กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)

อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)

16 กรกฎาคม 2563

ชื่นชอบ 1,637

21,016 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สำนักงานใหญ่ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่รองรับการดำเนินงานตามภารกิจหลัก 3 ประการ ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าวิจัยดาราศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ และการบริการวิชาการและสื่อสารดาราศาสตร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2559     ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า “อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร” เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563

  อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาทางดาราศาสตร์ของประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมศิลปวิทยาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ เป็นแหล่งค้นคว้า ศึกษาวิจัย บ่มเพาะและสร้างนักวิจัยดาราศาสตร์ เป็นศูนย์บริการข้อมูล ฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีดาราศาสตร์        จัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการที่สำคัญของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  ภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธรประกอบด้วย อาคารสำนักงานใหญ่ อาคารปฏิบัติการ และส่วนให้บริการประชาชน ได้แก่ 1) อาคารท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ 2) อาคารหอดูดาว 3) สวนพฤกษศาสตร์ ลานกิจกรรม และพื้นที่การเรียนรู้ภายนอกอาคาร

อาคารท้องฟ้าจำลอง และนิทรรศการ ประกอบด้วย ส่วนท้องฟ้าจำลองระบบฟูลโดมดิจิทัล 360 องศา ที่มีขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในภาคเหนือ รองรับระบบการฉายความละเอียดสูงสุด 8K ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 17 เมตร ความจุ 160 ที่นั่ง และพื้นที่สำหรับจอดรถเข็นผู้พิการ และส่วนนิทรรศการดาราศาสตร์แบบมีปฏิสัมพันธ์ บนพื้นที่ประมาณ 2,358 ตารางเมตร

อาคารหอดูดาว เป็นอาคารสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์แบบต่าง ๆ ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ด้านข้างเป็นระเบียงดาวมีหลังคาแบบเลื่อนเปิดออกได้ ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กและขนาดกลาง สำหรับให้บริการดูดาว สังเกตวัตถุท้องฟ้า ถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้า รวมถึงจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

สวนพฤกษศาสตร์ ลานกิจกรรม และพื้นที่การเรียนรู้ภายนอกอาคาร เป็นพื้นที่ที่เปิดให้ประชาชนได้เข้ามาออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังใช้จัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ และกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ เช่น กิจกรรมดูดาวสำหรับประชาชน การสังเกตปรากฏการณ์ท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ

 

 

บริหารจัดการ

องค์การมหาชน/องค์กรมหาชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  นิทรรศการดาราศาสตร์  - นิทรรศการดาราศาสตร์แบบมีปฏิสัมพันธ์ เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านอุปกรณ์ และ   วีดิโอแนะนำวิธีการเรียนรู้ พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเพิ่มเติม  โดยเรียงลำดับไว้เป็นเส้นทางทั้งหมด 17 โซน ได้แก่        การสำรวจระบบสุริยะ เสียงแห่งเอกภพ การเกิดเฟสดวงจันทร์ การเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง  เครื่องตรวจจับรังสีคอสมิก สเปกตรัมกับ   การศึกษาทางดาราศาสตร์ การสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า รูม่านตากับความเข้มแสง การเกิดฤดูกาล การเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ น้ำหนักของคุณบนดาวเคราะห์ การเกิดพายุบนดาวเคราะห์แก๊ส อุกกาบาต วิวัฒนาการดาวฤกษ์ ไทม์ไลน์การกำเนิดเอกภพ ลูกตุ้มเพนดูลัมกับการพิสูจน์การหมุนของโลก ยานสำรวจดาวอังคาร นอกจากนี้ในอนาคตยังมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรูปแบบของนิทรรศการเพื่อให้เกิดความหลากหลายในการเรียนรู้

