คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมที่น่าสนใจ

โปรโมชั่น

136 ปี วันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช พิพิธภัณฑ์ศิริราช เปิดให้ชมฟรี วันที่ 26 เม.ย. 67 Free entrance on 26th April 2024 due to the 136th founding anniversary of Siriraj Hospital สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-414 1464 / 02-414 1457 / 02-414 1458

Sale

อุทยาน ร.๒ ร่วมฉลองเมือง ๑๒๓ ปี สมุทรสงคราม ชวนมานุ่งโจง ห่มสไบ ในเดือนเมษายนนี้ มอบส่วนลดพิเศษสำหรับเช่าชุดไทย เหลือเพียง ๑๒๓ บาท (จากราคาปกติ ๑๕๐ บาท)  ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗    อุทยาน ร.๒ เปิดให้เข้าชมวันพฤหัสบดี - วันอังคาร (ปิดวันพุธ) เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. สอบถามข้อมูล โทร. ๐๓๔ ๗๕๑ ๓๗๖, ๐๓๔ ๗๕๑ ๖๖๖ FB: https://www.facebook.com/kingrama2samutsongkram  
150.00 บาท 123.00 บาท
pav

/

next
ข่าวสาร
26 เมษายน 2567
“รวิน” เล็งขยายจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. สู่ภูมิภาค จับมือ สดร. เริ่มปลายปีนี้ ที่หอดูดาว จังหวัดขอนแก่น   เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามการขยายโอกาสการเรียนรู้ผ่าน “จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.” ระดับภูมิภาค และมุ่งสร้างความร่วมมือกับชุมชน ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ไปสู่เยาวชนพร้อมสร้างความแข็มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น   โดย ผศ.ดร.รวิน เปิดเผยว่า จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ คือ 1 ใน 3 แหล่งเรียนรู้ระดับภูมิภาคของ NSM เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้สู่ภูมิภาค ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเหลื่อมล้ำ แต่ยังช่วยให้เยาวชนในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าถึงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้มากขึ้นตามนโยบายของ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวง อว.ที่ย้ำเสมอว่า การขยายโอกาสการเรียนรู้สู่ภูมิภาค ผ่าน “จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.” ของ NSM นั้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และเปิดโอกาสให้เยาวชนในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าถึงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพมากขึ้นการมีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพใกล้บ้าน ช่วยให้ประชาชนในต่างจังหวัดเข้าถึงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ได้สะดวก โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง ทั้งนี้ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ได้รับความร่วมมือจาก สดร. เปิดมาเป็นปีที่ 4 กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน วทน. ยอดนิยม ดึงดูดผู้เข้าชมมากกว่า 430,000 คน สะท้อนให้เห็นถึงผลตอบรับเชิงบวกและความสำเร็จที่น่าประทับใจ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ถือเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน วทน. ขยายโอกาสการเรียนรู้สู่เยาวชนในภูมิภาค ในอนาคต NSM มุ่งมั่นพัฒนา ปรับปรุง ขยาย รูปแบบการบริการ กิจกรรม นิทรรศการ ของจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ให้รองรับจำนวนผู้เข้าชมที่เพิ่มขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้เข้าชมที่หลากหลาย และมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ดีที่สุดในภาคเหนือ   “ที่สำคัญ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. จะขยายไปตั้งที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ปลายปีนี้ โดยร่วมกับ สดร.ซึ่งถือเป็นความท้าทาย เพราะสถานที่ตั้งไม่ใช่ในอำเภอเมืองเหมือนจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนเดินทางไปมาสะดวก แต่ที่น้ำพองห่างออกมาจากตัวเมืองพอสมควรประมาณ 40 กิโลเมตร อยู่ที่เขื่อนอุบลรัตน์ ไกลจากกลุ่มคนเมือง ดังนั้น NSM จะต้องทำงานหนักให้มากขึ้นเพื่อดึงโรงเรียนและชุมชนเข้ามาเรียนรู้ และเป็นแนวร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเด็กทุกคน ที่จะช่วยส่งเสริมสังคมไทยให้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ” ผศ.ดร.รวิน กล่าว ด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผอ.สดร. กล่าวว่า “หอดูดาวภูมิภาค จ.ขอนแก่น ทดลองเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย.2566 และจะเปิดเป็นทางการวันที่ 19 ธ.ค.2567 ขอบคุณ ผศ.ดร.รวิน ที่มาช่วยเติมเต็มในเรื่องจตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เพราะ สดร.มีความเชี่ยวชาญเรื่องดาราศาสตร์ แต่ในส่วนที่ไม่ใช่เรื่องของดาราศาสตร์ก็ได้ NSM เข้ามาช่วย ทำให้สมบูรณ์มากขึ้น ที่เห็นได้ชัด คือ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร จ.เชียงใหม่ ปีหนึ่งจะมีคนมาเข้าชมกว่าหลายแสนคน ถือเป็นศูนย์ให้บริการทางวิทยาศาสตร์ที่มีคนเข้ามาใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล”   “ส่วนที่หอดูดาวขอนแก่นจะร่วมมือกับ NSM  เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในลักษณะแบบเดียวกับจัตุรัสวิทยาศาสตร์ บริเวณดังกล่าวจะติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำพอง อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ อุทยานแห่งชาติภูเวียง ทั้ง 3 อุทยานฯ จะประกบหอดูดาวขอนแก่นทั้งเหนือ ทั้งใต้ และด้านตะวันตกของเขื่อนอุบลรัตน์ โดยพื้นที่ดังกล่าวจะมีการสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่าง สดร. NSM และอุทยานแห่งชาติทั้ง 3 แห่ง เมื่อมาเที่ยวชมจะมาดูได้แบบครบวงจร ถือเป็นการทำงานร่วมกันที่สุดท้ายประชาชนคือผู้ได้ประโยชน์สูงสุด” ผอ.สดร. กล่าว
26 เมษายน 2567
NSM ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ พร้อมจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   เมื่อ 25 เมษายน ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ โดยมี นายแมธเธียส คูเปอร์ กรรมการผู้จัดการและรองประธาน โคโลญเมสเซ่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมด้วย คุณภูษิต ศศิธรานนท์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารบริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด (โคโลญเมสเซ่ ประเทศไทย) ดร.กฤษณะ วจีไกรลาศ กรรมการเลขาธิการ หอการค้าไทย นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และดร.ดวงเด็ด ย้วยความดี ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ร่วมเปิดงานฯ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ   ผศ.ดร.รวิน กล่าวว่า Kind + Jugend ASEAN 2024 เป็นงานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ   ไม่ใช่แค่การรวมตัวของสินค้าชั้นนำจากทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้ประกอบการไทย สอดคล้องกับนโยบาย “เอกชนนำ-รัฐสนับสนุน” ของ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่มุ่งเน้นให้หน่วยงาน อว. ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาประเทศ   โดยในงานนี้ NSM นำนิทรรศการ Plearn Science Exhibition ชุด Plearn Science Explorer วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมทักษะและพัฒนาการอย่างสร้างสรรค์ และกิจกรรม Imaginarium BLUE BOX สนามเด็กเล่นแห่งจินตนาการดึงดูดเยาวชนให้สนุกสนานสร้างสรรค์ฝึกฝนจินตนาการผ่านของเล่นรูปทรงตัวต่อหลากหลายขนาด มาจัดแสดงพร้อมเปิดตัวให้กับผู้ประกอบการ แหล่งเรียนรู้ และโรงเรียนที่มองหาสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย เคลื่อนย้ายสะดวกสบายสามารถติดต่อประสานความร่วมมือในการนำไปจัดแสดงสร้างเครือข่ายกระจายความรู้กันต่อไป
pav

/

next

กิจกรรม

เทศกาล 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน

26 เม.ย. 2567

28 เม.ย. 2567

01 เมษายน 2567
เทศกาล 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน พบกับกิจกรรม ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (นาวาล่องท่องเจ้าพระยา เดินส่องย่าน “กะดีจีน”) อาหารหลากหลายชาติพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน การแสดงวัฒนธรรม 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน   วันที่ 26 - 28 เมษายน 2567 ณ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร กำหนดการเทศกาล 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน : https://link.bsru.ac.th/v0u ลงทะเบียน นาวาล่องท่องเจ้าพระยา และเดินส่องย่าน "กะดีจีน" : https://link.bsru.ac.th/vtd สอบถามข้อมูล โทร. 02-466 6664 หรือ 02-473 7000 ต่อ 1600
งานย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ

26 เม.ย. 2567

28 เม.ย. 2567

26 เมษายน 2567
ขอเชิญร่วมงาน ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ สู่อนาคตแห่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน วันที่ 26-28 เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ณ โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์  ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม, ชม ชิม ช้อป ตลาดสีเขียว และกิจกรรมอีกมายมาย
ตาดีได้ตาร้ายเสีย

25 เม.ย. 2567

29 เม.ย. 2567

25 เมษายน 2567
จับตากันให้ดี เพราะเกมนี้ #ตาดีได้ตาร้ายเสีย #CoinLetsPlay ชวนทุกคนมาค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเหรียญในทุก ๆ แง่มุม พร้อมบอกคำแปลภาษาไทย  เริ่ม search ได้เลยตั้งแต่วันนี้ - 29 เมษายน 2567 แล้วส่งคำตอบในคอมเมนต์ใต้โพสต์นี้ ใครค้นหาคำศัพท์ได้ถูกต้องจำนวนมากที่สุด 10 อันดับแรก เตรียมรับของที่ระลึกจากพิพิธภัณฑ์เหรียญฯ ส่งตรงถึงบ้านกันเลย #TheCoinMuseumThailand ร่วมกิจกรรมได้ที่เพจ facebook พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์
Treasure Hunt  ค้นหาวัตถุเคยซ่อน " #1

24 เม.ย. 2567

29 เม.ย. 2567

25 เมษายน 2567
 ลืมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงกันไปรึยังน๊าาาา ...  Virtual Museum Game กลับมาอีกแล้วววว มาชวนทุกๆท่านท่องพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงและร่วมสนุกกับกิจกรรม   " Treasure Hunt ค้นหาวัตถุเคยซ่อน " #1 ภาพนี้คือวัตถุใดในนิทรรศการ “เผย วัตถุเคยซ่อน”  แอดมินใบ้ว่าอยู่ในนิทรรศการหมุนเวียนชั้นที่  1 .ค้นหาคำตอบได้ที่พิพิธิภัณฑ์เสมือนจริง https://www.kpi-vmuseum.com/ พบแล้ว Cap ภาพ พร้อมส่งคำตอบได้ที่ https://forms.gle/6GBU45EGpxAfQG9C7 ร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันที่ 24 – 29 เมษายน 2567   กติกาและการจับรางวัล  ท่านสามารถร่วมสนุกได้ 1 ครั้งต่อ 1 เกม  ผู้ที่มีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลคือผู้ที่ตอบถูกจากการเล่นเกมแต่ละครั้ง จับรางวัลเพียง 1 ครั้งหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทั้งหมด  โดยกิจกรรมครั้งนี้จะจัดขึ้น 4 ครั้ง ยิ่งร่วมสนุกมากยิ่งมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลมากขึ้น   50 ผู้โชคดีลุ้นรับฟรี " หนังสือพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว " หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทั้งหมด ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/photo?fbid=890651539530912&set=a.731743035421764
pav

/

next

ไฮไลท์ทริป

จุดเช็คอินปักหมุดพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศไทย

พิพิธตลาดน้อย

08 มีนาคม 2567
ปลุกพื้นที่เรื่องเล่าเก่า-ใหม่ของชุมชนชาวจีนริมน้ำเจ้าพระยา
ดูทั้งหมด

เรื่องเล่า

พื้นที่แบ่งปันเรื่องเล่า องค์ความรู้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และสถานที่ท่องเที่ยว ความภูมิใจของ 77 จังหวัด ในประเทศไทย

เรื่องเล่าทั้งหมด
พ.ศ.2431 รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิดและพระราชทานนาม "โรงศิริราชพยาบาล"

วันนี้ในอดีต
26
เมษายน

พ.ศ.2431 รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิดและพระราชทานนาม "โรงศิริราชพยาบาล"


เมื่อ พ.ศ.2424 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุม ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลจะยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2429 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลถาวรแห่งแรก ณ บริเวณวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง) โดยพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนแรกเริ่มในการดำเนินการ

ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ พระราชโอรสอันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2430 ยังความอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ยิ่งนัก ถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มีโรงพยาบาลขึ้น ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาล ณ บริเวณวังหลัง และยังพระราชทานทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเจ้าฟ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย

ระยะแรกคณะกรรมการฯ ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและพระราชทานนามว่า “โรงศิริราชพยาบาล” หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “โรงพยาบาลวังหลัง” โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทย
โรงพยาบาลศิริราช ได้พัฒนาเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาตามลำดับ ด้วยพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าทุกพระองค์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ในราชวงศ์จักรีและยังได้รับการสนับสนุนกิจการทั้งปวงจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปด้วย
ที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/
pav

/

next

วันนี้ในอดีต
26
เมษายน

พ.ศ.2431 รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิดและพระราชทานนาม "โรงศิริราชพยาบาล"

เมื่อ พ.ศ.2424 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุม ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลจะยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2429 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลถาวรแห่งแรก ณ บริเวณวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง) โดยพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนแรกเริ่มในการดำเนินการ

ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ พระราชโอรสอันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2430 ยังความอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ยิ่งนัก ถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มีโรงพยาบาลขึ้น ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาล ณ บริเวณวังหลัง และยังพระราชทานทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเจ้าฟ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย

ระยะแรกคณะกรรมการฯ ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและพระราชทานนามว่า “โรงศิริราชพยาบาล” หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “โรงพยาบาลวังหลัง” โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทย
โรงพยาบาลศิริราช ได้พัฒนาเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาตามลำดับ ด้วยพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าทุกพระองค์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ในราชวงศ์จักรีและยังได้รับการสนับสนุนกิจการทั้งปวงจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปด้วย
ที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/

/

pav next