กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

25 กรกฎาคม 2565

ชื่นชอบ 784

66,778 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

เกิดจากความเห็นพ้องจากภาครัฐโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ภาคประชาสังคม เครือข่ายคนทำงานศิลป์และองค์กรทางศิลปวัฒนธรรม ที่ต้องการมีสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรม รวบรวมและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมในทุกแขนงสาขา หรือกล่าวได้ว่าหอศิลปฯ เป็นที่เติมเต็มแห่งสุนทรียะของเมืองกรุงเทพมหานคร

 

โดยกรุงเทพมหานครได้จัดสร้างอาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นอาคาร 9 ชั้น (ไม่นับรวมชั้นใต้ดิน) ในรูปลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและพร้อมด้วยอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ในการบริหารจัดการงานศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล

 

การจัดแสดงนิทรรศการ เน้นไปที่การจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนตามผลงานของศิลปินแขนงต่างๆ และร่วมกับองค์กรทางศิลปะนานาประเทศ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์ เสวนา และวรรณกรรม เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญ ทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ

www.bacc.or.th

บริหารจัดการ

มูลนิธิ/มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ศิลปะ

แผนที่

Map

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 939 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ : 02-214-6630-8
โทรสาร : 02-214-6639
เว็บไซต์ : http://www.bacc.or.th/
อีเมล : info.bacc.bkk@gmail.com

วันและเวลาทำการ

  • เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 20.00 น.

(หยุดทุกวันจันทร์ และช่วงวันหยุดปีใหม่และสงกรานต์)

  • สำนักงาน เปิดบริการ เวลา 09.30-18.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ยกเว้นการจัดกิจกรรมและการแสดงเป็นกรณีพิเศษ

การเดินทาง

  • รถประจำทางสาย  15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 47, 48, 50, 54, 73ก, 79, 93, 141, 159, 204
  • รถประจำทางปรับอากาศสาย  501, 508, 529
  • รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทางออกที่ 3
  • เรือสายในคลองแสนแสบ เส้นทางสะพานผ่านฟ้า ประตูน้ำ ขึ้นที่ท่าเรือสะพานหัวช้าง

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

  • ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ
  • ปุ่มกดลิฟท์สำหรับผู้พิการทางสายตา
  • มีลิฟท์บริการทุกชั้น และลิฟท์เฉพาะสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุให้บริการตรงทางเข้าชั้น 3

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถชั้นใต้ดินให้บริการ 2 ชั้น

  • ชั้นจอดรถ B1 สามารถจอดรถได้ 56 คัน
  • ชั้นจอดรถ B2 สามารถจอดรถได้ 62 คัน

 

 

32

แบ่งปัน

กิจกรรม

01 ก.พ. 2566

11 ก.พ. 2566

01 กุมภาพันธ์ 2566
ฝ่ายการศึกษา หอศิลปกรุงเทพฯ ร่วมกับ นวิน หนูทอง หนึ่งในศิลปิน BAB2022 จัดกิจกรรม “Looking into Aleaf” ชวนเด็ก ๆ มาทำความเข้าใจศิลปะผ่านนิทรรศการ โดยการนำชมจาก นวิน พร้อมกับจำลองสถานการณ์เสมือนได้ทดลองออกไปสำรวจ และค้นหาความจริงผ่านสายตาของตัวเอง และลองสวมบทเป็น ‘พระเจ้าตัวน้อย’  ร่วมกันออกแบบแผนที่เมืองอันเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์เรื่องราวตามจินตนาการ    โดยในกิจกรรมครั้งนี้ เด็ก ๆ จะได้สร้างสรรค์วัตถุโบราณคดีในแบบฉบับของตนเอง  ตลอดจนกล้าตั้งคำถามกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อความทรงจำและสำนึก ทั้งหลายของมนุษย์ รวมทั้งได้เรียนรู้วิธีการทำงานแบบกลุ่ม ฝึกฝนการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และแบ่งปันความคิดเห็นร่วมกันอีกด้วย    กิจกรรม “Looking into Aleaf” วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง Friends of bacc ชั้น 6   สมัครผ่าน Google forms:  https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdQiUZKJ6Ib-7_gJLhWICr0jo69AA5GmkXujCKloiUaxiF4GA/viewform?usp=sf_link (ปิดรับสมัครเมื่อครบ 30 ท่าน และแจ้งผลการลงทะเบียนผ่านอีเมล) **กิจกรรมเหมาะสำหรับเยาวชนอายุ 7 – 15 ปี และไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านศิลปะมาก่อน **ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ฝ่ายการศึกษา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โทร 02-2146630 ต่อ 519 Email: education@bacc.or.th