ท้องฟ้าจําลอง - ท้องฟ้าจำลองระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียดสูงสุด 8K ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 17 เมตร ความจุ 160 ที่นั่ง จัดฉายรอบละ 60 นาที แบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่  การบรรยายสดเกี่ยวกับการดูดาวเบื้องต้น จากกลุ่มดาวบนท้องฟ้าที่หมุนเปลี่ยนแปลงไปทุกสัปดาห์ รวมถึงวัตถุท้องฟ้าประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ กระจุกดาว กาแล็กซี และเนบิวลา นอกจากนี้ยังมีการจำลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในช่วงนั้น ส่วนที่สองเป็น การฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์ในรูปแบบฟูลโดม ความละเอียดสูงสุด 8K มีภาพยนตร์ดาราศาสตร์มากกว่า 10 เรื่อง หมุนเวียนฉายเรื่องละ 1 เดือน เนื้อหามีความหลากหลาย เช่น ภาพยนตร์ดาราศาสตร์สำหรับเด็ก ภาพยนตร์สำหรับนักเรียนที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดาราศาสตร์ ภาพยนตร์เกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าและเอกภพ ภาพยนตร์เกี่ยวกับการสำรวจอวกาศ รวมทั้งภาพยนตร์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม

 

แผนที่

Map

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

260 หมู่ 4 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์ : 053 121268
โทรสาร : 053 121250
เว็บไซต์ : http://www.narit.or.th/index.php
อีเมล : info@narit.or.th

วันและเวลาทำการ

 

นิทรรศการดาราศาสตร์

วันอังคาร - วันศุกร์

09:00 - 16:00 น.

วันเสาร์ - วันอาทิตย์

10:00 - 17:00 น.

รอบฉายท้องฟ้าจำลอง

วันอังคาร - วันศุกร์

11:00 - 12:00 น. และ 14:00 - 15:00 น.

วันเสาร์

11:00 - 12:00 น. / 14:00 - 15:00 น.

17:00 - 18:00 น.

วันอาทิตย์

11:00 - 12:00 น. และ 14:00 - 15:00 น.

กิจกรรมดูดาว 

NARIT Public Night

ทุกวันเสาร์ 

เดือนพฤศจิกายน - เดือนพฤษภาคม

18:00 - 22:00 น.

 

ค่าเข้าชม

นิทรรศการดาราศาสตร์ - ชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ท้องฟ้าจำลองฟูลโดมดิจิทัล - ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 30 บาท

กิจกรรมดูดาว NARIT Public Night - เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

จองและซื้อบัตรเข้าชมท้องฟ้าจำลองฟูลโดมดิจิทัล
ล่วงหน้าอย่างน้อย 1  วันทำการ ที่ Line@ : @narit.astropark

สอบถามเพิ่มเติมโทร.  0840882261

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีพื้นที่สำหรับรถเข็นเข้าชมในท้องฟ้าจำลอง
มีลิฟท์ และรถเข็นอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

ร้านอาหาร

ที่จอดรถ

พื้นที่พักผ่อนและออกกำลังกาย

44

แบ่งปัน

กิจกรรม

20 ก.ย. 2566

12 พ.ย. 2566

20 กันยายน 2566
เปิดตัว “ยุววิจัยดาราศาสตร์”  โครงการสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ที่สนใจการทำวิจัยดาราศาสตร์ เปิดโลกการศึกษาดาราศาสตร์แบบเข้มข้น  ผ่านกิจกรรมมากมาย อาทิ เรียนรู้การทำวิจัยกับนักดาราศาสตร์ตัวจริงจาก 6 สาขา - ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ และชีวดาราศาสตร์ - ภูมิอากาศโลก สภาพอวกาศ และวัตถุใกล้โลก - ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ - เอกภพวิทยา และฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูง - ดาราศาสตร์วิทยุ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สัมผัสประสบการณ์การทำงานวิจัยขั้นสูง พบปะกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเป็นที่ปรึกษาโครงงานมากกว่า 10 ปี เรียนรู้การทำงานของนักดาราศาสตร์ และเหล่าวิศวกรดาราศาสตร์มืออาชีพ เยี่ยมชมนิทรรศการดาราศาสตร์ และท้องฟ้าจำลองที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย   ความรู้พื้นฐานของผู้สมัคร 1) เข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) มีพื้นฐานโปรแกรม Microsoft excel 3) มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เลขยกกำลัง  ฟังก์ชันลอการิทึม ตรีโกณมิติ และการเทียบบัญญัติไตรยางค์ 4) มีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ ได้แก่ กลศาสตร์ และคลื่น    กำหนดการจัดกิจกรรม : วันที่ 27 - 30 พฤศจิกายน 2566  ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่   กำหนดการรับสมัคร หมดเขตส่งใบสมัคร : 12 พฤศจิกายน 2566 ประกาศผลคัดเลือก : 15 พฤศจิกายน 2566 ยืนยันเข้าร่วมค่าย : 15-17 พฤศจิกายน 2566 *รับจำนวนจำกัด เพียง 20 คน เท่านั้น (คัดเลือกจากใบสมัคร)   อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รายละเอียดโครงการยุววิจัยดาราศาสตร์ https://www.narit.or.th/index.php/student/sapw รายละเอียดโครงการ+กำหนดการ https://bit.ly/Project_2024 ใบสมัคร (Google Forms) https://bit.ly/register_2024 (แนะนำให้สมัครด้วย Computer นะครับ)   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 053-121268 ต่อ 305 (โครงการยุววิจัยดาราศาสตร์)

15 ก.ย. 2566

15 กันยายน 2566
พบกันเย็นนี้ กับ ดร. ดี หลี่ นักดาราศาสตร์สุดเก๋าจากจีนตัวจริงเสียงจริง NARIT ชวนฟังเรื่องเล่า "สำรวจเอกภพด้วยดวงตาแห่งจักรวาลของจีน"  โดย ดร. ดี หลี่ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์แห่ง FAST กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้    เจาะลึกความสำเร็จของกล้องที่ทำให้เกิดงานวิจัยตีพิมพ์กว่า 300 ฉบับในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่การค้นพบเหล่า Fast Radio Burst ที่น่าสนใจ พบพัลซาร์ใหม่กว่า 800 ดวง และการวัดสนามแม่เหล็กระหว่างดวงดาวได้อย่างแม่นยำ ร่วมสัมผัสอนาคตของวงการดาราศาสตร์ กับการศึกษาจักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุดไปพร้อมกัน   วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 18:00-19:00 น. (เริ่มลงทะเบียน 17:00 น.) ณ ท้องฟ้าจำลอง อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://bit.ly/FASTSpecialTalk ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (บรรยายภาษาอังกฤษ) สอบถามเพิ่มเติม โทร. 081-8854353

14 ก.ค. 2566

04 ส.ค. 2566

14 กรกฎาคม 2566
NARIT ร่วมกับ สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่  จัดแสดงภาพถ่ายดาราศาสตร์ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์:เชื่อมสองฟ้า พาน้ำปิงอิงน้ำลัวร์" ชมภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย พร้อมตื่นตาตื่นใจกับ VR ที่จะพาคุณไปสัมผัสกับ มหัศจรรย์ท้องฟ้า และพาท่องไปในอวกาศ   8 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2566  ณ สมาคมฝรั่งเศส เชียงใหม่ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 053 275 277 / 0800671650 Line ID : 0800671650 อีเมล : infochiangmai@alliance-francaise.or.th

12 พ.ค. 2566

14 มิ.ย. 2566

12 พฤษภาคม 2566
NARIT เชิญชวนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ  ฟอร์มทีมร่วมแข่งขันตอบปัญหาดาราศาสตร์ระดับประเทศ  “Astro Challenge : ปริศนาดาราศาสตร์” ประจำปี 2566 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกียรติบัตร และทุนการศึกษา    สมัครแข่งขัน บัดนี้ - 4 มิถุนายน 2566 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์แข่งขัน รายละเอียดการแข่งขัน และสถานที่แข่งขัน วันที่ 6 มิถุนายน 2566 ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ / https://narit.or.th/ รอบคัดเลือก : 17 มิถุนายน 2566 รอบชิงชนะเลิศ : 18 สิงหาคม 2566 ณ เวทีกลาง งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 อิมแพ็ค เมืองทองธานี    สมัครเข้าร่วมแข่งขัน : https://bit.ly/AstroChallenge2023-Regis รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.narit.or.th/index.php/news/2960 สอบถามเพิ่มเติม โทร. 053-121268 ต่อ 210-212 หรือ 081-8854353 (ในวัน-เวลาราชการ)

13 ม.ค. 2566

14 ม.ค. 2566

13 มกราคม 2566
NARIT ASTROFEST 2023 มหกรรมดาราศาสตร์ วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566  วันเด็กแห่งชาติ 14 มกราคม 2566 เวลา 09.00 – 22.00 น.  อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่  หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา / ฉะเชิงเทรา / สงขลา ร่วมงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย    อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ : แรลลี่นิทรรศการดาราศาสตร์เก็บแต้มลุ้นรางวัล ท่องเอกภพในท้องฟ้าจำลองฟูลโดมดิจิทัลรอบพิเศษตลอดทั้งวัน เปิดบ้านเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์และวิศวกรรมขั้นสูงสุดล้ำ หลากหลายกิจกรรมดาราศาสตร์สำหรับเด็กและครอบครัว อาทิ ประดิษฐ์แก้วกลุ่มดาว DIY สร้างสรรค์กลุ่มดาวจากหลอดไฟ LED จิ๋ว ฯลฯ เกมดาราศาสตร์แสนสนุกกับ Astronomy Fun Fair พบปะนักดาราศาสตร์และวิศวกรตัวจริงเสียงจริง กิจกรรม NARIT Public Night และ Star Party ชมดาวเคล้าเสียงดนตรี กิจกรรม Glow in the Dark พิเศษสุดๆ กับคาราวานกล้องโทรทรรศน์จากโรงเรียนเครือข่ายและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เพลิดเพลินกับ Star Market สารพันสินค้าอาหารในธีมดาราศาสตร์ กิจกรรมลุ้นรับกล้องโทรทรรศน์และของรางวัลมากมาย สอบถามเพิ่มเติม โทร. 081-885 4353  รายละเอียดอีเวนท์เพิ่มเติม : https://bit.ly/NARITAstroFest2023-CMIinfo   หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา : เรียนรู้นิทรรศการดาราศาสตร์ ท่องเอกภพในท้องฟ้าจำลองฟูลโดมดิจิทัล กิจกรรมดาราศาสตร์ อาทิ บันไดงูดาราศาสตร์ จรวดลม การประกวดว่าวในเทศกาลว่าวหรรษาดวงดาราหฤหรรษ์ ฯลฯ ช่วงค่ำกับกิจกรรมดูดาวเคล้าเสียงดนตรี ปิ้งข้าวจี่ และมาร์ชเมลโล ร่วมลุ้นของรางวัลพิเศษตลอดงาน พิเศษสุดๆ กับการเปิดบริการพื้นที่กางเต็นท์ สอบถามเพิ่มเติม/ลงทะเบียนกางเต็นท์ โทร. 084-088 2264   หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา :  เรียนรู้นิทรรศการดาราศาสตร์ ท่องเอกภพในท้องฟ้าจำลองฟูลโดมดิจิทัล เพลิดเพลินกับกิจกรรมดาราศาสตร์มากมาย อาทิ เกมปกป้องโลก เกมล่าดาวเคราะห์น้อย DIY เฟสดวงจันทร์อย่างง่าย กิจกรรมดูดาวเคล้าเสียงดนตรี ร่วมลุ้นของรางวัลพิเศษทุกชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติม โทร. 086-429 1489   หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7  รอบ พระชนมพรรษา สงขลา : เรียนรู้นิทรรศการดาราศาสตร์ ท่องเอกภพในท้องฟ้าจำลองฟูลโดมดิจิทัล สนุกกับการแข่งขันส่งจรวดสู่ดวงจันทร์ DIY บิงโกดาราศาสตร์ เรียนรู้การทำงานของกล้องโทรทรรศน์ นิทรรศการภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ช่วงค่ำร่วมชมดาวเคล้าเสียงเพลง Special Talk รู้จักปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ และน่าติดตามในปี 2566 เกม Astronomy Davinci และร่วมลุ้นรับของรางวัลมากมายตลอดงาน สอบถามเพิ่มเติม โทร. 095-145 0411
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง