คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สามแพร่ง

ย่านเก่าที่ยังมีมนต์ขลัง

เมื่อให้เราลองย้อนนึกถึงย่านเก่าๆของกรุงเทพมหานคร เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะไม่นึกถึง 'ย่านสามแพร่ง' ย่านเก่าแก่อีกหนึ่งย่านที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่งดงามอีกย่านหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดตามกาลเวลาและยุคสมัย

 

ย่านสามแพร่ง ตั้งอยู่ที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร โดยพื้นที่รวมของชุมชนมีเนื้อที่ประมาณ 42 ไร่ ทิศเหนือ ติดกับถนนศิริอำมาตย์ ทิศใต้ ติดกับถนนบำรุงเมือง ทิศตะวันตก ติดกับถนนอัษฎางค์และคลองคูเมืองเดิม ทิศตะวันออก ติดกับถนนตะนาว โดยพื้นหลังของย่านสามแพร่งนี้ ในอดีตเคยเป็นวังที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ อันประกอบไปด้วย

 

'แพร่งนารา' หรือในอดีตคือ 'วังวรวรรณ'  ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต่อมาได้มีการเวียนคืนที่ดิน ปัจจุบันคงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่แต่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ซึ่งต่อมาถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ชื่อแพร่งนรานี้ เป็นชื่อที่คนทั่วไปเรียกตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ผู้เป็นเจ้าของวังเดิมนั้นเอง

 

'แพรงภูธร' หรือในอดีตคือ 'วังสะพานช้างโรงสี' ซึ่งเจ้านายพระองค์สุดท้ายที่ประทับที่วัง คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาเมื่อกรมหมื่นภูธเรศฯ ได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว ซึ่งยังคงรักษาสถาปัตยกรรมอันเดิมไว้ แล้วพระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ภาพของแนวตึกแถวเก่าที่เรียงรายระหว่างสองฝากข้างถนนของซอย คือความคลาสสิกที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ สุขุมาลอนามัย ที่เปิดทำการเมื่อปี พ.ศ.2471 โดยพระดำริของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี เพื่อให้เป็นสถานีอนามัย ปัจจุบันก็ยังเป็นที่รักษาพยาบาลของคนในชุมชนอยู่

 

'แพร่งสรรพศาสตร์' หรือในอดีตคือ 'วังสรรพสาตรศุภกิจ' ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ภายหลังได้เกิดเหตุเพลิงไหม้เสียหายจนหมด ทำให้วังสรรพศาสตร์ศุภกิจ ในปัจจุบันเหลือเพียงซุ้มประตูวังเก่าที่ยังคงความสวยงามให้คนรุ่นหลังได้ชม 

 

นอกเหนือจากสถาปัตยกรรมที่ยังคงความงดงามแล้ว ทุกวันนี้ สามแพร่ง ยังเป็นย่านพาณิชย์ที่มีการจัดจำหน่ายอุปกรณ์สนามของข้าราชการทหาร-ตำรวจ ที่หลากหลายมากที่สุดในกรุงเทพมหานครอีกย่านหนึ่ง ตลอดจนมีกิจการการค้าที่ยังคงแสดงถึงความร่วมสมัยมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกินที่ขึ้นชื่อมากด้านความอร่อย มีร้านรวงที่มีชื่อโด่งดังหลายต่อหลายเจ้าล้วนมีประวัติและตำนานความอร่อยที่สืบทอดมากันแต่ยาวนาน ย่านสามแพร่งจึงถือว่าเป็นหนึ่งใน 'ย่านคลาสสิก' แห่งหนึ่งในเกาะรัตนโกสินทร์เลยทีเดียว

 

แม้นว่ากาลเวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป แต่สถาปัตยกรรมและความงามของจิตใจย่านสามแพร่งยังคงอยู่

๐ ถิ่นแพร่งเก่าแต่ครั้น  โบราณ

แม้นว่าเวลากาล  ผ่านพ้น

สถาปัตย์ตึกราม  คงอยู่  

รสเลิศหรูมากล้น  เลิศล้วน  คาวหวาน

๐ ถิ่นสามแพร่งแห่งนี้  ร่วมสมัย

เขตขัณฑ์วังวงศ์ไทย  แซ่ซ้อง

หากได้เที่ยวรื่นไป  คงเสพ  ความสุนทรีย์

หลงเสน่ห์มนต์ต้อง  สุขล้น  ชื่นใจ

 

บทความโดย: นายภูริช วรรธโนรมณ์ นักศึกษาภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

16,869 views

5

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร