงเวลาที่ประตูนรกเปิดออก เพื่อปลดปล่อยดวงวิญญาณให้กลับมาเยี่ยมและรับส่วนกุศลจากลูกหลานบนโลกมนุษย์
พ้อต่อถือกำเนิดที่อินเดีย
ประเพณี “พ้อต่อ” มีรากวัฒนธรรมมาจากอินเดีย เริ่มต้นจากความเชื่อเรื่องภพภูมิและการอุทิศส่วนกุศลให้กับ “เปตชน” ในพิธี “ศราทธ์” หรือ “สารท” ของพราหมณ์และพุทธศาสนา และเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่จีน เกิดการแปลคัมภีร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะพระสูตรฝ่ายมหายาน “อุลลัมพลสูตร” ที่กล่าวถึงการทำบุญใหญ่เพื่อช่วยมารดาจากขุมนรกของพระโมคคัลลานนะและ “โยคะตันตระอัคนีชวาลมุขเปรตพลีโยคกรรม” หรือ พระสูตรว่าด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้กับเปรตและวิญญาณไร้ญาติ พระสูตรทั้งสองกลายเป็นพระสูตรที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อในสังคมจีน
พุทธขงจื้อเต๋าผสานเป็นหนึ่ง
คติแบบพุทธศาสนาซึ่งรับมาจากอินเดียได้ผสมกลมกลืนกับกับพิธีกรรมการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติในเดือน 7 ของชาวจีนที่เชื่อว่าช่วงเวลานี้เป็นเดือนแห่งผี ตามคติดั่งเดิมของลัทธิขงจื๊อและเต๋า กลายเป็นประเพณีวันสารทเดือน 7 ที่เป็นหนึ่งในประเพณีหลักของชาวจีน เทศกาลนี้เฟื่องฟูและถือเป็นเทศกาลสำคัญของชาวจีนตอนใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มจีนกวางตุ้ง แต้จิ๋ว ไหหลำ และฮกเกี้ยน โดยจะเรียกเทศกาลนี้ว่า “อูหลานผูนเซ่งโห่ย” หรือ “พ้อต่อจ่งเซ้ง” มีความหมายว่า กิจกรรมโปรดสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์โดยทั่วกัน
เบ่งบานในดินแดนโพ้นทะเล
ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง เมื่อชาวจีนส่วนหนึ่งเดินทางสู่โพ้นทะเล แร่ดีบุกได้ดึงดูดชาวจีนหลากหลายกลุ่มโดยเฉพาะชาวนจีนฮกเกี้ยนเข้ามาสู่ภูเก็ต ประเพณี “สารทจีน” หรือ “พ้อต่อ” กลายเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวจีนภูเก็ตยึดถือปฏิบัติกันอย่างเข้มแข็งเช่นเดียวกับชาวจีนโพ้นทะเลในดินแดนอื่น ๆ เพราะประเพณีนี้ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการรำลึกและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษและพี่น้องชาวจีนที่เดินทางสู่โพ้นทะเลและล้มหายตายจากนอกมาตุภูมิ ซึ่งบางคนไม่มีลูกหลานคอยทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้
พ้อต่อภูเก็ต
พิธีกรรมชาวเมืองภูเก็ตยังคงยึดถือช่วงเวลาเดือน 7 ตามปฏิทินจีนซึ่งจะตรงกับช่วงเดือน สิงหาคม – กันยายน ของทุกปี พิธีการเซ่นสังเวยวิญญาณไร้ญาติได้กลายมาเป็นจุดประสงค์หลักของพิธีกรรม โดยจะมีการตั้งเซ่นไหว้ในสถานที่สำคัญของชุมชนต่าง ๆ ซึ่งจะมีของไหว้เป็นกับข้าว อาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับกับเซ่นไหว้บรรพบุรุษในช่วงตรุษจีน ซึ่งจะแตกต่างที่มีจำนวนที่มากกว่า และที่ขาดไม่ได้คือขนมเต่าสีแดงทำจากข้าวเหนียวหรือแป้งหมี่หมักน้ำเชื่อม ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ขาดไม่ได้ในประเพณีพ้อต่อ โดยทุกครั้งที่มีการจัดพิธีกรรมจะมีการอันเชิญ “พ้อต่อก้ง” เป็นประธานในพิธีเสมอ
มาเรียนรู้ประเพณีพ้อต่อกัน
ประเพณีพ้อต่อภูเก็ตจึงเป็นประเพณีที่เกิดจากการผสมผสานของคติความเชื่อทั้งพุทธ ขงจื้อและเต๋า มีรากของประเพณีถือกำเนิดในอินเดีย แตกหน่อเติบโตในจีนแผ่นดินใหญ่และเบ่งบานในดินแดนโพ้นทะเล จนกลายเป็นอีกหนึ่งประเพณีหลักของชาวเมืองภูเก็ตที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้าใครสนใจที่จะเรียนรู้เรื่องราวประเพณีพ้อต่อเมืองภูเก็ต อย่าลืมกดติดตามเพจมิวเซียมภูเก็ตไว้นะ รับรองมีสาระดี ๆ เกี่ยวกับประเพณีพ้อต่อ เสิร์ฟถึงหน้าจอตลอดเทศกาลแน่นอน
ข้อมูลเพิ่มเติม :
หนังสือเทศการจีนและการเซ่นไหว้ โดย ถาวร สิกขโกศล สำนักพิมพ์มติชน
https://phuketindex.com/…/photo-s…/s-fes-portor/index-th.htm
file:///C:/Users/User/Downloads/63125-Article%20Text-146702-1-10-20160724%20(3).pdf
ภาพ : ผ้อต่อก้ง ศาลเจ้าผ้อต่อกงบางเหนียว