คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ซัมจ่งก้ง

เกร็ดประวัติศาสตร์อั้งยี่ ในประเพณีพ้อต่อ

เดินงานพ้อต่อที่ศาลเจ้าผ้อต่อก้ง หลายคนคงตื่นเต้นกับของไหว้ที่จำนวนมากที่วางอยู่บนโต๊ะยาวแล้ว ด้านหน้าศาลเจ้ายังมีโต๊ะไหว้พร้อมเก้าอี้เล็ก ๆ อีกหนึ่งชุด เขียนว่า “ซัมจ่งก้ง” เคยสงสัยไหมว่า โต๊ะไหว้พิเศษนี้มีความสำคัญอย่างไร แต่แอบกระซิบว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของกลุ่มอั้งยี่ด้วยล่ะ อะแฮ่ม...คงอยากรู้แล้วล่ะสิ!!! ถ้าอยากรู้ ตามมิวเซียมภูเก็ตมาเลย...
.
#อั้งยี่เป็นใคร

ถ้าพูดถึง “อั้งยี่” สำหรับสังคมไทย ภาพที่หลายคนนึกถึง คือภาพของกลุ่มชาวจีนผู้มีอิทธิพล การจลาจล ความวุ่นวาย และการกระทำที่ผิดกฎหมาย ฯลฯ ซึ่งคำว่า “อั้งยี่ซ่องโจร” ก็คงเป็นข้อหนึ่งของตัวบทกฎหมายที่คุ้นหูกันดี ย้อนไปในอดีตกลุ่ม “อั้งยี่” มีจุดเริ่มต้นจากชาวจีนที่เดินทางมาตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆ มีระบบความสัมพันธ์แบบอยู่รวมกันเป็นกงสี ปกป้องผลประโยชน์และช่วยเหลื่อซึ่งกันและกันร่วมถึงมีอุดมการณ์ในการกลับไปกู้แผ่นดินเกิด เมื่อมีชาวจีนเข้ามามากขึ้นกงสีต่าง ๆ ขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นสมาคมลับ ที่มีพัฒนการมาตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์
.
#อังยี่ในเกาะภูเก็ต

ในเกาะภูเก็ตตามบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีอังยี่กลุ่มใหญ่ด้วยกัน 2 กลุ่ม อั้งยี่แต่ละกลุ่มมีจำนวนคนถึงกลุ่มละ 3,000 – 4,000 คนกันเลยที่เดียว เหตุการณ์หนึ่งที่ยังคงเป็นเรื่องราวที่บอกเล่าสืบทอดกันมาอย่างไม่รู้จบของคนท้องถิ่น คือเรื่องราวการต่อสู้ครั้งใหญ่ระหว่างอั้งยี่ทั้งสองกลุ่มในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 (2410 – 2420) ทั้งสองฝ่ายต่างบาดเจ็บล้มตายรวมถึงมีการปราบปรามจากทางราชการ ทำให้หลบหนีไปซ่อนตัวยังที่ต่าง ๆ
.
#เรื่องราวอั้งยี่ของศาลเจ้าผ้อต่อก้ง

จากข้อมูลใน "หนังสือรวมประวัติของศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ่วบางเหนียวภูเก็ตและที่มาของประเพณีพ้อต่อบางเหนียว" ได้เขียนเล่าถึงเรื่อราวของศาลเจ้าผ้อต่อก้งที่กล่าวถึงการมาหลบซ่อนตัวของอั้งยี่ระดับหัวหน้า 3 คนและเสียชีวิตบริเวณศาลเจ้าในวันที่ 18 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติจีน จึงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของศาลเจ้า ที่จะตั้งเซ่นไหว้วิญญาณของเหล่าอั้งยี่ในวันครบรอบการเสียชีวิตและในช่วงเทศกาลพ้อต่อ โดยใน 1 ปีจะมีการเซ่นไหว้สามครั้ง ครั้งแรกจะทำก่อนถึงช่วงเทศกาลพ้อต่อเรียกว่าพิธีไหว้ในโอกาส “โจ้กี่” หรือวันครบรอบวันเสียชีวิต ครั้งที่ 2 เซ่นไหว้ในวันแรกของการเริ่มพิธีกรรมพ้อต่อของศาลเจ้าผ้อต่อก้ง (ในปีนี้ตรงกับวันที่ 19 สิงหาคม 2562 ) และไหว้อีกครั้งในวันเซ่นไหว้ใหญ่ที่เรียกว่าวัน “บาบ๋าพ้อ” (ในปีนี้ตรงกับวันที่ 24 สิงหาคม 2562 )
.
#ซัมจ่งก้ง

การตั้งเซ่นไหว้วิญญาณของเหล่าอั้งยี่นี้ เรียกว่าการเซ่นไหว้“ซัมจ่งก้ง” หมายถึงการเซ่นไหว้นักรบสามคนอันเป็นที่เคารพนับถือ “ก้ง” คือคำแสดงการยกย่องในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ในหนังสือของศาลเจ้าเรียกหนึ่งอีกชื่อว่าไหว้ต่องหย่องก๊ง) การไหว้จะจัดชุดโต๊ะเก้าอี้แยกจากโต๊ะไหว้หลัก มีของเซ่นไหว้เป็นข้าว 3 ถ้วย กับข้าว น้ำ สุรา ของเซ่นไหว้อื่น ๆ และกะละมังใส่น้ำ ผ้า 3 ชุด โดยเซ่นไหว้พร้อมกับการเซ่นไหว้หลัก การไหว้“ซัมจ่งก้ง” เป็นพิธีกรรมหนึ่งในช่วงเทศกาลพ้อต่อที่ศาลเจ้าผ้อต่อก้งปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานและถือเป็นจุดประสงค์หลักของประเพณีพ้อต่อที่มุ่งเน้นการอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญญาณทุกดวง
.
#ลึกลงไปคำว่าอั้งยี่

แม้ว่าในปัจจุบันมโนทัศน์ของสังคมไทยจะจดจำความหมายของคำว่า “อังยี่” มักอยู่คู่กับคำว่า “ซ่องโจร”เสมอ แต่เรื่องราวเหล่านี้ยังคงเป็นเพียงมิติหนึ่งของประวัติศาสตร์อั้งยี่เท่านั้น สำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนภูเก็ต คำว่า “อั้งยี่” นั้นอาจไม่ได้มีความหมายในเชิงลบเพียงอย่างเดียว เพราะลึกลงไป คำว่า “อั้งยี่” นั้นประกอบด้วย เพื่อน พี่ น้อง ร่วมชะตากรรม ที่เข้ามาบุกเบิก ต่อสู้ ดิ้นรน แสวงหาชีวิตใหม่ในเหมืองแร่ดีบุกบนเกาะแห่งนี้
.
#เกร็ดประวัติศาสตร์อั้งยี่ในบริบทของท้องถิ่น

การไหว้“ซัมจ่งก้ง” ถือเป็นพิธีกรรมหนึ่งในประเพณีพ้อต่อที่น่าสนใจ เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของอั้งยี่ ในบริบทของท้องถิ่น ทำให้เห็นมโนทัศน์เกี่ยวกับอั้งยี่ในอีกมิติหนึ่งที่ไม่ใช่เรื่องราวอั้งยี่ในการรับรู้กระแสหลัก
.
เอกสารประกอบการเขียนและข้อมูลเพิ่มเติม
1. หนังสือรวมประวัติของศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ่วบางเหนียวภูเก็ตและที่มาของประเพณีพ้อต่อบางเหนียว
2. หนังสือประวัติความเป็นมาของอั้งยี่กับศาลเจ้าต่องย่องสู ภูเก็ต โดย ไชยยุทธ ปิ่นประดับ
3. หนังสือประเพณีพ้อต่อ โดย ฤดี ภูมิภูถาวร สถาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
4. หนังสือนิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ใน กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
5. บทความ สมาคมลับอั้งยี่ในเหมือแร่ดีบุกภาคใต้ โดย อุมา สินธุเศรษฐ
6. สัมภาษณ์ คุณสมชาย เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าผ้อต่อก้ง

1,234 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต