คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

“ร่อนแร่ท้ายราง”

วิถีของผู้หญิงภูเก็ต

เหมืองแร่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจภูเก็ตมาแต่ครั้งอดีต ชีวิตผู้คนในภูเก็ตล้วนสัมพันธ์อยู่กับเศรษฐกิจเหมืองแร่ เหมืองแร่ได้ทำให้เกิดอีกหลากหลายอาชีพ หนึ่งในนั้นคือ อาชีพ “ร่อนแร่ท้ายราง” ที่ถือเป็นวิถีของผู้หญิงภูเก็ตมาตั้งแต่อดีต
.
คำว่าท้ายรางที่กล่าวถึง หมายถึงส่วนท้ายสุดของรางกู้แร่ในเหมืองแร่ดีบุก เป็นส่วนที่ปล่อยน้ำดิน น้ำแร่ ที่ผ่านการคัดแยกเนื้อแร่ออกแล้วลงสู่ทางน้ำ น้ำที่ปล่อยทิ้งมายังส่วนท้ายรางนั้น ยังคงมีเศษแร่ปะปนอยู่ ซึ่งไม่สามารถคัดแยกได้ด้วยรางกู้แร่ โดยทางเหมืองแร่จะเปิดให้ชาวบ้านซึ่งเป็นกลุ่มผู้หญิงเข้ามาร่อนแร่ดีบุกที่ท้ายรางเพื่อนำดีบุกไปขาย
.
อุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับการร่อนแร่ท้ายราง คือ “เลียงร่อนแร่” และ พรก หรือ กะลาสำหรับใส่แร่ โดยเลียงถือเป็นอุปกรณ์หาแร่ที่มีความเก่าแก่และเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการหาแร่ของผู้คนมาหลายร้อยปี ตัวเลียงมีรูปทรงกลมก้นโค้งคล้ายกระทะแต่เลียงมีก้นที่ตื้นกว่า มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 70-80 เซนติเมตร
.
การใช้เลียงเพื่อร่อนแร่ ผู้ร่อนจะต้องคุ้ย ดิน ทรายที่มีสายแร่ ใส่ลงในเลียง และนำเลียงลงไปร่อนในน้ำ ใช้มือสองข้างจับเลียงแล้วแกว่งหมุนวนในน้ำ ด้วยแรงเหวี่ยงจะทำให้เศษดิน ทราย และกรวดหลุดออกไปกับน้ำ ส่วนแร่ดีบุกที่หนักกว่าจะตกลงไปอยู่ที่ก้นเลียง เมื่อได้แล้วจะกวาดแร่ที่ได้ใส่ในกะลามะพร้าวที่แหนบอยู่บริเวณสะเอว
.
ผู้หญิงเมื่อจะไปร่อนแร่มักแต่งตัวมิดชิด สวมเสื้อผ้าสีทึบ สวมเสื้อแขนยาว สวมหมวกกุ้ยเหลย หรือหมวกคนเหมือง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นการป้องกันความร้อนและเป็นการป้องกันสายตาของชายชาวเหมืองด้วย การร่อนแร่ท้ายรางถือเป็นงานของผู้หญิงโดยเฉพาะ และสร้างรายได้เข้าสู่ครอบครัวควบคู่กับผู้ชายที่ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานในภาคส่วนต่าง ๆ ของเหมือง ในหลายครอบครัวแม้ว่าจะทำอาชีพอื่นอยู่แล้ว เมื่อท้ายรางเปิดก็จะมาร่อนแร่ควบคู่ไปด้วย
.
จากการสัมภาษณ์ครูบุญธรรม ชัชเวช หรือ ป้าแช้น ได้เล่าว่าตัวเองและครอบครัว แม้ว่าจะทำนาเป็นอาชีพหลักแต่พอเหมืองเปิดท้ายราง แม่ก็จะพาตนเองไปร่อนแร่ท้ายรางด้วย โดยเหมืองแร่ที่ไปร่อนแร่เป็นประจำคือเหมืองฉีดของบริษัทอนุภาษฯ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาโต๊ะแซะไม่ไกลจากถนนหลวงพ่อในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้เวลาร่อนหนึ่งวันจะได้แร่ 1 กะลา ร่อนสะสมไปเรื่อย ๆ เมื่อได้แร่พอประมาณก็นำไปขาย ส่วนใหญ่จะต้องขายกันที่เหมืองนั้น ๆ การร่อนแร่ท้ายรางในยุคนั้นถือว่ามีรายได้ดีมาก ทำให้ครอบครัวมีกินมีใช้
.
การร่อนแร่ท้ายร่างถือเป็นวิถีของผู้หญิงภูเก็ตยุคอดีต เมื่อภูเก็ตเข้าสู่ยุคท่องเที่ยว การร่อนแร่ท้ารางก็ค่อย ๆ หมดไปพร้อมกับกิจการเหมืองแร่ดีบุก เหลื่อไว้เพียงภาพจำสำหรับบอกเล่าถึงรากเหง้าของภูเก็ตก่อนจะเข้าสู่ยุคแห่งการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
1. บทสัมภาษณ์ ครูบุณธรรม ชัชเวช
2. ฐานข้อมูลภูเก็ตดาต้า

1,919 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต