กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

16 มีนาคม 2566

ชื่นชอบ 635

60,720 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

กรมศิลปากร  ได้ริเริ่มโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน ประเภทศิลปะสมัยใหม่ขึ้น ในวาระครบรอบ  100 ปี การพิพิธภัณฑ์ไทย และได้รับมอบอาคารโรงกษาปณ์  จากกรมธนารักษ์ ในปี พ.ศ.2517 เพื่่อจัดตั้งเป็น "หอศิลปแห่งชาติ"  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงผลงานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ ของศิลปินผู้ที่มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและร่วมสมัย

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดหอศิลปแห่งชาติ ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2520 หลังจากนั้น หอศิลปแห่งชาติ ได้ปิดปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อให้ตรงตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ว่า  "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป" และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2521 ต่อมาใน พ.ศ.2526 กรมธนารักษ์ ได้มอบอาคารและที่ดินเพิ่มเติมให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ดำเนินการปรับปรุงขยายพื้นที่อาคารจัดแสดง เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการแก่ศิลปินตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ผู้เข้าชมได้อย่างครบถ้วน ตามหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะระดับชาติ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอาคารผลิตเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงนั้นประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและทำการค้ากับต่างชาติ จึงมีความจำเป็นในการใช้เงินตราในการแลกเปลี่ยน และเนื่องด้วยโรงกษาปณ์แห่งเดิมในพระบรมหารราชวัง ซึ่งผลิตโดยใช้เครื่องจักรไอน้ำคับแคบและเริ่มทรุดโทรม  รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของวังเจ้านาย 6 พระองค์ เรียกว่า "วังสะพานเสี้ยว" พื้นที่บริเวณริมคลองคูเมืองเดิม ใกล้วัดชนะสงคราม โดยโปรดให้รื้อถอนพระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวังหน้าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้  พระราชทานเงินค่ารื้อถอน และสร้างวังใหม่ให้แก่เจ้านายทุกพระองค์

 

อาคารโรงกษาปณ์สิทธิการแห่งที่ 3 (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในปัจจุบัน)  ได้รับการออกแบบก่อสร้างโดย นายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกและวิศวกรประจำราชสำนักสยาม โดยจำลองรูปแบบของสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค (Neo-classicism) แนวทางนีโอปัลลาเดียน (Neo-palladianism) มาใช้เป็นหลักในการออกแบบ เนื่องจากลักษณะทางสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมแบบนี้ มักให้ความรู้สึกถึงบรรยากาศของความเคร่งขรึม สง่างาม  จึงเหมะสมสำหรับใช้กับอาคารราชการประเภทที่ทำการกระทรวง ศาล โรงเรียน โรงงาน และสถานทูต เป็นต้น

 

สถาปนิกออกแบบอาคารเชื่อมโยงต่อกันเป็นกลุ่มอาคารรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ล้อมรอบลานโล่ง โดยได้แรงบันดาลใจการวางผังจากแบบแปลนโรงงานเครื่องจักรเมืองเบอร์มิ่งแฮม  ประเทศอังกฤษ  จุดเด่นอยู่ที่มุขกลางด้านหน้าของอาคารที่มีหลังคาทรงจั่วแบบวิหารกรีก ผนังหน้าจั่วประดับตราแผ่นรูปดินปูนปั้น ล้อมรอบด้วยครึ่งวงกลมประกอบลายพันธ์พฤกษา ผนังอาคารชั้นบน แบ่งเป็น 3  ส่วน แต่ละส่วนเจาะช่องหน้าต่างเป็นโครงสร้างโค้งครึ่งวงกลม(semi-circular arch) แต่ไม่ประดับซุ้ม  ผนังฉาบปูนเดินร่องลึกเป็นรูปช่องสี่เหลี่ยมใหญ่เรียงกันเลียนแบบลายหินก่อ(Rustication) มุมอาคารมีการเน้นลายหินอ่อนให้นูนเป็นเสาอิงที่ไม่มีหัวเสา

 

จากจุดกำเนิดที่เป็นโรงกษาปณ์สิทธิการ จนมาเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในปัจจุบันอาคารอายุกว่า 113 ปี ได้รับการปรับปรุง ปรับเปลี่ยน ซ่อมแซม ในส่วนขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทและหน้าที่ใช้สอยที่เปลี่ยนไป  แต่สิ่งหนึ่งที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีนั้น  คือ  รูปแบบสถาปัตยกรรมที่สง่างามสะท้อนภูมิปัญญาของสถาปนิกและวิศวกร ที่ได้กลั่นกรองสร้างสรรค์ จัดระเบียบความงามอย่างมีแห่งผล (Rational organization) ตามหลักของนีโอปัลลาเดียน จึงกลายเป็นหนึ่งในเพชรน้ำเอกของสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์จนทุกวันนี้

 

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

 

นิทรรศการถาวร จัดแสดงผลงานศิลปะทั้งแบบประเพณีและผลงานร่วมสมัย นำเสนอให้เห็นวิวัฒนาการของผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างผลงานที่สำคัญและทรงคุณค่าต่อวงการศิลปะในประเทศไทย อาทิ ภาพวาดพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จิตรกรรมเนื่องในพุทธศานา(ภาพพระบฏ) ภาพพงศาวดาร ภาพวรรณคดี ตลอดจนผลงานของศิลปินแห่งชาติและศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย แบ่งเป็น

 

  • ห้องเฉลิมพระเกียรติ แสดงจิตรกรรมภาพฝีพระหัตถ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 
  • ห้องจิตกรรมไทยประเพณี จัดแสดงจิตรกรรมไทยประเพณี  อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้รับสืบทอดมาตั้งแต่อดีต โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ที่สอดแทรกด้วยเรื่องราวในวรรณคดีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยก่อน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงภาพจิตรกรรมของขรัวอินโข่ง จิตรกร ผู้เรืองนามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างเอกแห่งกรุงสยาม ผลงานของบรมครูทั้ง 2 ท่านเน้นการนำเรื่องราวอุดมคติของไทยผสมผสานกับเทคนิคแบบตะวันตก ซึ่งเป็นเสมือนต้นแบบและแนวทางสำคัญสำหรับช่างไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ห้องจิตรกรรมแบบตะวันตก จัดแสดงภาพจิตรกรรมไทยที่ผสมผสานกับรูปแบบจิตรกรรมตะวันตก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเปิดรับวิทยาการจากประเทศตะวันตกมาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า หากแต่ยังคงรักษาความเป็นไทยเอาไว้ ในช่วงเวลานี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ.2440 และ พ.ศ.2449 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีและศึกษาความเจริญทางศิลปวิทยาการของประเทศเหล่านั้นด้วย
  • ห้องประติมากรรม จัดแสดงผลงานประติมากรรมในยุคของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนและอุปถัมภ์ศิลปกรรมแขนงต่างๆ แทนราชสำนัก และเป็นช่วงที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ศิลปินชาวอิตาเลียน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม(มหาวิทยาลัยศิลปากร) และเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความเคลื่อนไหวในทางสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ จนได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย

 

 

นิทรรศการหมุนเวียน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดนิทรรศการหมุนเวีนยตลอดปี เดือนละ 2-4 นิทรรศการ ผลงานที่นำมาจัดแสดงเป็นผลงานทัศนศิลป์ทุกประเภท ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวงการศิลปะ เป็นผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับชาติ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ศิลปะ

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 4 ถนนเจ้าฟ้า แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : ฝ่ายธุรการ เบอร์ 02 282 8525 และ 02 282 0637 / ฝ่ายวิชาการ เบอร์ 02 282 2639
โทรสาร : 02-282-8525
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/TheNationalGalleryBangkok
อีเมล : national.gallery.th@gmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.

(หยุดวันจันทร์ - วันอังคาร, วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศของรัฐบาล)

ค่าเข้าชม

  • คนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท
  • นักเรียน นักศึกษา พระภิกษุ สามเณร นักบวชในศาสนาอื่น และผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถแท็กซี่

  • ทางที่ 1 จากบางลำภูเข้าสู่ ถนนจักรพงษ์ ผ่านหน้าวัดชนะสงครามชิดขวาเข้าถนนเจ้าฟ้า
  • ทางที่ 2 ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ชิดซ้ายลงสะพานเข้าถนนเจ้าฟ้า
  • ทางที่ 3 จากสนามหลวง ผ่านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโรงละครแห่งชาติเข้าถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถึงสี่แยกเลี้ยวขวา เข้าสู่ถนนจักรพงษ์ ผ่านหน้าวัดชนะสงคราม ชิดขวาเข้าถนนเจ้าฟ้า

 

รถโดยสารประจำทางสาย 3, 6, 9, 15, 19, 30, 32, 33, 43, 53, 64, 123, 507

เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าพระอาทิตย์ เดินย้อนกลับมาทางสะพานปิ่นเกล้า

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการเจ้าหน้าที่นำชมจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีห้องน้ำและทางลาดสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

43

แบ่งปัน

กิจกรรม

05 ต.ค. 2566

29 ต.ค. 2566

05 ตุลาคม 2566
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรมศิลปากร  ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย ขอเชิญชม นิทรรศการ Blossoming Curiosity: Indonesia-Thailand Collaborative Painting Exhibition ระหว่างวันที่ 4 – 29 ตุลาคม 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ   Blossoming Curiosity: Indonesia-Thailand Collaborative Painting Exhibition เป็นนิทรรศการแสดงผลงานจิตรกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สาธารณรัฐอินโดนีเซียและประเทศไทย ครั้งที่ 2 โดยในปีนี้มีศิลปินชาวอินโดนีเซีย 10 คน  นำภาพเขียนหลากหลายเทคนิคมาร่วมแสดงผลงานกับศิลปินไทยอีก 10 คน เช่น  ธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ประจำปี 2553 และสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ประจำปี 2560 นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายรัคมัต บูดีมัน (H.E. Mr. Rachmat Budiman) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เป็นศิลปินรับเชิญร่วมแสดงผลงานด้วย   เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ค่าเข้าชม  ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท นักเรียน นักศึกษา ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และนักบวชทุกศาสนา เข้าชมฟรี  

13 ก.ย. 2566

30 ก.ย. 2566

06 กันยายน 2566
เตรียมตัวให้พร้อม เพราะเรามีกิจกรรมดีๆมาฝากกันอีกแล้วจ้า กิจกรรมเนื่องในวันศิลป์ พีระศรี “Silpa Bhirasri Day : 131 ปี ศิลป์ พีระศรี” วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น. ณ อาคารนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป https://maps.app.goo.gl/FDkNftAJToFoUrTs9?g_st=ic   09.00 - 16.30 น. Special Exhibition ร่วมวางดอกไม้สักการะอัฐิศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี  10.00 - 12.00 น. Workshop Monoprint ภาพพิมพ์จากผ้า โดย ศ. (เกียรติคุณ) ญาณวิทย์ กุญแจทอง ศิลปินชั้นเยี่ยมด้านภาพพิมพ์ ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ทาง : https://forms.gle/c3DWkUAueio3uRz76 จำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน เท่านั้น 13.00 - 15.00 น. Fabric Screen สายงาน craft ไม่ควรพลาด เพียงคุณเตรียมเสื้อ เศษผ้า หรือกระเป๋าที่มีสีอ่อน มาจากบ้าน  สามารถสกรีนลายสุด Limited ที่ออกแบบมาเฉพาะงานนี้เท่านั้น ไม่มีค่าใช้จ่าย   นิทรรศการ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 15 - 30 กันยายน 2566 เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

06 ก.ย. 2566

29 ก.ย. 2566

29 สิงหาคม 2566
นิทรรศการศิลปะเชิงแนวคิด (Conceptual Art) “แสงธรรม 4.0” งานแสดงเดี่ยวครั้งที่ 3 ของ พิภพ บุษราคัมวดี ณ อาคาร 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  แสดงงาน วันที่ 6-29 กันยายน พ.ศ.2566 เวลา 9:00-16:00 น.  เปิดให้เข้าชมวันพุธ-อาทิตย์ (ปิดจันทร์-อังคาร)   เปิดงาน: วันเสาร์ที่ 9 เดือน 9 (กันยายน) พ.ศ.2566  เวลา 15:00 น. ลงทะเบียน  เวลา 16:00 น.  พิธีเปิด โดย นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร บรรยายพิเศษ “พระพุทธปฏิมา: ศรัทธาศิลป์กับสังคมวัฒนธรรมไทย"  โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง    ดาวน์โหลดข่าวและภาพประกอบข่าวได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1wgsdWL76LE9UDxkQQwjyfQmhhbWoQ1LH?usp=sharing   ชมผลงาน “แสงธรรม 4.0” พร้อมรายละเอียดของทุกภาพ ได้ที่ https://www.PipopArt.com ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : คุณพิภพ โทร. 081-838-4044 หรือ pipop_b@yahoo.com

10 พ.ค. 2566

28 พ.ค. 2566

10 พฤษภาคม 2566
เปิดประสบการณ์รับรู้สุนทรียภาพแบบ Immersive Art กับนิทรรศการ “Vision of Silpa Bhirasri : Immersive experience”  เป็นนิทรรศการต่อเนื่องของนิทรรศการ 100 ปี ศิลปะสู่สยาม สุนทรียศิลปะแห่งนวสมัย  ในวาระครบรอบ 100 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นำเสนอในรูปแบบศิลปะดิจิทัล ผ่านภาพเคลื่อนไหวด้วยแสงและเสียงประกอบ  เพื่อให้ผู้ชมได้มีประสบการณ์ชมงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงได้อีกรูปแบบหนึ่ง    นิทรรศการ Vision of Silpa Bhirasri : Immersive experience เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่วันที่ 6 – 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น.  (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)  ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป   12 พฤษภาคม 2566 พิธีเปิดนิทรรศการ เริ่มลงทะเบียนเวลา 13.00 น. เป็นต้นไป   ข้อมูลการเดินทาง Location https://goo.gl/maps/DmDkWgFLHezz1QR76 สถานที่จอดรถ: วัดชนะสงคราม https://goo.gl/maps/a9yqHecGLvBKK9iw5 อาคารรับฝากรถ กทม. https://goo.gl/maps/kTjR1XNSgBdj2krP9 รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT: สถานีสนามไชย / สถานีสามยอด ต่อรถตุ๊กตุ๊ก ทางเรือ: ท่าพระอาทิตย์

10 พ.ค. 2566

14 พ.ค. 2566

10 พฤษภาคม 2566
‘A Room Full of Strangers’ นิทรรศการศิลปะที่บอกเล่าเรื่องราวของบุคคลในประวัติศาสตร์ ผู้เสมือนเป็น “คนนอก” ที่เดินทางเข้ามาใช้ชีวิตช่วงหนึ่งบนแผ่นดินไทยและได้ทิ้งร่องรอย เป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่หล่อหลอมอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของเรา  นิทรรศการประกอบด้วยผลงาน 15 ชิ้น ตีความผ่านมุมมองของนิสิตชั้นปีที่ 2  หลักสูตรการออกแบบนิเทศศิลป์(CommDe) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   พร้อมเชิญชวนให้ผู้ชมมาสัมผัสกับเรื่องราวสารพันของผู้คนแปลกหน้า ในประสบการณ์ ของสีสัน แสง เสียง การแสดง และอื่นๆ อีกมากมาย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอศิลป์เจ้าฟ้า)   12 พฤษภาคม 2566 เวลา 17.00 – 20.00 น.  พิธีเปิดนิทรรศการพร้อมกิจกรรมพิเศษกับเหล่าคนแปลกหน้า (Strangers) 13 - 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 – 20.00 น. นิทรรศการเปิดให้เข้าชม   ข้อมูลการเดินทาง  Location https://goo.gl/maps/DmDkWgFLHezz1QR76 สถานที่จอดรถ: วัดชนะสงคราม https://goo.gl/maps/a9yqHecGLvBKK9iw5 อาคารรับฝากรถ กทม. https://goo.gl/maps/kTjR1XNSgBdj2krP9 รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT: สถานีสนามไชย / สถานีสามยอด ต่อ ตุ๊กตุ๊ก ทางเรือ: ท่าพระอาทิตย์   หมายเหตุ* วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 66 สามารถจอดรถได้ที่สำนักงานสรรพากรภาค 3 ตั้งแต่ 17.00 - 20.00 น. https://goo.gl/maps/d25Kuqyjxx9Cehfo7?coh=178571&entry=tt
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง