คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

การแสดงตีกลองบูชา

ศิลปะการแสดงตีกลองบูชา (กลองปู่จา) จังหวัดน่าน

     กลองบูชา หรือกลองปู่จา มีประวัติและความเป็นมา ไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นในสมัยใด รู้แต่เพียงว่าเป็นกลองโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งได้มีการพัฒนารูปร่าง และลักษณะการตีของกลองมาอย่างต่อเนื่อง โดยจากกลองใบใหญ่ใบเดียวที่ใช้ตีเป็นเครื่องส่งสัญญาณในการโจมตีข้าศึกของกองทัพในเวลาสงคราม ตีส่ง สัญญาณบอกข่าวแก่ชุมชน ใช้เป็นเครื่องดนตรีมหรสพเป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ และความสนุกสนาน ฯลฯ

     วิธีตีหรือจังหวะการตี เรียกว่า “สะบัดชัย” กลองชนิดนี้ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลองสะบัดชัย เมื่อไม่มี การรบทัพจับศึก ก็ได้พัฒนาทั้งรูปร่างลักษณะจังหวะการตีและได้นำมาอยู่กับฝ่ายศาสนจักรใช้ในพิธีกรรม ทางศาสนา เรียกว่า กลองบูชา ก๋องปู่จา หรือ กลองปู่จา ต่อมาได้พัฒนาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การตี เพื่อให้เกิดความบันเทิงสนุกสนาน ตามงานบันเทิงต่างๆ สามารถพบเห็นได้ในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านโดยทั่วไป กลองบูชาใช้ตีได้หลายโอกาสทั้งในพิธีกรรมทางศาสนาและงานต่าง ๆ ของชาวบ้าน และ งานพิธีเปิดของทางราชการ กลองบูชา (กลองปู่จา) เป็นกลองของคนเมืองน่าน ที่ใช้ตีเป็นพุทธบูชา ซึ่งเป็นกลองประจำวัดและอยู่คู่กับพุทธศาสนาในเมืองน่านและถิ่นล้านนามาช้านาน ทั้งนี้เป็นกลองที่มีความสำคัญในระดับหมู่บ้านและระดับเมือง เพราะเป็นกลองตีบอกสัญญาณต่าง ๆ อาทิ บอกเหตุข้าศึกเข้าโจมตีเมือง น้ำท่วม ไฟไหม้ เรียกประชุม บอกเวลา บอกเหตุสำคัญที่เกิดขึ้นในวัด หรือบอกเหตุในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

    ขณะเดียวกันในอดีตกลองชนิดนี้ ยังมีบทบาทต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้กับพุทธศาสนาเท่านั้น ยังคงใช้เป็นสัญญาณบอกให้คนในชุมชนได้รับรู้อาทิ หากอยู่ในช่วงศึกสงครามได้ยินเสียงตีกลอง บูชา (กลองปู่จา) รัวเร็ว เป็นสัญญาณบอกว่าข้าศึกบุกเข้าเมือง ในช่วงเวลาปกติได้ยินเสียงตีกลองรัวเร็วเป็นสัญญาณว่า อาจเกิดเหตุไฟไหม้ที่วัดหรือในหมู่บ้านหรือในเมือง โจรปล้นบ้านหรือเมือง หากอยู่ในช่วงฤดู ฝน ก็เป็นสัญญาณบอกเหตุน้ำท่วม เป็นต้น

 

ข้อมูลจาก : นางจริยา จีนเพชร นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน

ข้อมูลติดต่อ : โทรศัพท์ 054 711650-1  http://www.m-culture.go.th/nan

8,419 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร