กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา

แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา

26 กันยายน 2561

ชื่นชอบ 518

12,744 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

“แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา”

Thonburi Learning Center

              สืบเนื่องจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อันเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและดำเนินงานด้านการทำนุบำรุง อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ย่านฝั่งธนบุรี ในแง่ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และสังคม ประกอบกับปัจจุบัน สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีฐานข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับย่านธนบุรีเป็นจำนวนมาก จึงเล็งเห็นว่าควรดำเนินการจัดทำโครงการก่อสร้างและปรับปรุง “แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรี”โดยมีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงอาคารศรีสุริยวงศ์อันเป็นที่ทำการของสำนักงานและภูมิทัศน์โดยรอบ จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริม และเผยแพร่ภูมิปัญญาของชุมชน ให้แก่ผู้เข้าชม อันได้แก่ นักเรียน นักศึกษา บุคคลากรภายในมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้องค์ความรู้เผยแพร่ออกไปในวงกว้างขึ้นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติในด้านการสร้างเครือข่าย ทางวัฒนธรรม โดยบูรณาการกระบวนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้สอดประสานไปกับกิจกรรมการเรียนการสอน และกระบวนการพัฒนาการศึกษาของบุคคลากรภายในมหาวิทยาลัย ตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
              เนื้อหาของ ”แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา” ถูกจัดแสดงเป็นห้องต่างๆ จำนวน ๑๐ ห้อง โดยเล่าเรื่องราวผ่านพัฒนาการของธนบุรี (Timeline) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อันได้แก่
              ห้องที่ ๑ : เปิดเมือง : เป็นภาพยนตร์สั้น เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาของพิพิธภัณฑ์กรุงธนบุรีศึกษา ทั้งหมด ๑๐ ห้อง ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าโทนเป็นผู้นำเข้าเรื่อง และดำเนินเรื่องกับเพื่อนอีก ๒ คน ใช้เวลา ๖-๘ นาที
              ห้องที่ ๒ : ครั้งเป็นทะเลปากอ่าว : พูดถึงพัฒนาการของพื้นที่ธนบุรีตั้งแต่ครั้งเป็นทะเลตมจนถึงการเกิดแผ่นดิน
              ห้องที่ ๓ : ลัดเมืองบางกอก : กล่าวถึงการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช จนกลายมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายปัจจุบัน
              ห้องที่ ๔ : ฑณบุรีศรีมหาสมุทร หน้าด่านทางทะเล : เนื้อหาจะเน้นถึงความเป็นเมืองหน้าด่านของธนบุรีทั้งในแง่ของความเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางด้านการเมือง การปกครองและด้านการค้า รวมถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้น อาทิ กบฎมักกะสัน
              ห้องที่ ๕ : ธนบุรี ราชธานีใหม่ใกล้ทะเล : เน้นเรื่องราวในช่วงกรุงธนบุรีเป็นราชธานี (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) ความเป็นศูนย์กลางการเมือง การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม การค้า ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
              ห้องที่ ๖ : กรุงเทพฯ (ซ้อน)ทับ กรุงธนฯ : เนื้อหาในช่วงการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี(รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เหตุผลการย้ายราชธานี แต่พื้นที่ฝั่งธนบุรีนั้นก็ยังเป็นพื้นที่ที่ยังคงความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่อาสัยของตระกูลขุนนางข้าราชการสำคัญๆอยู่
              ห้องที่ ๗ : พระบรมธาตุแห่งพระนคร : กล่าวถึงคติไตรภูมิหรือความเป็นศูนย์กลางของจักรวาลที่ใช้ในการสร้างพระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม การประกาศความเป็นจักพรรดิราชของรัชกาลที่ ๓ รวมทั้ง
              ห้องที่ ๘ : ฅ คน ธนบุรี : เนื้อหาจะแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ของผู้คนในย่านฝั่งธนบุรีที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม
              ห้องที่ ๙ : บุนนาค ถิ่นฐานขุนนางสามแผ่นดิน : กล่าวถึงประวัติ คุณูปการ ของบุคคลคนสำคัญๆ ในตระกูลบุนนาค อาทิ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินทั้ง ๓ คน ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์, สมเด็จเจ้าพระยามหาพิไชยญาติ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นต้น
              ห้องที่ ๑๐ : มรดกวัฒนธรรมและงานศิลป์ ณ ฝั่งธนฯ : แสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรม อาทิ วัดวาอาราม ศาสนสถาน อาหาร มหรสพต่างๆ ที่สะท้อนให้เห้นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์
              ในการจัดแสดงส่วนที่เป็นเนื้อหาตามห้องต่างๆ เพื่อไม่ให้ผู้เข้าชมเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายกับข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือเนื้อหาที่เคร่งเครียดจนเกินไปนั้น ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ออกแบบให้มีสื่อโสตทัศนอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนต์สั้น บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านหรือเกมส์ต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมรู้สึกสนุก ผ่อนคลาย นอกจากนี้การออกแบบทั้งเนื้อหาและพื้นที่เหมาะสำหรับกลุ่มบุคคล ตั้งแต่เด็ก นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ชาวต่างชาติรวมทั้งผู้พิการทางด้านต่างๆ ก็สามารถเข้าเยี่ยมชม เรียนรู้ แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีได้เป็นอย่างดี
              ด้านบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับกับแหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีหรือตัวสถาบันการศึกษาเองนั้นก็สามารถที่จะสืบทอดหรือเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฝั่งธนบุรีได้เป็นอย่างดี อาทิ มีการรื้อฟื้นนำเอาบทละครในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาทำเป็นละครรำได้ หรือ มีการเขียนภาพงานศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ธนบุรี

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ


พระพักตร์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สิน)

       พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมพระเทพามาตย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ซอย อิสรภาพ ๑๕ แขวง หิรัญรูจี เขต ธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๔๗๓-๗๐๐๐ ต่อ ๑๕๐๐
เว็บไซต์ : http://culture.bsru.ac.th/
อีเมล : cultruebsru@gmail.com

วันและเวลาทำการ

วันและเวลาทำการ
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา ๐๘.๐๐ น. - ๑๖.๓๐ น.

วันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
งดให้บริการ

ค่าเข้าชม

ไม่มีค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถประจำทาง สาย ๔๐ , ๕๖ , ๕๗ , ๑๔๙ , ๗๑๐ 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

สิ่งอำนวยความสะดวก

สามารถจอดรถด้านในโรงเรียนมัธยมสาธิต

6

แบ่งปัน

กิจกรรม

22 มี.ค. 2564

31 มี.ค. 2564

23 มีนาคม 2564
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอเชิญร่วมโหวต คลิปวิดีโอ ยืน ๑ กรุงธนบุรี  ของผู้เข้าแข่งขัน ทั้ง ๓๐ ท่าน โดยการ กดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็น Popular Vote ยืน ๑ กรุงธนบุรี ผ่าน Facebook : สำนักศิลปะฯ มบส

22 ก.พ. 2564

19 มี.ค. 2564

22 กุมภาพันธ์ 2564
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอเชิญชวน นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป สมัครเข้าร่วมการแข่งขันตอบคำถามเชิงประวัติศาสตร์ กรุงธนบุรี วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔   ชิงเงินรางวัลว่า ๑๕,๐๐๐ บาท ฟรี แพ็กเกจท่องเที่ยว ทอดน่อง...ล่องเรือ  ลุ้นรับรางวัล บัตรกำนัลรับประทานอาหารสยาม - โปรตุเกส บ้านสกุลทอง ชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี กรุงเทพฯ และรางวัลพิเศษอีกมากมาย   สามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๔ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครและหลักเกณฑ์ได้ที่ : https://bit.ly/3uaD849   ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เว็บไซต์ : http://culture.bsru.ac.th/  เฟซบุ๊ก : www.facebook.com/culture.bsru โทรศัพท์ : ๐๘๑ ๐๑๓ ๔๔๓๐ : คุณลูกตาล / ๐๙๘ ๙๐๙ ๘๕๖๑ : คุณต้น
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

16 ธันวาคม 2564
140,817
1,148