กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

29 กรกฎาคม 2560

ชื่นชอบ 467

7,433 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นหอจดหมายเหตุศาสนธรรม (Religious Archives) จัดตั้งภายใต้มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ซึ่งได้จดทะเบียนมูลนิธิกับกรุงเทพมหานคร ทะเบียนเลขที่ กท ๑๕๙๘ ที่ทำการเก็บรักษา อนุรักษ์ ศึกษาค้นคว้าและเผยแผ่ผลงานของท่านพุทธทาสฯ ให้แพร่หลาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงหัวใจของศาสนา ตามปณิธาน ๓ ประการของท่านพุทธทาส ได้แก่

๑. พยายามทำตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน

๒. พยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา

๓. พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำนาจของวัตถุนิยม 

 

ความเป็นมา

ตลอดช่วงชีวิต ๘๗ ปี ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๔๙-๒๕๓๖ ของท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านได้ศึกษาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรม อย่างสม่ำเสมอและแพร่หลาย มีผลงานการเผยแผ่รูปธรรมและประจักษ์พยานอย่างมาก ไม่เฉพาะเพียงที่สวนโมกขพลาราม และ คณะธรรม ทานเท่านั้น เกิดการเคลื่อนไหวใหม่ในสังคม และแวดวงศาสนา อย่างต่อเนื่องกว้างขวางมากมาย สืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน ได้รับการยอมรับนับถือทั่วไปทั้งในระดับ ท้องถิ่น ประเทศ และสากล ไม่จำเพาะเฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้นหลังมรณกรรมของท่านแล้ว สวนโมกขพลารามคณะธรรมทานและ คณะศิษยานุศิษย์ ตลอด จนกลุ่มผู้สนใจใฝ่ศึกษาปฏิบัติ ได้ประมวลรวบรวมสิ่งศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหลายของท่านไว้ สิ่งศึกษาเรียนรู้ ทั้งหมดนี เป็นมรดกทางปัญญาอันยิ่งใหญ่ สมควรจัดเก็บอนุรักษ์ไว้ให้เป็นระบบเพื่อความสะดวก ในการสืบค้นเพื่อเผยแผ่ และเป็น ประโยชน์เกิดสันติสุขแห่งมวลมนุษยชาติ

ในเบื้องต้นจากการสำรวจเอกสาร สิ่งพิมพ์ ภาพ แถบเสียงโสตทัศน์ และวัตถุสิ่งของต่างๆ ของท่านพุทธทาส มีปริมาณเบื้องต้นมากกว่า ๒๗,๓๔๗ รายการ ซึ่งในปัจจุบันทุกอย่างอยู่ในสถานภาพที่เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพ ควรได้รับการอนุรักษ์ รักษาอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ทางสวนโมกขพลาราม คณะธรรมทาน ตลอดจนคณะผู้ศึกษาและ ศรัทธาในท่านจะได้พยายามดำเนินการต่างๆ เพื่อจัดเก็บ รักษาและอนุรักษ์ แต่ก็พบว่ายังไม่สามารถดำเนินการให้ได้ดีและสมบูรณ์ สมกับคุณค่าของงานต่างๆ ที่มีอยู่ และพบว่าเกินกำลังและวิสัยของวัด มูลนิธิและอาสาสมัคร ด้วยเหตุนี้คณะผู้ศรัทธาอันประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญงานจดหมายเหตุ ผู้เชี่ยวชาญงานระบบ ฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญงานสถาปัตยกรรม อาสาสมัคร และผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ โดยความเห็นชอบของ สวนโมกขพลารามและคณะธรรมทาน ได้ร่วมกันวางแนวทางในการจัดตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ซึ่งเป็นหอจดหมายเหตุศาสนธรรม (Religious Archives) เพื่อทำการเก็บรักษา อนุรักษ์ ศึกษาค้นคว้าและเผยแผ่ผลงานของท่านพุทธทาสฯ ให้แพร่หลาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงหัวใจของศาสนา ตามปณิธาน ๓ ประการของท่านพุทธทาส โดยได้เปิดดำเนินการในปี ๒๕๕๓

การดำเนินงาน มีพระภาวนาโพธิคุณ (โพธิ์ จันทสโร) และ นายเมตตา พานิช เป็นที่ปรึกษา และมีคณะทำงานอาสาสมัครฝ่ายต่างๆ ทั้งจากสวนโมกข์ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ภาคพัฒนา ภาควิชาการ และภาครัฐ ในเบื้องต้นประกอบด้วย คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานจดหมายเหตุ, คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานระบบฐานข้อมูล, คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ งานสถาปนิก, อาสาสมัครสนับสนุนการประสานงานและบริหารจัดการ, อาสาสมัครสนับสนุนการประสานงานทางกฎหมาย, อาสาสมัครสนับสนุนการจัดระบบงานทางบัญชี, อาสาสมัครงานสวนโมกข์ และ อาสาสมัครกิจกรรมสนับสนุน

 

วัตถุประสงค์

๑. เป็นศูนย์การเรียนรู้และสถานบริการด้านศาสนธรรมอันรื่นรมย์ เป็นกำลังเพื่อการบรรลุธรรมลักษณะ SPIRITUAL FITNESS & EDUTAINMENT CENTER

๒. สืบสานงานพระพุทธศาสนา ผ่านงาน ปณิธาน และอุดมการณ์ของพุทธทาสภิกขุ ในการนำพาความถูกต้องและสันติสุขทั้งทางกาย จิตใจ และปัญญา ให้กลับคืนสู่สังคมมนุษยชาติ ด้วยการเข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา การทำความเข้าใจกันระหว่างศาสนิกชนและการออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม จนเป็นพุทธทาสกันได้ทุกคน - ผู้รับใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติให้ดู เป็นอยู่ให้เห็น จนผู้อื่นพากันทำตาม และเป็นสวนโมกข์ได้ทุกที่ - บุญสถานเพื่อการบรรลุธรรม

๓. ทำหน้าที่รวบรวม ดูแล รักษา และจัดระบบบริการสืบค้นมรดกธรรม เอกสารข้อเขียนต้นฉบับต่าง ๆ ของพุทธทาสภิกขุ ตลอดจนการให้บริการสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาเผยแผ่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนธรรม การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสติปัญญาและจิตใจให้เจริญจนกล้าแข็งในความถูกต้องดีงาม จนเป็นผู้สงบ เย็น และเป็นประโยชน์ มีศักยภาพในการเป็นผู้อยู่ใน ใจเหนือ และเกื้อโลก ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

 

บริหารจัดการ

มูลนิธิ/มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) ถนนนิคมรถไฟสาย 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : 02-936-2800
โทรสาร : 02-936-2900
เว็บไซต์ : http://www.bia.or.th
อีเมล : info@bia.or.th

วันและเวลาทำการ

ทุกวัน เวลา 09.00 -18.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีพหลโยธิน ทางออกที่ 3 หรือ สถานีจตุจักร ทางออกที่ 1 และ 2 รถไฟฟ้า BTS สถานีหมอชิต

รถประจำทาง สาย 3, 8, 26, 27, 28, 34, 38, 39, 44, 63, 90, 96, 104, 112, 134, 138, 52, 521, ปอ.พ 11, 550 โดยรถยนต์ส่วนตัว ใช้ถนนวิภาวดีรังสิต

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

3

แบ่งปัน

กิจกรรม

05 ต.ค. 2564

04 ตุลาคม 2564
เด็กสวน(โมกข์) ​รายการใหม่ของ Clubhouse สวนโมกข์กรุงเทพฯ  เปิดพื้นที่ใหม่ ๆ ให้กับคนที่ทั้งสนใจเรา และไม่เคยสนใจเรา ให้ได้ลองมาต๊าซซซกับสวนโมกข์ คำสอนของพุทธทาสภิกขุ และธรรมะของพระพุทธเจ้า ​ ​ ​ ตอนที่ ๑ สวนโมกข์ สวนใจ ใครไปก็ต๊าซซซซซซ​ มาหาคำตอบกันว่า พส. (พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ) ได้รับแรงบันดาลใจอะไรจาก พทภ. (พุทธทาสภิกขุ)​ ​​Moderator : นพ.บัญชา & คุณเวลา​   วัน : อังคารที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔​ เวลา : ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.​   โดยเราวาดหวังว่า "มันจะเป็นพื้นที่กลางสำหรับสนทนา  และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้" ​ เป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า  หรือ Oral History ที่เกี่ยวกับประสบการณ์การไปเยี่ยมสวนโมกข์  ( ทั้งไชยาและกรุงเทพ ) หรือประสบการณ์และแรงบันดาลใจ ที่ได้รับจากพุทธทาสภิกขุ​ ​ ช่องทางการรับฟัง ​ clubhouse สวนโมกข์กรุงเทพฯ https://www.clubhouse.com/event/xkJpVkK1 ​ หากพลาดรายการสด สามารถฟังย้อนหลังได้ที่​ Youtube : หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ​ https://www.youtube.com/c/buddhadasaarchives/

28 ก.ย. 2562

27 กันยายน 2562
เนื่องในชาตกาล ๙๐ ปี อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้ได้รับฉายา “ตู้พระไตรปิฎก เคลื่อนที่” ขอเชิญฟังเสวนา ๒ เสวนา   วันเสาร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. หัวข้อ "ฆราวาสมุนีกับการปฏิบัติธรรมในวิถีชาวบ้าน" ณ สโมสรธรรมทาน ชั้น ๑  หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ร่วมเสวนาโดย - อาจารย์ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - สุธาวัชร์ ปานเงิน แอดมินเฟซบุ๊กแฟนเพจ เสถียร โพธินันทะ - นริศ จรัสจรรยาวงศ์ ดำเนินรายการ     วันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๒  หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น. ลงทะเบียน ๑๓.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. บทเพลงแห่งอารยธรรมมังกร โดย น้ำทิพย์ กู่เจิ้ง ๑๔.๐๐ – ๑๔.๕๐ น. ปาฐกถา"เปิดประตูสู่พุทธศาสนามหายาน" โดย อ.เศรษฐพงษ์ จงสงวน ๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. เสวนา "การขับเคลื่อนขบวนการพุทธศาสนาในยุคกึ่งพุทธกาล" ร่วมเสวนาโดย - พระไพศาล วิสาโล - นายอนุรุธ ว่องวานิช - นพ.บัญชา พงษ์พานิช - นายนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ๑๗.๐๐ – ๑๗.๒๐ น. สรุปปิด โดย ศ.ดร. สุวรรณา สถาอานันท์   **สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ : หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ : Buddhadasa Indapanno Archives
pav

/

next