คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เจริญกรุง กรุงเทพมหานคร

             พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ตั้งอยู่ที่ ซอยเจริญกรุง 43  เจ้าของบ้านคือรองศาสตราจารย์วราพร สุรวดี ซึ่งปัจจุบันนี้อาจารย์ได้เสียชีวิตลงแล้ว  เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับการมาเที่ยวบ้านคุณยาย ทั้งความสงบ ร่มเย็น อาคารสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้าน

             ซึ่งความประทับใจของวันนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่เราจะถึงที่หมาย เมื่อเข้าสู่ถนนเจริญกรุงก็มีกลิ่นอายของความเป็นไทยในอดีตผสมอยู่ เหมือนค่อยๆ ปูพื้นความรู้สึกก่อนที่จะเข้ามาที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกนั่นเอง ฉันเชื่ออย่างนั้น

             วันนั้นที่ฉันไป ฉันมีบัตร Muse Pass อยู่ในมือ ฉันก็เลยได้รับสติกเกอร์ของพิพิธภัณฑ์มาอีก ๑ ดวง แต่ปกติที่นี่ก็เปิดให้เข้าชมฟรี แต่การที่ได้รับสติกเกอร์นั้นมันเหมือนเป็นความภูมิใจว่าเราได้พิชิตพิพิธภัณฑ์ได้กี่แห่งแล้ว แต่สุดท้ายเวลาว่างก็ไม่เอื้อให้ฉันพิชิตได้ตามที่ใจต้องการ

            บริเวณบ้านก็เขียวขจี มีต้นไม้น้อยใหญ่ปลูกอยู่ตั้งแต่บันไดบ้านจนถึงริมรั้ว รั้วบ้าน ประตูรั้วก็เป็นแบบสมัยก่อน น่าถ่ายภาพเก็บไว้เป็นอย่างมาก เราสองคนถ่ายรูปมุมนี้ที มุมนั้นที ถ่ายรูปกันสนุกสนาน คุยกันอยู่ว่าเหมือนละครเรื่องนั้นเรื่องนี้เลย (ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นที่ถ่ายละครหลายเรื่องเช่นกัน) ถ้าเราเกิดสมัยก่อนมีบ้านแบบนี้ก็จัดว่าเป็นคนมีฐานะเลยนะ เราคุยกันเหมือนกับว่านี่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แต่อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่า เหมือนเรามาบ้านคุณยาย

            หลังจากที่ถ่ายรูปกันเหนื่อย เราก็มานั่งพักกันที่ศาลาเป็นศาลาที่อยู่ระหว่างเรือน ถ้าเราหลับได้นี่เราคงพร้อมหลับกันแล้ว (เป็นศาลาที่เย็นสบายมากจนเราวางอุปกรณ์ทุกอย่าง และรับเอาความผ่อนคลายเข้าร่างกาย จนลืมถ่ายรูปมา) แต่มีน้องนักเรียนกลุ่มหนึ่งมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมือนกัน เราจึงต้องเรียบร้อยขึ้นทำเหมือนมาบ้านคุณยายไม่ได้แล้ว

หามุมศิลปะในการถ่ายภาพโดยใช้กระจกสองบานนี้ให้เกิดประโยชน์

             มาดูห้องครัวกันบ้าง (ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถ่ายรูปมาแค่มุมเดียว) มีอุปกรณ์ทำครัวแบบสมัยก่อนครบถ้วน การจัดวางเหมือนกับมีการใช้งานจริง เราก็เล่นโน่นนี่สนุกสนานกันเช่นเดิม (เมื่ออยู่กัน 2 คน)

             มีเครื่องพิมพ์ดีด และโทรศัพท์แบบโบราณให้เล่นด้วย นึกว่าตัวเองเป็นข้าราชการสมัยก่อน อิอิ

             หนังสือหลายเล่มเป็นหนังสือหายากที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ สามารถหยิบดูเปิดอ่านได้เลย ซึ่งเรือนหลังนี้เชื่อมกับเรือนหลังที่อาจารย์วราพรพักอยู่ เจ้าหน้าที่บอกว่า “อย่าส่งเสียงดังนะครับ” เราก็ปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัด

ชั้นล่างของเรือนหลังนี้มีภาพวาดสวยๆ หลายภาพ และมีหลายแนวด้วย

             อีกทั้งอาหารแถวเจริญกรุงก็มีให้เลือกอย่างหลากหลายสำหรับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกเป็นอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ที่ไปแล้ว อยากไปอีกมากกว่าหนึ่งครั้ง บรรยากาศน่าอยู่ สบายตา ถ้าบ้านเราอยู่แถวนั้นคงจะไปบ่อยกว่านี้แน่ๆเลย ถ้าใครมีเวลาว่างสักครึ่งวัน พิพิธภัณฑ์บ้านบางบางกอกเป็นอีกที่หนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

2,502 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร