สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
เรื่องราวของพระร่วงมีวาจาสิทธิ์ได้เลื่องลือไปจนถึงเมืองขอม กษัตริย์ขอมเกรงว่าจะมีคนแข่งบารมีจึงส่งทหารที่มีวิชาอาคมมากำจัดพระร่วงถึงเมืองสุโขทัย ซึ่งในขณะนั้นทราบข่าวว่าพระร่วงบวชอยู่วัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย และทหารขอมคนดังกล่าวได้ใช้วิชาดำดินมาโผล่ที่ลานวัด ได้พบกับพระร่วงแต่ไม่รู้จัก จึงเอ่ยปากถามหาพระร่วง ฝ่ายพระร่วงเมื่อเห็นขอมดำดินมาก็ทราบว่าภัยจะมาถึงตัว จึงกล่าววาจาสิทธิ์สาปให้ทหารขอมรอพระร่วงอยู่ตรงนั้น ทหารขอมจึงได้กลายเป็นหินรอพระร่วงอยู่ตรงนั้น
หลักฐานที่ขอมดำดินกลายเป็นหินนั้น ได้ปรากฏอยู่ที่บริเวณใกล้กับเจดีย์องค์หนึ่งในวัดมหาธาตุ โดยมีลักษณะเป็นรูปมนๆ คล้ายไหล่คน ถ้าต่อศีรษะแล้วจะดูคล้ายรูปคนโผล่มาจากดิน สูงเพียงหน้าอกเป็นหินที่มีสีเขียวจาง ถือกันว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ รักษาโรคได้สารพัด ชาวบ้านจึงพากันทุบเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยนำไปฝนเข้ากับยา มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และเชื่อกันว่าช่วยให้สตรีที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกคลอดง่าย ดังนั้นปัจจุบันหินที่เชื่อกันว่าเป็น “ขอมดำดิน” จึงมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ สยามมกุฎราชกุมาร ต้องประกาศห้ามไม่ให้ผู้ใดทุบหรือทำลายหินก้อนนี้อีก
ปัจจุบัน หินขอมดำดิน ถูกนำมาเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ส่วนบริเวณที่เชื่อกันว่าขอมดำดินโผล่ขึ้นมา ณ วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ก็ได้มีการทำเป็นแท่นปูนรอบไว้ให้เป็นหลักฐานของตำนานขอมดำดิน
ทั้งนี้ ได้มีการสร้างขอมดำดินพบพระร่วง ซึ่งขณะกำลังออกผนวชไว้ ณ วัดตระพังทอง ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย
ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร (อพท.๔)