คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ต้องรู้ ต้องลาย

การต้องลายโลหะของชาวเชียงใหม่

                                                                  ครูสล่าสร้างสรรค์หัตถศิลป์         บนแผ่นดินถิ่นล้านนานามเชียงใหม่

                                                            ดุนโลหะเกิดลวดลายตราตรึงใจ           วิจิตรไทยประณีตขีดบรรจง

            นับเป็นเวลาหลายร้อยปี ที่เมืองเชียงใหม่แห่งนี้ ก่อร้างสร้างตนจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองหลวงแห่งภาคเหนือ นอกจากจะมีชื่อเสียงในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยว ประเพณี วัฒนธรรมแล้ว เชียงใหม่ยังคงเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่ามากมาย

            เอกลักษณ์ที่สืบทอดกันมานานนับตั้งแต่สมัยพญามังราย และยังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันอีกอย่างหนึ่ง คือการต้องลายโลหะ (ภาษาเหนือออกเสียงว่า การต๋งลาย) หรือเรียกอีกชื่อว่า การบุดุนโลหะ คือการตอกลายบนแผ่นโลหะที่ถูกตีเป็นแผ่นบางเรียบ  ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยที่ช่างฝีมือจากเมืองพุกามเดินทางมาถ่ายทอดวิชาให้แก่ชาวเมืองในครั้งที่เริ่มก่อตั้งเชียงใหม่ 

 

              ในอดีต ชุมชนวัวลาย ตำบลหายยา ครูสล่าหลายท่านอาศัยอยู่ ณ ที่นี่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นช่างฝีมือในการต้องลายโลหะ งานหัตถศิลป์ที่เต็มไปด้วยความประณีต ความเอาใจใส่ ความรักถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของลวดลาย โดยผู้คนในละแวกนั้นยึดถือการต้องลายโลหะ การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน เครื่องประดับเป็นอาชีพหาเลี้ยงตนและครอบครัว

          ในอดีตการต้องลายโลหะจะใช้เครื่องเงินหรือคัวเงินในการดุนลาย แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้แผ่นอะลูมิเนียมหรือคัวเนียมแทน เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าและสามารถหาซื้อได้ง่ายกว่า นอกจากจะเปลี่ยนมาใช้อะลูมิเนียมแล้ว การต้องลายยังได้มีการเปลี่ยนแปลงจากงานจิตรกรรมที่ในอดีตมักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เน้นความวิจิตรบรรจงสวยงาม และใช้ประดับตามวัดวาอาราม ดังที่เห็นได้จาก อุโบสถเงิน วัดศรีสุพรรณ ที่เป็นอนุสรณ์สถานแสดงถึงความรุ่งเรืองของยุคเครื่องเงิน กลับกลายมาเป็นการทำเครื่องประดับ และสิ่งของที่สามารถใช้ประโยชน์ได้แทน ทั้งนี้ยังเปลี่ยนมาเป็นลายที่ทันสมัยมากขึ้น 

     

          เครื่องเงินยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมา แต่ต้องถูกลดความนิยมลงเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง จนกระทั่งพระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ ได้ปรึกษาหารือกับครูสล่าหลายท่าน จากนั้นจึงร่วมกันจัดตั้ง กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ” เพื่อเป็นการส่งต่อการต้องลายโลหะให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป จากรุ่นสู่รุ่น    

            ในปัจจุบัน การต้องลายโลหะยังคงมีผู้สืบสานงานศิลป์นี้ไว้ เพื่อไม่ให้สิ่งที่มีค่าได้สูญสลายไปเพราะสมัยนิยมและกาลเวลา การต้องลายโลหะไม่ได้เป็นเพียงแค่อาชีพ แต่ยังเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นเชียงใหม่ เมืองล้านนาที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของประวัติศาสตร์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก บ้านครูช่าง พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าสิบหมู่ล้านนา

เว็บไซต์ handicrafttourism.com

 

5,365 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่