กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน

พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน

22 กุมภาพันธ์ 2565

ชื่นชอบ 0

8,010 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน บ้านไม้สีครีม 3 ชั้น ก่อตั้งขึ้นโดย คุณนาวินี พงศ์ไทย เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลชุมชนชาวสยาม-โปรตุเกส ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน และเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา ศาสนาและรากเหง้าของชาวชุมชน

ภายในบ้าน 3 ชั้น แบ่งเป็น

  • ชั้นที่ 1 ร้านกาแฟและร้านขายของที่ระลึก
  • ชั้นที่ 2 จัดแสดงนิทรรศการ “กำเนิดสยามโปรตุเกส” บอกเล่าประวัติศาสตร์ของชาวโปรตุเกสตั้งแต่เข้ามาสยามครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาผ่านแผนที่เส้นทางเดินเรือ กว่า 500 ปี ที่ชาวโปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรก ที่เข้ามาค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติสยาม ร่วมรบในกองทัพสยาม จนได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งชุมชนชาวโปรตุเกส และโบสถ์คริสต์ศาสนาขึ้นที่อยุธยา ต่อเนื่องถึงธนบุรี สืบเชื้อสายชาวสยามโปรตุเกส มาเป็น ชุมชนกุฎีจีน ในปัจจุบัน

จุดเด่น คือ การจำลองหัวเรือกำปั่นและข้าวของเครื่องใช้ที่ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาด้วย รวมทั้งอิทธิพลของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมโปรตุเกสที่มีต่อสยาม ทั้งการก่อสร้าง ภาษาทางการทูตและการค้า การทหาร การแพทย์ อาชีพ รวมถึงคำศัพท์โปรตุเกสในภาษาไทย เช่น กาแฟ(Cafe) ชา(Cha) หรือจะเป็นบรรดาพืชพรรณที่โปรตุเกสนำเข้ามาในสยาม เช่น พริก มะละกอ ข้าวโพด ฟักทอง สับปะรด น้อยหน่า มะเขือเทศ เป็นต้น

 

  • ชั้นที่ 3 แบ่งเป็น 2 โซน โซนแรก “กำเนิดกุฎีจีน” เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งเมืองธนบุรี จึงโปรดให้ฝรั่งเชื้อสายโปรตุเกสที่เคยร่วมรบในสงครามกู้เอกราช รวมกันตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำใต้คลองกุฎีจีน และได้พระราชทานที่ดินให้ตั้งเป็นชุมชนโปรตุเกส และในตู้มีการจัดคัมภีร์โบราณ อาวุธปืนที่ใช้ในสมัยก่อน และหนังสือตำราสวดภาวนา

โซนสอง จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ อาทิ มุมเตียงนอนสมัยก่อน มุมแสดงผืนผ้าสามวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ผ้าคลุมร่วมมิสซา” โดยทำจากผ้าจีน และมีวิธีการพับจับจีบและอบร่ำแบบไทย ซึ่งสตรีคริสตังดั้งเดิมจะนำติดตัวเมื่อไปวัด หรือไปร่วมพิธีมิสซาด้วยเสมอ จุดเด่นของชั้นนี้ คือ โต๊ะอาหารจำลองอาหารจานเด่นของชาวโปรตุเกส เช่น ดัมมะฝ่า หมูอบมันฝรั่ง สตูลิ้นวัว เป็นต้น

  • ชั้นดาดฟ้า สามารถขึ้นไปชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา โบสถ์วัดซางตาครู้ส  วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารศาลเจ้าเกียนอันเกง วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

 

บริหารจัดการ

เอกชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

โมเดลจำลองโบสถ์ซางตาครู้ส ในอดีตมีรูปแบบอาคารทรงจั่วแบบศิลปะไทย ผสมผสานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นกับความเชื่อทางศาสนาคริสต์

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

271 ซอยเทศบาล 1 ถนนวัดกัลยา แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
โทรศัพท์ : 081 772 5184
เว็บไซต์ : https://baankudichinmuseum.com/
อีเมล : baankudichinmuseum@gmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 09:30-18:00 น.

(ปิดวันจันทร์)

การเดินทาง

-ทางเรือ:

  • เรือด่วนเจ้าพระยา ธงส้ม ลงท่าวัดอรุณ(ท่าเรือชั่วคราว) หรือท่าสะพานพุทธ ข้ามสะพานพุทธลงฝั่งวัดประยุรฯ เดินเลียบแม่น้ำมาวัดซางตาครู้ส
  • เรือข้ามฟาก ท่าตลาดยอดพิมาย-ท่าวัดกัลยาณมิตรฯ เดินเลียบแม่น้ำมาวัดซางตาครู้ส

-รถส่วนตัว: ใช้เส้นทางถนนอรุณอมรินทร์ซอย 4 จอดรถที่วัดกัลยาณมิตรฯ

-รถประจำทาง: สาย 8 สุดสายสะพานพุทธ ข้ามสะพานพุทธไปวัดประยุรฯ เดินมาวัดซางตาครู้ส

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

ติดต่อประสานงานล่วงหน้ากรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ

1

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

16 ธันวาคม 2564
136,452
1,148