คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม

เชิงซิ่นตีนจกดิ้นคำ มรดกล้ำค่าของสาวกะเหรี่ยง

            งานประเพณีและวิถีชีวิต สตรีชาวไทโยนนิยมนุ่งซิ่นตีนจกในงานบุญประเพณีต่างๆ อาทิงานปอยหลวง งานถวายผ้าจุลกฐิน (ทอผ้าจีวรให้เสร็จภายในหนึ่งวัน) พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีสืบชะตา พิธีเรียกขวัญ ประเวณีปี๋ใหม่เมือง งานรดน้ำดำหัว งานบุญยี่เป็ง ประเวณีตานก๋วยสลาก ในพิธีแต่งงาน ลูกสะใภ้ต้องนำผ้าซิ่นตีนจกไปไหว้แม่สามี เป็นต้น กล่าวกันว่าสตรีชาวไทโยนจะต้องทอผ้าตีนจกอย่างน้อยคนละ 1 ผืน นอกเหนือจากใช้สวมใส่ในงานพิธีสำคัญแล้ว ยังมีการเตรียมซิ่นตีนจกไว้นุ่งห่มหลังจากความตายเพื่อให้ดวงวิญญาณ ได้ไปสักการะพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์  สำหรับผู้ที่มีความขยันมักจะทอผ้าตีนจกอย่างน้อย 3 ผืนในชีวิต

               ผืนที่ 1 เพื่อใช้นุ่งห่อศพตอนเสียชีวิต และนำไปเผาพร้อมกับร่าง โดยเชื่อว่าผู้ตายได้สวมใส่ไปบูชายังพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

               ผืนที่ 2 ให้ลูกหลานนำไปถวายทาน ตอนทำบุญอุทิศส่วนกุศล เพราะเชื่อว่าจะทำให้ได้นุ่งตีนจกไปสู่สวรรค์

               ผืนที่ 3 จะให้ลูกหลานเก็บไว้ เพื่อเป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันไป

               งานผ้าทอเชียงใหม่ในอดีตเป็นไปตามวิถีชีวิตของทุกชุมชน คือเมื่อเสร็จจากการทำนาทำไร่ ก็เป็นเวลาสร้างสรรค์งานหัตถกรรม โดยคำนึงถึงการใช้สอยในครัวเรือนก่อนนำไปจำหน่าย แลกเปลี่ยน มีทั้งการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย โดยแหล่งทอผ้าของเชียงใหม่ อยู่ในอำเภอสันกำแพง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอดอยเต่า การทอผ้านอกจากทอไว้สำหรับใช้งานหรือจำหน่ายแล้ว ยังเป็นการถ่ายทอดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมผ่านตัวผ้า บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนที่แตกต่างกัน

                 ผ้าทอแม่แจ่มมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ที่เรียกว่า "ซิ่นตีนจก" จุดกำเนิดซิ่นตีนจกของแม่แจ่ม สืบฝีมือมาจากเชื้อสายพญาเขื่อนแก้ว ผู้ปกครองเมืองเชียงราย ในสมัยมีการอพยพผู้คนของ พระญากาวิละนั้น  พระองค์ได้ไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองเชียงแสน ซึ่งมีฝีมือการทอผ้าตีนจก เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านอาราม (บ้านป่าแดดอำเภอแม่แจ่ม  เดิมก่อนสองร้อยปีที่ผ่านมา   แต่ละปีท้าวพญา

เชียงแสนต้องส่งส่วยเครื่องบรรณาการให้กับเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่หนึ่งครั้ง ของที่ส่งประกอบด้วยข้าว ไม้สัก รวมถึงผ้าทอตีนจก ต่อมาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ส่งวัสดุมีค่าประเภทดิ้นเงินดิ้นทองผสมไหมมาให้ชาวเชียงแสนทอผ้าซิ่นส่งให้เจ้านายฝ่ายใน

               กระทั่งเมื่อย้ายชาวเชียงแสนมาอยู่ที่แม่แจ่ม สตรีชาวไทโยน (ไทยวน) จากเชียงแสนยังคงทอผ้าตีนจก ส่วนหนึ่งก็เพื่อใช้เป็นส่วยส่งให้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ด้วยฝีมืออันประณีต ทำให้ราชสำนักเชียงใหม่ยังคงมีการส่งดิ้นเงินดิ้นทองจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ไปยังแม่แจ่ม เพื่อให้ทอส่งกลับเข้าไปยังคุ้มหลวงนครเชียงใหม่ โดยมีกฎมณเฑียรบาลห้ามชาวบ้านสวมซิ่นที่ทอด้วยดิ้นเงิน-ดิ้นทองหรือไหมราคาแพง ทำให้ผ้าซิ่นตีนจกที่ทอด้วยวัสดุต่างกัน ได้กลายมาเป็นเครื่องบ่งชี้สถานภาพทางสังคม

               สตรีชั้นสูงห่มสไบ   นุ่งผ้าซิ่นตีนจก ส่วนคนมีฐานะรองลงมา จะนุ่งผ้าซิ่นพื้นเมืองแบบ        "ซ่ินก่าน" หรือ "ซ่ินต๋า" (ซิ่นที่มาลายเป็นตาๆ ) กล่าวคือตัวซ่ินสีเหลืองหรือสีอ่อนแต่งลายตามขวาง ท้ิงชายซิ่นหรือตีนซ่ินสีดํา ไม่ตกแต่งลวดลายตีนจก

                  ในชีวิตประจำวันนั้น ผู้หญิงใส่เสื้อบะห้อย (เสื้อคอกระเช้า) ทับด้วยเสื้อปีก หรือเสื้อหลองแดง (เสื้อรองแดง) แล้วนุ่งผ้าซิ่นต๋า หากมีงานพิเศษก็จะนุ่งผ้าซิ่นตีนจก ผ้าฝ้ายพื้นสีขาวนั้นปลูกเอง หากเป็นฝ้ายสีแดง-น้ำเงินจะเป็นการนำเข้าจากตะวันตกแถวสาละวินในพม่าและจากจีน เนื่องจากเชียงแสนเป็นเมืองทางผ่านด้านวัตถุดิบสินค้าวัวต่างจากจีนฮ่อและเชียงตุงมาสู่เชียงใหม่

               ในส่วนของทำเลที่ตั้งของแม่แจ่มเองก็อยู่ในระหว่างเส้นทางการค้าระหว่างล้านนาตอนบนกับหงสาวดี ประเทศพม่า ส่งผลต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลในการผลิต ในอดีตการจกตีนซิ่นของผ้าตีนจกจะใช้ฝ้ายจาก 2 แหล่ง คือ 1. ฝ้ายจากทางฝั่งตะวันตก เมืองผาปูน พะอาน และเมืองทางใต้ของลุ่มน้ำสาละวิน และ 2. ฝ้ายจากฝั่งตะวันออก ได้มาจากเมืองจอมทอง เรียกว่า ฝ้ายละหัน ซึ่งมีคุณภาพด้อยกว่า

          ในอดีตการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกเป็นการถ่ายทอดกันระหว่างคนในครอบครัว ผู้หญิงทุกคนจะต้องสามารถทอผ้าได้ โดยจะเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อายุประมาณ 6 – 7 ปี เป็นการเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไปทีละนิดจากครอบครัว  ทุกบ้านจะมีเครื่องมือทอผ้าคือ หูกและเครื่องอีดฝ้ายอยู่ใต้ถุนบ้าน

               ลวดลายเกือบทั้งหมดเป็นลวดลายที่ทำสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ เว้นเสียแต่ว่าหากช่างทอคนใดมีความสามารถพิเศษ ก็สามารถประดิษฐ์ลวดลายใหม่ที่เป็นของตนเองได้ การทอผ้านั้นจะใช้เวลาที่เหลือจากการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจําวัน เช่น การทํานา การทําไร่ การทําสวน สีที่ใช้สําหรับทอในอดีตจะได้มาจากการย้อมตามธรรมชาติ เช่น สีแดงได้มาจากเปลือกไม้ หรือ ก้อนหิน สีดําได้มาจากลูกมะเกลือ สําหรับชาวเชียงแสนแล้วการทอผ้าเป็นสิ่งที่แสดงถึงความพร้อมของผู้หญิงในการออกเรือน อีกทั้งลวดลายในการทอก็เป็นสิ่งที่แสดงถึงความสามารถและความพยายามของผู้หญิงคนนั้นด้วย

               จุดเด่นคือลวดลายการทอที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นลายเก่าแก่มีถึง 15 ลาย เป็นลายละเอียด มีสีสันมากกว่า 5 สีขึ้นไป เช่น ลายโคมเชียงแสน หงส์ดำ ลายเชียงแสนหลวง ลายเชียงแสนน้อย ลายโคมละกอนหลวง ลายละกอนน้อย  ลายนาคกุม ลายขันสามแอว ลายขันแอวอู เป็นต้น

                 การทอผ้าตีนจกแม่แจ่ม ต้องใช้ความละเอียดในการจก รวมถึงการสอดสีเส้นฝ้าย การทอแต่ละผืนจึงใช้เวลานาน  อย่างไรก็ตามการทอผ้าตีนจกของชาวแม่แจ่มก็ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตอย่างเหนียวแน่น ทำอยู่แทบทุกครัวเรือน  เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน  จึงทำให้ผ้าตีนจกยังคงมีมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับ  มีผู้รักและเห็นความสำคัญ (คุณนุสรา เตียงเกตุ) ได้เข้าไปศึกษาฟื้นฟูลวดลายดั้งเดิม การย้อมสีธรรมชาติ ศึกษาเทคนิค และลักษณะลายผ้าต่างๆ แล้วนำมาสร้างสรรค์ โดยเพิ่มเทคนิคใหม่ๆ  สร้างความหลากหลายให้กับผ้ายิ่งขึ้น อย่างเช่น การทอผ้าที่มีรอยแยกระหว่างผ้า เกิดเป็นช่องว่างทั่วไป ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผ้าทอ โดยการแบ่งด้ายยืนเป็นส่วนๆ และใช้ด้ายพุ่งจำนวนหลายชุด ทอวนกลับไปมาพร้อมๆ กัน ทำให้ด้ายยืนแยกออกจากกัน เป็นริ้วทางแนวตั้ง เกิดเป็นช่องว่างในผืนผ้าขึ้น ส่วนด้ายพุ่งอีกจำนวนมีหน้าที่ร้อยประสานรอยแยก โอบผืนผ้าทั้งหมดไว้ด้วยกัน การทอนั้นใช้เวลานานกว่าทอแบบปกติ

               ในปัจจุบันแหล่งทอผ้าหลายชุมชน ได้ปรับเปลี่ยนและสูญหายไปเป็นจำนวนมาก มีเพียงบางแหล่งที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น สถานที่แห่งนั้นคือผ้าทอที่อำเภอแม่แจ่ม

ขอบคุณภาพและเนื้อหา  จาก

ดร.เพ็ญสุภา  สุขคตะ

23,964 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่