กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช.

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช.

06 กุมภาพันธ์ 2566

ชื่นชอบ 55

18,856 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า แหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยาของคนไทยและผู้สนใจจากทั่วโลก นิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย กำเนิดโลกและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในภูมิประเทศที่ต่างกัน กลุ่มสังคมของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณที่มีลักษณะเฉพาะเรียกว่า ชีวนิเวศ(Biome) ตลอดจนอิทธิพลของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมนั้น นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเขตภูมินิเวศ(Ecoregion) ของไทย ซึ่งเป็นการแบ่งพื้นที่ตามการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย รวมถึงนิทรรศการเกี่ยวกับพระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยนำเสนอสาระที่เป็นหลักคิด หลักการ หลักปฏิบัติ วิธีการแก้ปัญหาในเชิงกระบวนการที่เป็นสากล รวมถึงแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ป้องทรัพยากรธรรมชาติ และเตรียมการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรู้เท่าทันตามแนวคิดและหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานไว้ โดยแบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ

 

บ้านของเรา OUR HOME

  • การระเบิดครั้งใหญ่ Big Bang  : สรรพสิ่งบนโลกเป็นผลสืบเนื่องมาจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang ซึ่งก่อให้เกิดจักรวาล ระบบสุริยะ และโลกของเรา
  • ที่พักพิง Shelter : กว่าโลกจะกลายมาเป็น “บ้าน” ที่เหมาะสมของสิ่งมีชีวิตนั้น ได้ผ่านวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ มากมาย
  • ชีวิต Life : ชีวิตบนโลกเริ่มต้นขึ้นจากการเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ต่อมาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมส่งผลให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวจนมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นและถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ สู่ลูกหลานผ่านทางดีเอ็นเอ (DNA)
  • วิวัฒนาการและการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ Evolution and Mass Extinction : โลกบันทึกประวัติศาสตร์ของโลกผ่านซากดึกดำบรรพ์ ตลอดระยะเวลา 500 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตมากถึง 5 ครั้ง สิ่งมีชีวิตที่เหลือต้องปรับตัวและวิวัฒนาการเพื่อให้อยู่รอด แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน นำไปสู่การตั้งคำถาม เรากำลังอยู่ในยุคของการสูญพันธุ์รั้งใหญ่อีกหรือไม่
  • ย่างก้าวของมนุษยชาติ Human Odyssey : ในห้วงเวลาแห่งวิวัฒนาการอันยาวนานของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์มนุษย์ได้ถือกำเนินขึ้นเมื่อใด และกว่าจะมาเป็น โฮโม ซาเปียน(Homo sapiens) ในปัจจุบัน เราได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาบ้าง

 

ชีวิตของเรา OUR LIFE

  • อาร์กติก Arctic : เป็นชีวนิเวศที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ เช่น วาฬ หมีขาว วอลรัส แมวน้ำ รวมทั้งมนุษย์ เช่น ชาวอินูอิท(Inuit) ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวจากก้อนน้ำแข็ง เรียกว่า อิกลู(igloo)
  • ทุนดรา Trudra : เป็นชีวนิเวศที่มีความหนาวเย็น มีช่วงอากาศอบอุ่นสั้นมาก ประมาณ 50-60 วัน พืชส่วนใหญ่จึงเป็นพืชขนาดเล็ก เช่น หญ้า มอสส์ ดอกไม้ต่าง ๆ มีมนุษย์อาศัยอยู่หลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวเนเน็ต(Nanets) ดำรงชีพด้วยการเลี้ยงเรนเดียร์ ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนชีวนิเวศเขตอื่น คือ การเกิดขึ้นของฝูงยุงนับล้านตัวในช่วงฤดูร้อน
  • ไทก้า Taiga : ความโดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือ แนวป่าสนขนาดใหญ่ เป็นชีวนิเวศบนบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแบบสุดโต่ง คือ มีฤดูหนาวยาวนานและมีฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น ไฟป่า การบุกรุกจากแมลง เป็นต้น
  • ทะเลทราย Desert : มีสภาพภูมิอากาศแบบสุดโต่งในอีกลักษณะหนึ่ง คือ เต็มไปด้วยความแห้งแล้ง สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น อาศัยในหลุมหรือรู การเปลี่ยนใบให้เป็นหนามของต้นกระบอกเพชร เป็นต้น
  • เขตร้อน Tropical Zone : เป็นชีวนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในทุกลำดับความสูงของป่า แสงแดด และน้ำฝนมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีความแตกต่างกัน
  • เขตอบอุ่น Temperate Zone : ความโดดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือ การมี 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว สิ่งมีชีวิตจึงปรับตัวตามฤดูกาล
  • แอนตาร์กติกา Antarctica : เป็นบริเวณที่มีความหนาวเย็นมากที่สุดในโลก อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง -49 ถึง -89 องศาเซลเซียส อย่างไรก้ตามสิ่งมีชีวิตบางชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ได้ ท่ามกลางสภาพอากาศอันรุนแรงนี้ แม้ Antarctica ไม่มีมนุษย์อาศัยอย่างถาวร
  • วนนิเวศประเทศไทย Thailand’s Forest Ecosystems : นิทรรศการแบ่งเป็น 2 ส่วนจัดแสดง คือ ด้านในอาคารจัดแสดงนิทรรศการเรื่องการแบ่งเขตนิเวศตามความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์และวนนิเวศของไทย โดยจำลองพื้นที่ป่า 4 แบบ ได้แก่ ป่าพรุ ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และป่าดิบเขา สำหรับพื้นที่นอกอาคารจำลองพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นระบบนิเวศเดิมของทุ่งรังสิต

 

ในหลวงของเรา OUR KING

หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์นักพัฒนา : บริเวณพื้นที่จัดแสดงส่วนนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้หลักการคิด วิธีการทรงงาน และกระบวนการค้นหาคำตอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับองค์ความรู้เรื่องระบบนิเวศของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงนำไปแก้ปัญหา พระราชทานแก่พสกนิกรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

 

บริหารจัดการ

องค์การมหาชน/องค์กรมหาชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 02-577-9999 ต่อ 2122, 2123
โทรสาร : 02-577-9911
เว็บไซต์ : http://www.nsm.or.th/
อีเมล : ืnsm_mkt@nsm.or.th

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการ 

  • วันอังคาร-ศุกร์ เวลา 9.30-15.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.30-17.00 น.

ปิดวันจันทร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2122-2123

 

ค่าเข้าชม

1. ค่าเข้าชม 3 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 100 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)

  • พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
  • พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
  • พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

2. ค่าเข้าชม 1 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 200 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)

  • พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า

 

3. ค่าเข้าชม บัตรรวมทั้ง 4 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 300 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)

4. ฟรี ค่าเข้าชมสำหรับเด็ก นักเรียน นักศึกษาระดับปริญญาตรี (อายุไม่เกิน 24 ปี โปรดแสดงบัตร) และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทางที่ผ่านหน้าปากทางคลองห้า (เส้นรังสิต - นครนายก) สาย ปอ. 538

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมแบบหมู่คณะ สามารถจองเข้าชมล่วงหน้าได้ที่ 02-577 9999 ต่อ 2122 - 2123

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

  • ทางลาด
  • ลิฟท์โดยสาร
  • ห้องสุขา

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • ห้องละหมาด
  • ห้องพยาบาล
  • ร้านกาแฟ
  • ร้านจำหน่ายอาหาร / ตู้กดเครื่องดื่ม

12

แบ่งปัน

กิจกรรม

11 เม.ย. 2566

13 เม.ย. 2566

10 เมษายน 2566
สงกรานต์คึกคัก พิเศษ สำหรับสมาชิก NSM ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ 11-13 เมษายน 2566 นี้ พบกับกิจกรรมสนุก ๆ ต้อนรับซัมเมอร์  ณ บริเวณ ชั้น 2 พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM คลองห้า ปทุมธานี  พิกัด  https://goo.gl/maps/A5HXAhTtAgWT3w2z5 (อย่าไปผิดที่น้าา)   กิจกรรมลุ้นรับของรางวัล โยนห่วง พินบอล พิเศษไปอีกขั้นสำหรับสมาชิก NSM 100 ท่านแรกที่ร่วมกิจกรรม  รับฟรี ปืนฉีดน้ำ Dinosaur Water Gun   กติกา สิทธิพิเศษนี้ สำหรับ ผู้ถือบัตร สมาชิก NSM ที่มาเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ผู้สมัครสมาชิก NSM สามารถร่วมกิจกรรมได้ทันที สงวนสิทธิ์ของที่ระลึก 1 ชิ้น ต่อ 1 หมายเลขสมาชิก NSM สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2122-2123

01 ธ.ค. 2565

02 ธ.ค. 2565

01 ธันวาคม 2565
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)  สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ  “วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ครั้งที่ 3: ความยั่งยืนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ และความรับผิดชอบต่อสังคม”   เพื่อเปิดเวทีให้นักวิจัยระดับนานาชาติและผู้ที่มีความสนใจด้านธรรมชาติวิทยา  ได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานต่างๆ นำไปพัฒนางานวิจัยให้เป็นมาตรฐาน ในระดับสากล และสร้างความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อสังคม โดยงานจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. คลองห้า ปทุมธานี 

22 ธ.ค. 2565

24 ธ.ค. 2565

04 พฤศจิกายน 2565
เพราะชีวิตขาดสีสันไม่ได้..อพวช. เปิดให้ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน  ในงาน NSM Night at the Museum Festival 2022 โดยปีนี้มาในธีม Colorful Night สาดสีสันส่งความสุขท้ายปีให้กับทุกคน  พร้อมกิจกรรมชิค ๆ ในงานมากมาย อาทิ   Walk rally “Wonderful life & light” สำรวจ สังเกต และติดตามเส้นทางแห่งความมหัศจรรย์ของแสง  ร่วมไขความลับของแสงที่เกี่ยวพันกับสิ่งมีชีวิตในทางธรรมชาติ  ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า Nocturnal ส่องสัตว์กลางคืน กิจกรรมส่องสัตว์กับนักวิชาการเฉพาะทางด้านพืช แมลง และสัตว์เลื้อยคลาน  ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า Enjoy Maker Space "Lightsaber" โชว์ฝีมือประดิษฐ์ดาบ Lightsaber ที่มีประสิทธิภาพและมีเอกลักษณะเฉพาะตน  โดยใช้ STEM Education ในการแก้ปัญหาตามโจทย์ที่กำหนด  ณ ลานหน้าพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ดูหนังกลางแปลง ชมภาพยนตร์กลางแปลง บนลานสนามหญ้ารับลมหนาว ณ ลานสนามหญ้าหน้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (ตึกลูกเต๋า)  ดูดาวบนท้องฟ้าจริง กิจกรรมแสนอบอุ่นกับการได้เฝ้ามองดาวในยามค่ำคืน  ณ ลานสนามหญ้าหน้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (ตึกลูกเต๋า) ชมภาพยนตร์ 4D เรียนรู้ชีวิตในทะเลทราย ผ่านเรื่องราวภาพยนตร์ที่จะทำให้คุณรู้สึกเสมือนจริง ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า   - ห้ามพลาด กับมุมถ่ายรูปสวย ๆ ของพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ทั้ง Indoor & Outdoor จัดพิเศษมาให้สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ - อิ่มท้องด้วย กับ Food Truck ในงาน รวมอาหารและเครื่องดื่ม  - พร้อมของที่ระลึกให้ได้ช้อปเพลิน ๆ เดินแก้หนาวกันอีกด้วย   พบกัน วันศุกร์และวันเสาร์ที่ 23-24 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00-22.00 น.  *ช่วงกลางวันพิพิธภัณฑ์ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี พิกัด https://goo.gl/maps/NXCKrQ9vA1TAAZQe8 สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2122-2123    

13 ส.ค. 2565

20 ส.ค. 2565

09 สิงหาคม 2565
เปิดพรมแดนความรู้ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ณ จุดบรรจบ ระหว่างโพรงภูอันมืดมิดและเปลวแสงแห่งความรู้   เสวนานัดพิเศษ Talkative - Talk กะถ้ำ ตอน “คน ค้น ถ้ำ”  กับ 4 คนค้นถ้ำแถวหน้าของเมืองไทย ศ.รัศมี ชูทรงเดช: ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร.โสภาค จันทฤทธิ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ : คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณชัยพร ศิริพรไพบูลย์: ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาถ้ำในประเทศไทย นักวิชาการอิสระ   วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม  2565 เวลา 13.00-16.00 น. ห้อง Phoenix 2 อาคาร 9-10 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565 ออนไลน์ผ่าน Facebook Live NSTFair Thailand และ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ลงทะเบียนฟรี ได้ที่ https://forms.gle/cyHDgxEX41N13hg36

15 ต.ค. 2564

12 ตุลาคม 2564
อพวช. ร่วมกับ Asia Pacific Network of Science and Technology Centres  และ Shanghai science and technology museum    กำหนดจัดกิจกรรม ASPAC Share-2-Learn Session ในหัวข้อ “Thematic Science Museum in Asia Pacific: Concept and Creation” เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิดและความท้าทายการดำเนินงาน ของพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่อย่างพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ประเทศไทย และ Shanghai Astronomy Museum สาธารณรัฐประชาชนจีน   วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00 – 15.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ https://shorturl.at/optFM หรือสแกน QR CODE  (ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเข้าร่วม) 
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง