คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ต้นเปา บ้านกระดาษสา

ต้นเปา บ้านกระดาษสา

          น้อยคนที่จะไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็นกระดาษสา เนื่องจากกระดาษสาเป็นภูมิปัญญาที่มีการทำมาช้านาน แต่ถ้ากล่าวถึงกระดาษสาแล้วก็คงจะมีชื่อบ้านต้นเปาผุดขึ้นมาในความคิดของหลาย ๆ คนเป็นแน่ เนื่องจากบ้านต้นเปาเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่และได้ทำมานานกว่า 100 ปี สืบทอดมาจากชนเผ่าไทยเขินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวต้นเปาที่ได้อพยพมาจากสิบสองปันนา เชียงตุง และเชียงรุ้ง เมื่อสมัยก่อตั้งอาณาจักรล้านนา ในปัจจุบันก็ยังมีหลักฐานเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวต้นเปาหลงเหลืออยู่นั่นก็คือ สำเนียงภาษาพูดของคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนที่พูดสำเนียงเขิน โดยในอดีตอาณาจักรล้านนานั้นประกอบด้วยผู้คนหลากหลายชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็จะมีสำเนียงการพูดที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นในอดีต หมู่บ้านต้นเปาไม่เคยมีต้นปอสาซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการทำแผ่นกระดาษอยู่ในหมู่บ้านเลย เพราะต้นปอสานั้นมักจะอยู่ในป่าตามธรรมชาติ ดังนั้นการทำกระดาษสาจึงน่าจะเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดกันมาหลายช่วงอายุตั้งแต่ก่อนจะอพยพ จนได้นำภูมิปัญญาการทำกระดาษสานี้มาทำต่อที่บ้านต้นเปา

          ในอดีตชาวต้นเปาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักและทำกระดาษสาช้อนบาง (การช้อนกระดาษจากบ่อสาให้เป็นแผ่นบาง) เป็นอาชีพรองในยามว่าง กระดาษสาที่ได้จะถูกนำมาใช้เขียนยันต์ ห่อของ ทำดอกไม้ ไส้เทียน ตุง คัมภีร์ โคมลอยและอีกส่วนหนึ่งจะนำไปขายภายในชุมชนใกล้เคียงเพื่อนำไปผลิตร่มและพัดที่บ้านบ่อสร้างซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกัน ซึ่งในขณะนั้นกระดาษสายังไม่เป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากนัก จะใช้กันแต่ในครัวเรือนภายในชุมชนเท่านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ชาวบ่อสร้างเริ่มเปลี่ยนการทำร่มและพัดจากกระดาษสาเป็นการทำจากผ้า เป็นผลให้มีการทำกระดาษสาลดลงมาก เหลือเพียงประมาณ 20 ครัวเรือนที่ยังคงทำกระดาษสาอยู่

          เมื่อความต้องการกระดาษสาลดลง ชาวต้นเปาบางส่วนก็หันไปทำอาชีพอื่น ไม่ว่าจะเป็นการทำไร่ทำนา บ้างก็หันไปทำงานแกะสลัก อีกส่วนหนึ่งก็ไปทำงานรับจ้างหรืองานประจำ แต่ยังมีคนในชุมชนบางคนที่ต้องการสืบทอดการทำกระดาษสาซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเอาไว้ จึงได้ยังคงทำกระดาษสาต่อไปไม่หันไปทำอาชีพอื่น จนกระทั่งในต่างประเทศเริ่มมีความนิยมใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ทำมาจากธรรมชาติมากขึ้น พ่อค้าคนกลางได้เข้ามาสืบเสาะหาแหล่งผลิตกระดาษสาทั้งจากการบอกเล่าปากต่อปากและจากผลิตภัณฑ์ที่มีขายจนกระทั่งได้มาพบการทำกระดาษสาที่หมู่บ้านต้นเปาแห่งนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระหว่างชุมชนกับพ่อค้าคนกลาง ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด จากกระดาษสาช้อนบางก็ได้พัฒนาขึ้นเป็นกระดาษสาย้อมสีธรรมชาติ กระดาษสาแตะดอกไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์มาจากกระดาษสา

           หลังจากที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษสาโดยใช้เทคนิคใหม่ ๆ ทำให้กระดาษมีความสวยงามและความหลากหลายมากขึ้นแล้ว ชาวต้นเปาแต่ละคนก็ได้นำแนวความคิดเหล่านั้นไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยมีอำเภอสันกำแพงเข้ามาดูแลเรื่องหัตถกรรมครัวเรือน นอกจากนั้นทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 1 ก็ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมด้านเครื่องมือ เทคนิคและความรู้ ด้านการทำกระดาษสาแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปั่นเยื่อสา การทำแผ่น รวมไปถึงด้านการตลาด

          ภาพกระดาษสาที่เคยตากอยู่เรียงรายก็เริ่มกลับมาให้เห็นอีกครั้งเมื่อคำสั่งซื้อและความต้องการของกระดาษสาเพิ่มขึ้น กำลังการผลิตที่มีอยู่ไม่เพียงพอจึ่งต้องมีการกระจายให้ชาวต้นเปาคนอื่นมาช่วยทำกระดาษสาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ด้วยเหตุนี้เองชาวต้นเปาที่เคยหันไปทำอาชีพอื่นก็ได้หันกลับมาทำอาชีพทำกระดาษสาเป็นอาชีพหลักมากขึ้น บ้างก็มาเป็นผู้ประกอบการกระดาษสารายใหม่ โดยผู้ผลิตแต่ละรายก็ได้พัฒนาและปรับปรุงกระดาษสาให้มีความหลากหลาย ก่อนจะนำมารังสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลายชนิดตามคำแนะนำและความต้องการของผู้ที่มาสั่งซื้อ ทำให้ผลิตภัณฑ์กระดาษสาของแต่ละร้านจากหมู่บ้านต้นเปามีจุดเด่นและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน

          ภายในชุมชนต้นเปายังได้มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชนจึงรวมกันเป็นระบบเครือข่ายธุรกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ทำให้การทำกระดาษสาสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ปีละนับล้านบาท นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากกระดาษสาหมู่บ้านต้นเปายังได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหลายประเภท เช่น รางวัลการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และรางวัลการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ชื่อเสียงของกระดาษสาบ้านต้นเปาเป็นที่รู้จักในวงกว้างและมีชื่อเสียงว่าเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาด้วยมือแบบดั้งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่

           ด้วยความที่กระดาษสาสามารถนำไปสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย จึงทำให้สมาชิกในชุมชนสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาตามที่ตนสนใจและมีความนัด รวมทั้งยังสามารถคิดต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อนำไปขายเป็นรายได้ให้แก่ครอบครัว โดยการทำผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาแต่ละอย่างนั้นจะต้องมีเทคนิคพิเศษที่แตกต่างกันออกไป เช่น

            1. แผ่นกระดาษสาจากบ้านต้นเปานี้จะมีความพิเศษเพราะเป็นกระดาษสาที่ทำมือ ไม่ได้ใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการทำ กระดาษสาจากบ้านต้นเปานี้มีหลายแบบตั้งแต่แผ่นกระดาษช้อนบางที่เป็นสีขาว กระดาษสาแตะดอกที่นำดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มาใส่เป็นลวดลายในแผ่นกระดาษสา ไปจนถึงการทำแผ่นกระดาษสาที่มีการผสมสีตั้งแต่ตอนปั่นเปลือกปอสาซึ่งต้องมีเทคนิคพิเศษในการผสมและเทียบสีไม่ให้มีความผิดเพี้ยน ต่อไปจนถึงการตากที่จะต้องไม่ทำให้สีตาย

            2. กระดาษสาบาติกและเชือกกระดาษสาที่มีสีสันสวยงามหลากหลายสีผสมกันในกระดาษหนึ่งแผ่นหรือเชือกหนึ่งเส้น การย้อมสีกระดาษสาเพื่อทำแผ่นกระดาษสาแบบบาติกและการย้อมสีเชือกกระดาษสานี้จะต้องใช้ความชำนาญในการย้อมสีให้สีติดเท่ากันทุกแผ่นทุกเส้นเมื่อย้อมพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก ผู้ทำจะต้องรู้ว่าสีไหนสามารถผสมเข้ากันและเกิดเป็นสีใหม่ได้ สีไหนเมื่อผสมกันแล้วจะกลายเป็นสีดำ นอกจากนั้นผู้ย้อมจะต้องมีการเว้นช่องว่างระหว่างสีให้พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อสีที่ย้อมจะไหลเข้าหากันแล้วเกิดเป็นสีใหม่คั่นอยู่ตรงกลางระหว่างสองสีเดิม

           3. การทำกระดาษสาอัดภาพนูนต่ำ ซึ่งเป็นการทำลวดลายภาพ 2 มิติลงบนกระดาษสาแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ตามต้องการ ซึ่งการทำกระดาษสาอัดภาพนูนต่ำนี้จะต้องมีเทคนิคพิเศษในการทำตั้งแต่การสร้างแบบพิมพ์ที่จะมีทั้งตัวเว้าและตัวนูน โดยจะต้องปั้นตัวต้นแบบด้วยดินน้ำมันและดินเหนียว ก่อนจะนำมาหล่อแบบด้วยปูนซีเมนต์เป็นแบบตัวเว้า จากนั้นจึงทำแบบตัวนูนเพื่อใช้ประกบและอัด โดยแบบตัวนูนนี้จะใช้ปืนยิงกาวฉีดกาวเข้าไปให้เต็มแบบตัวเว้าแล้วจึงแกะออกมา หลังจากนั้นจึงจะสามารถนำแบบพิมพ์ที่ได้นี้มาอัดกระดาษสาแล้วเติมส่วนที่เว้าด้วยเศษกระดาษผสมกาวให้เต็มแบบและนำไปตากจนแห้ง

          ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และได้รับความนิยมของหมู่บ้านต้นเปามีอยู่หลายอย่างด้วยกัน แต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์ขายดีของหมู่บ้านต้นเปานั้น ได้แก่ แผ่นกระดาษสาลาย บาติกและกระดาษสาแตะดอก กล่องกระดาษสา สมุดโน้ตและอัลบั้มที่ทำจากกระดาษสา นอกจากนั้น ที่หมู่บ้านต้นเปายังมีผลิตภัณฑ์กระดาษสาและผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากกระดาษสาแบบอื่น ๆ ที่สวยงามและมีหลากหลายแบบหลายขนาดไว้ให้ผู้ที่สนใจได้เลือกซื้อ เช่น กระดาษสาสกรีนลาย กระดาษสาแผ่นบาง โคมไฟกระดาษสา สมุดโทรศัพท์ คัมภีร์กระดาษสา เชือกกระดาษสา ถุงกระดาษสา ปกเมนูเยื่อสา กล่องกระดาษทิชชู การ์ดอวยพร กรอบรูป ร่มกระดาษสาบาติก และพัดกระดาษสา เป็นต้น

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่อง จาก

www.handicrafttourism.com

18,430 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่