กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์สุริยานุวัตรเพื่อการพัฒนาประเทศ

พิพิธภัณฑ์สุริยานุวัตรเพื่อการพัฒนาประเทศ

09 พฤษภาคม 2566

ชื่นชอบ 233

7,233 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศ ตั้งอยู่ในอาคารสุริยานุวัตร ริมคลองผดุงกรุงเกษม บ้านเดิมของมหาอำมาตย์เอกพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ผู้ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาประเทศไทยหลายประการ ปัจจุบันคือ ที่ทำการของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)

 

ภายในพิพิธภัณฑ์ได้จัดทำเนื้อหาจัดแสดงนิทรรศการเป็น 7 โซน ดังนี้

 

1. แสงแรก : เมื่อสยามเริ่มปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่หลังสนธิสัญญาเบาว์ริง ขณะนั้นสยามยังขาดแคลนนักคิดด้านเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่เพื่อรับมือกับเหตุการณ์เช่นนี้ 50 กว่าปีหลังจากนั้น สยามจึงมีตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกโดยพระยาสุริยานุวัตร คือ “ทรัพยสาตร์” นั่นจึงเป็น “แสงแรก” ของการเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ของไทย

 

2. แสงกำเนิด : เมื่อการเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีหน่วยงาน “หัวกะทิ” เพื่อการนี้ 2493 จึงเป็นปีที่ “แสงกำเนิด” ขึ้นเป็น สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ก่อนจะมาเป็น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปัจจุบัน

 

3. แสงนำทาง : บทบาทสำคัญของสภาพัฒน์ฯ คือ วางรากฐานการพัฒนาประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อปูพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม และออกแบบกระบวนทรรศน์ใหม่สำหรับอนาคตเพื่อเป็น “แสงนำทาง” ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศ ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาแล้ว 12 ฉบับ

 

 

4. แสงในโลกมืด : วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสภาพัฒน์จนถึงปัจจุบัน สภาพัฒน์เข้าได้เข้าไปมีบทบาทในการร่วมแก้ไขสถานการณ์ในขณะนั้นให้ผ่านพ้นด้วยดี ด้วยการปรับแผนและกำหนดแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เห็นว่าทุกวิกฤตนั้นย่อมต้องอาศัย “แสงนำทาง” ฝ่าความมืดออกไปเสมอ

 

5. แสงจากฟ้า : 2540 นับเป็นปีที่หนักที่สุดครั้งหนึ่งของคนไทย เศรษฐกิจไทยตกลงไปในเหวที่มืดที่สุด คนทั้งโลกเรียกมันว่า “ต้มยำกุ้ง” เวลานั้นคนไทยได้อาศัย “แสงจากฟ้า” โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแนวทางการดำรงอยู่ ประเทศไทยจึงค่อย ๆ กลับเข้าสู่แสงสว่างอีกครั้ง

 

6. แสงสู่อนาคต : เมื่อโลกเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่อย่างเต็มตัว การค้ารูปแบบเก่าจำนวนมากไม่สามารถไปต่อได้ ในขณะที่ธุรกิจรูปแบบใหม่ต่างโตวันโตคืน การเศรษฐกิจยุคใหม่จึงต้องการพิมพ์เขียวเป็น “แสงสู่อนาคต”  เพื่อการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

7. แสงแห่งปัญญา : ห้องค้นคว้าหนังสือ “เฉพาะทาง” เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและสังคม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับเต็ม และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เป็น “แสงแห่งปัญญา” สำหรับเติมเต็มความรู้ ความคิด ให้สามารถเท่าทันเศรษฐกิจและสังคมในทุกความเปลี่ยนแปลง

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ตำรา "ทรัพสาตร์" ตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของประเทศไทย

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทรศัพท์ : 0 2281 7582 และ 0 2280 4085 ต่อ 2105, 2108-2116
อีเมล : pr@nesdc.go.th

วันและเวลาทำการ

เปิดให้เข้าชม วันจันทร์-วันศุกร์

เวลา 8.30-16.30 น.

x ยกเว้นวันหยุดและวันนักขัตฤกษ์ x

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 8, 44, 53, 59, 60, 79, 183, 511, 512 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อที่

กลุ่มประชาสัมพันธ์และห้องสมุดสุริยานุวัตร  สศช.

โทร. 0 2281 7582 , 0 2280 4085 ต่อ 2108-2116

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ

7

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง