สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
กง-สี-ฟา-ไฉ หง-เปา-หนา-หลาย ในเทศกาลตรุษจีน เด็ก ๆ หลายคนคงจะรู้สึกตื่นเต้น เพราะว่าจะได้รับซองสีแดงที่เรียกว่า “อั่งเปา” จากญาติผู้ใหญ่ เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมต้องแจกอังเปาในวันตรุษจีน?
.
#อั่งเปา
"อั่งเปา"มีต้นกำเนิดมาจากเงิน “แตะเอีย” ที่หมายถึง เงินก้นถุงท้ายปี ซึ่งต้องมีติดตัวกันไว้ให้ต่อเนื่องกับเงินในปีต่อไป ถ้าแปลตามตัว “แตะเอีย” จะแปลว่า “ทับเอว ถ่วงเอว” เพราะเงินในสมัยก่อนเป็นโลหะ นิยมเก็บใส่ถุงผ้ายาว เคียนเอวเอาไว้ หรือใช้เชือกร้อยผูกไว้กับเอว ผู้ใหญ่จะให้เงินก้นถุงเด็กตอนสิ้นปีเพื่อเป็นเงินมงคล ให้เด็กมีเงินติดกระเป๋า ไว้เพื่อต่อเงินในปีหน้า และเป็นการสอนเด็กให้รู้จักเก็บออม
.
#อั่งเปาขับไล่สิ่งชั่วร้าย
ถึงสมัยราชวงศ์ชิง ประเพณีการให้เงินแตะเอีย แพร่หลายไปทั่ว ถึงคืนสิ้นปีผู้ใหญ่จะเอาด้ายแดงร้อยเงินเหรียญกษาปณ์เป็นพวงไปวางไว้ที่ขาเตียงนอนเด็ก ต่อมานิยมใช้กระดาษแดงห่อเงินแทน จึงเรียกเงินนี้ว่า “อั่งเปา”หมายถึง เงินห่อกระดาษแดง อันเป็นเครื่องรางในการขับไล่สิ่งชั่วร้าย เพราะมีตำนานที่ว่า ในอดีตอันไกลโพ้น มีสัตว์ร้ายตัวหนึ่งชื่อว่า “เหนียน” ( แปลว่า ปี ) พอถึงคืนสิ้นปี เจ้าตัวเหนียนจะออกมาจับคนโดยเฉพาะเด็กๆและสัตว์เลี้ยงกินเป็นอาหาร ปีแล้วปีเล่าที่เจ้าตัวเหนียนออกอาลาวาด ในที่สุดมนุษย์ก็พบว่ามันกลัวของอยู่ 3 อย่าง คือ เสียงดัง สีแดง และแสงไฟ ซึ่งการให้อั่งเปาที่เป็นซองสีแดงแก่เด็กๆ เป็นความเชื่อเพื่อป้องกันมิให้เจ้าตัวเหนียนมาจับเด็กไปกิน
.
#ปีนี้ได้อั่งเปากี่ซองแล้วนะ
จริงๆ อั่งเปาที่ได้รับกันในวันตรุษจีน นอกจากเด็กๆ จะได้นำเงินไปใช้จ่ายตลอดทั้งปี ยังเป็นเรื่องของการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายอีกด้วย การให้อังเปาเป็นการสืบประเพณีที่มีคุณค่ามากกว่ามูลค่าของเงินที่อยู่ในซอง ว่าแต่ปีนี้ได้อังเปาคนละกี่ซองกันนะ?
.
ข้อมูลเพิ่มเติม :
1. หนังสือ เทศการจีนและการเซ่นไหว้ โดย ถาวร สิกขโกศล สำนักพิมพ์มติชน