24 ม.ค. 2566

12 ก.พ. 2566

23 มกราคม 2566
แดนสนธยา ๓ นิทรรศการ ๘ ทศวรรษ ช่วง มูลพินิจ จัดแสดง: 24 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ 2566 สถานที่: สตูดิโอชั้น 4 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 20.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ และช่วงวันหยุดปีใหม่และสงกรานต์)   นิทรรศการ “แดนสนธยา ๓” เป็นการกลับมาจัดแสดงผลงานอย่างยิ่งใหญ่ในรอบ 4 ปี ของ ช่วง มูลพินิจ ศิลปินผู้ได้รับฉายาว่า “จิตรกรผู้มองเห็นมดยิ้มสวย” จากศิลปินแห่งชาติ  และนักเขียนผู้มีชื่อเสียงของไทย 'รงค์ วงษ์สวรรค์'   พิธีเปิดนิทรรศการ วันที่ 28 มกราคม 2566 โดย คุณชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดนิทรรศการ ในเวลา 14:00 น.  ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ห้องสตูดิโอชั้น 4 

16 ธ.ค. 2565

18 ธ.ค. 2565

09 ธันวาคม 2565
หอศิลปกรุงเทพฯ ชวนคุณชมงานอาร์ตยามค่ำคืน NIGHT AT THE MUSEUM  16 - 18 ธันวาคม 2565    มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้ นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “สืบมรรคาทัศนาทั่วไทย” ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  จัดแสดงภาพถ่ายที่ทรงบันทึกไว้ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ต่างๆ ระหว่างปี 2565 นิทรรศการ Bangkok Art Biennale 2022 : เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ภายใต้ธีม "โกลาหล : สงบสุข" บนพื้นที่นิทรรศการหลัก ชั้น 7 - 8 นิทรรศการ Colorful Platter : นิทรรศการกลุ่มรวบรวมผลงานของ 6 นักวาดไทย กิจกรรม "We are Santa" ชวนชมต้นสนสดนำเข้าจากแคนาดา และส่งต่อความสุข ต้อนรับเทศกาลแห่งอันแสนอบอุ่น เพื่อร่วมบริจาครายได้ทั้งหมดมอบให้มูลนิธิ ช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย    **ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ FB: Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

02 พ.ย. 2565

27 พ.ย. 2565

31 ตุลาคม 2565
นิทรรศการ "สุนทรียภาพแห่งความน่ากลัว" โดย ดร.นภัส กังวานนรากุล   นิทรรศการที่จัดแสดง การรับรู้ความงามที่อยู่เหนือความงามตามปกติ ด้วยกลวิธีของการสร้างภาพจินตนาการภูตผีปีศาจ  นำองค์ความรู้สร้างสรรค์ผลงานของการรับรู้ความงามของภูตผีปีศาจ  ในรูปแบบของการนำลักษณะความน่าเกลียดน่ากลัวของผี และความน่ารักที่เป็นคู่ตรงข้าม มาร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน จนกลายเป็นผีที่มีรูปร่างที่สวย  มีความร้ายรั้น อยู่ในบริบทบนพื้นที่สมมติของโลกหลังความตาย . จัดแสดงวันที่ 2 - 27 พฤศจิกายน 2565 ชั้น 2 ห้อง People Gallery P3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เวลา 10.00 - 19.00 น. (ปิดวันจันทร์)

05 ส.ค. 2565

07 ส.ค. 2565

02 สิงหาคม 2565
ชวนดูหนัง 2 สารคดีเปิดบันทึกวิถีชาติพันธุ์พื้นเมือง ที่เผชิญความท้าทายกับกติกาโลกสมัยใหม่ อนาคตพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงไปทิศทางใด?   วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 15.00 - 16.00 น. เรื่อง “สำรับชาติพันธุ์” เรื่องราวของกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ จ.เชียงใหม่ และชาวอูรักลาโว้ย เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล เป็นตัวแทนสะท้อนวิถีชีวิตดั้งเดิมของ กลุ่มชาติพันธุ์กับกติกาโลกสมัยใหม่ จะเดินไปพร้อมกันอย่างไร อาจขึ้นอยู่กับโอกาส และจะมีส่วนร่วมออกแบบชีวิตตัวเองแค่ไหน ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อชมสารคดีได้ที่ https://forms.gle/71aTPxT5SPjGUPao8   วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00 - 12.00 น. เรื่อง “มันนิ: ใต้ป่าภูผาเพชร" เปิดบันทึกชาติพันธุ์แห่งผืนป่าเทือกเขาบรรทัดของ ชาวมันนิกลุ่มภูผาเพชร มันนิเร่ร่อนกลุ่มท้าย ๆ ที่ยังคงวิถีการใช้ชีวิตในป่า กับความท้าทายจากโลกภายนอกในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า ชาวมันนิกลุ่มภูผาเพชรจะยังมีโอกาสได้ใช้ชีวิตตามวิถีเดิมในผืนป่า หรือเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด แล้วทางออกที่ดีที่สุด คือทางไหน? ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน! ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ลงทะเบียนล่วงหน้า https://forms.gle/ja2FwdC9W68FApou9   สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมอื่น ๆ ได้ที่ https://bit.ly/3brD77g ดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ได้ทาง https://theactive.net/topic/indigenous/
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง