กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง

พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง

11 มิถุนายน 2563

ชื่นชอบ 1,016

7,460 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง ตั้งอยู่บนชั้น ๒ ของอาคารศาลปกครอง มีพื้นที่จัดแสดง ๑๘๗.๒๐ ตารางเมตร และเปิดให้บริการแก่ผู้สนใจเข้าชมตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ เป็นต้นมา โดยจัดสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวของศาลปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของไทย สำหรับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ข้าราชการและประชาชน ตลอดจนชาวต่างประเทศที่สนใจ

 

พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง เป็นแหล่งเรียนหนึ่งของศาลปกครอง ที่มีข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการจัดตั้งศาลปกครองในประเทศไทย ซึ่งมีประวัติยาวนานกว่า ๑๐๐ ปี นับจากจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่จัดให้มีองค์กรพิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๔๑๗ ที่ทรงจัดตั้งเคาน์ซิลออฟสเตด ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น และมีพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นศาลปกครองในปัจจุบัน 

 

แนวคิดการจัดทำพิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง นำเสนอเรื่องราวโดยใช้ “การจารึก” (Inscription) เป็นแนวคิดหลัก เปรียบเสมือนการจดจารเรื่องศาลปกครองลงบนหน้ากระดาษของประวัติศาสตร์ชาติไทย ผู้เข้าชมจะได้พบกับเทคโนโลยีการจารึกหลากหลายชนิด เช่น การแกะสลักบนหิน โลหะ การกัดกรด การพ่นทราย การเผาด้วยความร้อน และการฉลุด้วยเลเซอร์ รูปแบบการจารึกที่เปลี่ยนไปเป็นสัญลักษณ์แทนการเคลื่อนที่ของกาลเวลาจากยุคหนึ่งไปสู่ยุคหนึ่ง จากอดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมสามารถรับรู้เรื่องราวของศาลปกครองไปพร้อมกับได้สัมผัสงานศิลปกรรมที่น่าประทับใจหลากหลายประเภท

 

พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

 

๑. ร้องทุกข์ถวายฎีกา เป็นการบอกเล่าเรื่องราวการร้องทุกข์ของประชาชนต่อผู้ปกครองประเทศซึ่งมีรูปแบบการร้องทุกข์แตกต่างกันตามยุคสมัย เช่น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ใช้วิธีการสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ ในสมัยอยุธยาใช้วิธีร้องเรียนต่อเจ้าขุนมูลนายหรือร้องเรียนต่อพระมหากษัตริย์ผ่านเจ้าขุนมูลนายที่ตนสังกัด และในสมัยรัชกาลที่ ๓ ใช้วิธีตีกลองร้องทุกข์(กลองวินิจฉัยเภรี) เป็นต้น

 

๒. ที่ปฤกษาแห่งแผ่นดิน  การร้องทุกข์ของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาประเทศในหลายๆ ด้าน จึงทรงแต่งตั้ง “เคาน์ซิลออฟสเตด” หรือ คณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การพิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อนเช่นเดียวกับสภาแห่งรัฐ (
conseil d’Etatหรือ council of state) ของประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่การจัดตั้งศาลปกครองในปัจจุบัน

 

๓. เรื่อง “ปกครอง” ในวันวาน  การจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง เพื่อทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาท
ทางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชน ได้เริ่มภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ และได้มีการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้นมาหลายองค์กร และพัฒนามาเป็นศาลปกครองในปัจจุบัน

 

๔. ปฐมกาลแห่งศาลปกครองไทย ความสำเร็จจากการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ส่งผลให้มีสำนักงานศาลปกครอง ทำหน้าที่หน่วยงานธุรกิจของศาลปกครอง และสำนักงานศาลปกครองเริ่มเปิดทำการ โดยเช่าอาคาร Exim ชั้น ๒๒ – ๒๓ ถนนพหลโยธิน ต่อมากลางปี พ.ศ.๒๕๔๓ ได้เช่าอาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ชั้น ๓๑ ๓๗ และชั้น ๔๓ ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ เป็นที่ทำการชั่วคราว

 

๕. ศักราชใหม่แห่งความยุติธรรม  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้กำหนดให้มีการจัดตั้ง “ศาลปกครอง” แยกต่างหากจากศาลอื่น และเปิดทำการเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมเกี่ยวกับข้อพิพาททางปกครองแก่คู่กรณีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม  

 

๖. สยามร่มเย็น แผ่นดินเป็นสุข นับตั้งแต่เปิดทำการศาลปกครอง พ.ศ.๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน
ศาลปกครองได้เปิดทำการแล้วรวมจำนวน ๑๔ แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ มีอำนาจหน้าที่และเขตอำนาจของแต่ละชั้นศาล  ทำให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนไม่ว่าอยู่แห่งหนใด สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยสะดวก

 

๗. ทั่วถิ่นทุกข์ ใกล้ไกลได้พึ่งพา  อีกภารกิจหนึ่งของศาลปกครอง คือ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ
ศาลปกครอง กฎหมายปกครอง และบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชน ผู้นำชุมชนและสื่อมวลชน เพื่อให้เข้าใจอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองมากยิ่งขึ้น

 

๘. สานสัมพันธ์เดินหน้าสู่สากล ศาลปกครองได้พัฒนาทางด้านวิชาการ โดยร่วมมือกับรัฐบาลและหน่วยงานในต่างประเทศ ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์กับนานาประเทศ งถือเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ศาลปกครองดำเนินการมาโดยตลอด ทั้งในรูปแบบของการพัฒนาวิชาการด้านกฎหมายปกครอง ด้านบุคลากร และการสร้างบรรทัดฐานการพิจารณาคดีปกครองให้อยู่ในระดับสากล 

 

๙. แม้ผ่านพ้นวันใดได้จดจำ ปิดท้ายการเข้าชมด้วยการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในบรรยากาศของพิพิธภัณฑ์ศาลปกครองจาก Photo booth พร้อมส่ง e-mail ให้ผู้เข้าชมได้นึกถึงวันหนึ่งที่ได้มาเยือน “พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง”

 

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 อาคารศาลปกครอง ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทรศัพท์ : 02-141 0662
โทรสาร : 02-143 9842
เว็บไซต์ : http://www.admincourt.go.th/admincourt/site/10courtmuseumdetail-52.html
อีเมล : museum@admincourt.go.th

วันและเวลาทำการ

เปิดจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 08:30-16:30 น. เว้นวันหยุดราชการ

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถประจําทางสาย 52, 150, 356, 166

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานสำหรับจอดรถ

2

แบ่งปัน

กิจกรรม

23 พ.ย. 2564

30 พ.ย. 2564

17 พฤศจิกายน 2564
พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศาลปกครอง ผ่านเทคโนโลยีหลากหลายชนิด  และเตรียมพบกับ ความรู้ใหม่ที่จะเกิดขึ้น กับรูปแบบการเล่าเรื่องของสถานที่ สำคัญของศาลปกครอง ผ่านสถาปัตยกรรม   ช่องทางการติดตาม Facebook : พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง ติดต่อสอบถาม โทร 0 2141 0662

01 พ.ค. 2563

29 เมษายน 2563
ข่าวประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง สำนักหอสมุดกฎหมายมหาชน Work From Home เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของศาลปกครอง ผ่านวีดิโอ    วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม  63 พบกับ ตอนที่ 4 "การจัดตั้งศาลปกครองตามพระราชบัญญัติศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542"  คลิก https://www.youtube.com/watch?v=Oeg7G-I8MgQ    

20 เม.ย. 2563

31 ธ.ค. 2563

22 เมษายน 2563
แม้จะ WFH อยู่ที่บ้านเพื่อนๆ ก็จะไม่พลาดการเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของศาลปกครอง เชิญชมพิพิธภัณฑ์เสมือนของพิพิธภัณฑ์ศาลปกครองได้ที่   www.admincourt.go.th/vmuseum
pav

/

next