คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัฒนธรรมการแต่งกาย

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทย

ท่านผู้อ่านเคยทราบไหมว่า การเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของคนไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีความเป็นมาอย่างไร เช่น เสื้อผ้า หมวก รองเท้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของคนไทยมีขนบธรรมเนียม ความเชื่ออย่างไร

ชนชั้นนำไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีรูปแบบของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแต่งกายคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ยังเป็นคนที่มีชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยา เมื่อสร้างบ้านเมืองใหม่จึงได้รับรูปแบบของวัฒนธรรมที่คุ้นเคยกันมาปฏิบัติ ในเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมในสมัยอยุธยา เคยมีระเบียบและข้อห้ามสำหรับสามัญชนที่จะใช้เครื่องแต่งกายเลียนแบบเจ้านายไม่ได้ และมีข้อกำหนดว่าควรแต่งและไม่ควรแต่งอย่างไร จึงจะถูกต้องตามธรรมเนียมที่กำหนดไว้

“ความเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของชนชั้นนำไทยตั้งแต่พ.ศ. 2399-2490” เป็นงานวิจัยของผู้เขียนโดยมีพื้นฐานมาจากการใช้กระบวนการศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่ออธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของการแต่งกายของชนชั้นนำในสังคมไทย งานวิจัยนี้มีสมมติฐานว่า การเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของชนชั้นนำสยามเกิดขึ้นหลังจากทำสัญญาเบาว์ริง (Bowring) กับประเทศอังกฤษในพ.ศ. 2398 และชาติตะวันตกชาติอื่นๆ อีกหลายประเทศส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเป็นทวีคูณ “การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแต่งกาย” เช่นโปรดเกล้าฯให้เจ้านายและข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า และเลิกชายไว้ทรงผมมหาดไทย หญิงเลิกไว้ผมปีก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นทั้งด้านความสัมพันธ์ทางการทูตและการขยายตัวของห้างร้านที่สั่งสินค้าจากตะวันตกมาจำหน่าย เช่น ห้างจอห์นแซมสันแอนด์ซัน จากประเทศอังกฤษ (อาคารอนุรักษ์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของชนชั้นนำไทย เพราะถือว่าเป็น “ความศิวิไลซ์”อย่างหนึ่ง จึงรับเอาทัศนคติด้านการแต่งกาย “อย่างฝรั่ง” เข้ามา ในระยะแรกเป็นการดัดแปลงแบบตะวันตกผสมผสานกับการแต่งกายรูปแบบเดิม นับว่าราชสำนักเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลจากรัชกาลที่ 4 มาจนถึงรัชกาลที่ 7 ผู้ทรงปกครองมีพระราชประสงค์ที่จะปรับประเทศเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสตรีในราชสำนัก และเครื่องแบบข้าราชการ ทหารและพลเรือนนำความเป็นตะวันตกมาผสมผสานกับของไทยที่มีมาแต่เดิมมากขึ้นเป็นลำดับ

แต่มีข้อสังเกตว่าในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการปรับรูปแบบเครื่องแต่งกายให้เรียบง่ายและประหยัดขึ้น ตามพระราชนิยม และสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ครั้นในสมัยรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม ในพ.ศ.2484 ท่านผู้นำได้ออกรัฐนิยมฉบับที่ 10 เรื่องการแต่งกายในที่สาธารณะของราษฎรในเชิงบังคับ ซึ่งราษฎรได้ทำตามในที่สาธารณะ แต่เมื่อเลิกการบังคับใช้กฎหมาย ปรากฏว่าราษฎรได้เลิกสวมหมวก แต่ยังนิยมการนุ่งกางเกง กรณีของบุรุษ และการนุ่งกระโปรง กรณีของสตรี สรุปได้ว่า ผู้คนทั่วไปในสังคมไทยหันมาแต่งกายแบบตะวันตกชัดเจนขึ้น เมื่อมีการบังคับในเบื้องแรกบุรุษ และสตรีไทยยังมีการนุ่งโจงกันอยู่บ้าง ผ้าที่นิยมนุ่งคือ “ผ้าม่วง” [1] และ“ผ้าลาย” จนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการแต่งกายพลเรือน ในพ.ศ. 2478 ต่อด้วยยุค “มาลานำไทย” สมัยจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้แนวโน้มการแต่งกายมีวิวัฒนาการเป็นการนุ่งกระโปรง สวมกางเกง และสวมหมวก แบบตะวันตกมาจนทุกวันนี้

 

[1] ผ้าม่วง เป็นผ้าแพรชนิดหนึ่งซึ่งทอจากเส้นไหม ที่เรียกว่าผ้าม่วงเป็นเพราะแต่เดิมคงจะมีแต่สีม่วงมาก่อน แม้ว่าในระยะหลังจะมีสีอื่นอีกมากมาย ก็ยังคงเรียกว่า ผ้าม่วง ที่ขึ้นชื่อคือ “ผ้าม่วงเซี่ยงไฮ้” เป็นผ้าม่วงที่ส่งมากจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

84,111 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร