กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร

09 ตุลาคม 2561

ชื่นชอบ 577

11,228 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร เป็นอาคารเรือนไทยเก่าทรงปั้นหยา ที่ใช้จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ตั้งอยู่ในสำนักงานเขต พระนคร 

 

เดิมเรือนไทยทรงปั้นหยาหลังนี้เป็นของพระยาบริรักษ์ราชา หรือ เจ๊ก รัตนทัศนีย์ ท่านรับราชการในตำแหน่งนายตำรวจหลวงรักษาพระองค์ (กระทรวงวัง) มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึง รัชกาลที่ 7 ปัจจุบันเรือนปั้นหยาได้ถูกดัดแปลงนำมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่จะบอกเล่าเรื่องราวของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ สถานที่สำคัญๆ และชุมชนที่หลากหลายวัฒนธรรมของเขตพระนคร โดยการจัดแสดงแบ่งเป็นห้อง ๆ 

 

ห้องแรก จัดแสดงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของท้องถิ่น แสดงภาพการต่อตั้งกรุงธนบุรี ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จนมาเป็นกรุงเทพมหานคร วางตามตำราของพิชัยสงครามแบบนาค ส่วนที่เป็นพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นส่วนท้องนาค ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นศุนย์กลางของเมืองทั้งหมด

 

ห้องที่สอง จัดแสดงวิถีชีวิตในวังชุมชนสามแพร่ง คือ แพร่งนรา แพร่งสรรพศาสตร์ และแพร่งภูธร ถัดมาด้านข้างทางขวามือเราจะพบกับงานฝีมือวิจิตรของชุมชนชาววัง เช่นการร้อยพวงมาลัย การประดิษฐ์ งานแกะสลักผลไม้ต่างๆ 

 

ห้องด้านซ้ายมือ หน้าบันไดอาคารชั้น 2 จัดแสดงภาพบุคคลสำคัญที่มีที่พำนักอยู่ในเขตพระนคร เช่น โชติ แพร่พันธุ์(ยาขอบ) ผู้ประพันธ์นิยาย “ผู้ชนะสิบทิศ” ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐบุรุษอาวุโส นายเลื่อน พงษ์โสภณ ผู้ประดิษฐ์สามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก

 

ห้องข้างบันได เป็นห้องที่จัดแสดงภาพโบสถ์พราหมณ์ เทวสถานในศาสนาฮินดู รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นพร้อมเสาชิงช้า ตามอย่างประเพณีโบราณที่นิยมสร้างเทวาลัยอยู่ใจกลางเมืองเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีตรียัมปวาย และพิธีโล้ชิงช้าหนึ่งในพิธีกรรมของพิธีตรียัมปวาย ซึ่งเป็นพิธีที่ปฏิบัติกันในวันขึ้นปีใหม่ของศาสนาพราหมณ์ ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงเป็นภาพมัลติมีเดียให้ได้ชม อีกทั้งยังมีองค์จำลองของเทพ 3 องค์ ที่ประทับอยู่ในเทวสถาน คือ พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ เทพผู้คุ้มครองโลก หนึ่งในเทพที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ พระศิวะ หรือพระอิศวร เทพผู้สังหารและทำลายโลกต่างๆ และพระพิฆเนศวร หรือ คเณศ เป็นเทพที่มีอำนาจเหนืออุปสรรค และเป็นเทพที่ต้องได้รับการบูชาก่อนเทพองค์อื่น 

 

ชั้น 2 ห้องด้านซ้ายมือ จัดแสดงภูมิปัญญา และ วิถีชีวิตของชุมชนในเขตพระนคร เช่น ชุมชนบ้านบาตร ชาวบ้านในชุมชนนี้จะผลิตบาตรพระ แต่ปัจจุบันนี้มิได้ผลิตแล้ว และตอนนี้ตระกูลที่ผลิตบาตรพระได้ย้ายไปผลิตที่โคราชแล้ว 

 

บ้านสายรัดประคต ในตระกูลรามโกมุท ได้สืบสานการถักทอสายรัดประคตตั้งแต่โบราณมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ด้วยความประณีตในการถักทอ บ้านสายรัดประคตแห่งนี้มีโอกาสทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสายรัดประคตทรงเมื่อครั้งที่พระพระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัวทรงผนวช ถือว่าเป็นทั้งความภาคภูมิใจ และทั้งเกียรติประวัติของชุมชน

 

นอกจากนี้ยังแสดงย่านต่างๆ ที่อยู่ในเขตพระนคร เช่น ทุ่งสนามหลวง ย่านสังฆภัณฑ์ ย่านพาหุรัด ย่านบางลำภู ย่านสำเพ็ง ตลาดมิ่งเมือง พร้อมทั้งจำลองสิ่งของที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของย่านต่างๆ 

 

ห้องทางด้านขวามือ เป็นทางเดินเชื่อมต่อไปห้องพระ และห้องนอนของเจ้าของเรือนเดิม ห้องนี้จัดแสดงการคมนาคมทางน้ำ มีคลองรอบกรุงที่ขุดเพื่อเป็นคูเมืองของกรุงเทพฯ  เช่น  คลองบางลำภู คลองโอ่งอ่าง ภาพของเรือสุพรรณหงส์ และกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเจ้าของเรือนเดิมท่านเป็น 1 ใน 4 ของตำรวจหลวงผู้นำเสด็จ

 

ห้องก่อนถึงห้องพระของเจ้าของบ้านเดิม จัดแสดงเรื่องชุมชนบ้านพานถม แหล่งผลิตเครื่องถมต่างๆ ชุมชนวัดใหม่อมตรสกับการแทงหยวก ไว้ใช้ในพิธีงานศพ และยังแสดงถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สามารถผลิตเครื่องดนตรีไทย และผลิตภัณฑ์จากใบลาน สมุดใบลานโบราณ ผลิตภัณฑ์จากหวาย เป็นต้น

 

ห้องด้านในสุด แสดงเรื่องราวของท่านเจ้าของบ้านเดิม คือ พระยาบริรักษ์ราชา อีกทั้งยังเป็นห้องสมุดเล็กๆ เพื่อค้นคว้าเรื่องราวของเขตพระนครเพิ่มเติมอีกด้วย

 

 

บริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

อาคารเรือนไม้ปั้นหยา สำนักงานเขตพระนคร แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2282-8563

วันและเวลาทำการ

เปิดวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่ 09:00–16:30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถประจำทางสายที่ผ่าน 3, 30, 32, 33, 64, 65

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานสำหรับจอดรถ

6

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง