สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
ปางช้างแม่สา ตั้งอยู่ที่ บ้านแม่สา ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านช้างที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย
การก่อตั้งปางช้างแม่สา
ในอดีต ช้างอยู่คู่กับเมืองไทยมานานมากกว่า 1000 ปี คนกับช้างอยู่ด้วยกัน ทำงานด้วยกัน มีชีวิตร่วมกัน ทั้งในเวลาปกติ และในเวลาสงคราม 2470 ยุคล่าอาณานิคม ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ช้างเปลี่ยนจากการเป็นทหารมาเป็นแรงงาน สำหรับทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในส่วนลึกของป่า เพื่อให้ได้ไม้สักที่ดีที่สุดในโลก ต้องมีช้างเป็นผู้ช่วยในการลำเลียง 2519 กำเนิดปางช้างแม่สา
“ปางช้างแม่สา” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2519 โดย คุณชูชาติ กัลมาพิจิตร ซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลได้สนับสนุนให้เชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวมากันมาก แล้วมีเสียงเรียกร้องจากบริษัทนำเที่ยวต่างๆ ว่าน่าจะมีการทำปางช้างเพื่อการท่องเที่ยวขึ้น คุณชูชาติจึงตัดสินใจลงทุนทำ ปางช้างแม่สา ขึ้น เริ่มจากการขอเช่าพื้นที่จำนวน 30 ไร่เศษ บริเวณหมู่บ้านแม่แมะ จากกองพันสัตว์ต่างซึ่งเคยเป็นปางช้างเก่าอยู่แล้วและขอเช่าช้างจากคนกะเหรี่ยงที่อำเภอสะเมิงมา 5-6 เชือก มีช้างจำนวนหนึ่งได้มาทำงานในปางช้างแม่สา ซึ่งเป็นตำแหน่งใหม่ของช้างในการให้ประสบการณ์ที่สุดแสนวิเศษแก่นักท่องเที่ยวได้สัมผัสเพื่อนคู่ชีวิตของควาญช้าง เป็นงานที่ไม่มีอันตราย ไม่เสี่ยงภัย ไม่เสี่ยงต่อนายพราน และทำให้คุณภาพชีวิตของช้างดีขึ้นอย่างมาก ปี 2536 เพื่อรักษาป่าไม้ที่เหลืออยู่น้อยนิด รัฐบาลได้ยกเลิกการสัมปทานป่าไม้ ช้างลากซุงที่ทำงานในป่า ตกงานกันเป็นจำนวนมาก สร้างความวิตกกังวลแก่ควาญช้างและครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่ก็เป็นโอกาสอันดี ที่งานอันตราย จะได้จบลง และเริ่มต้นชีวิตใหม่ ทั้งช้าง ควาญช้าง และครอบครัวของควาญช้างเอง ปัจจุบันแม้ช้างจะมีชีวิตที่ดีกว่าในอดีตมาก แต่ความรู้สึกว่าช้างเป็นเพื่อนร่วมโลกที่เราต้องให้ความรักไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น ปางช้างแม่สา ได้สร้างสรรค์โปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีประสบการณที่ดีที่สุด ต่อผู้มาเยี่ยมเยือน และต่อตัวช้างเอง แต่สิ่งที่เป็นมากเกือบ 40 ปีนี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนได้อย่างชั่วข้ามคืน
การขยายพันธุ์ช้าง
ช้างในปางช้างแม่สาเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จะได้รับการบรรจุให้เข้าโปรแกรมการผสมพันธุ์ โดยจะมีการเช็คความสมบูรณ์พันธุ์และประวัติการให้ลูกของช้างเชือกนั้น แล้วจึงนำช้างมาหมุนเวียนสัมผัสกัน ระหว่างช้างพ่อพันธุ์และช้างแม่พันธุ์ว่าช้างแม่พันธุ์ยอมรับให้ขึ้นผสมพันธุ์หรือไม่ เมื่อถึงช่วงเวลาสมบูรณ์คือช่วงที่นายสัตวแพทย์เช็คฮอโมนต์การสืบพันธุ์หรือการสังเกตุอาการของช้าง จึงเริ่มจับคู่ปล่อยให้ช้างผสมพันธุ์กัน โดยใช้เวลาต่อครั้งประมาณ 3-4 วันปัจจุบันปางช้างแม่สาได้มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับหน่วยงานหลายส่วน เช่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง เป็นต้น ในการวิจัยผสมเทียมช้างด้วยน้ำเชื้อสด และน้ำเชื้อแช่แข็ง ซึ่งหากโครงการประสบความสำเร็จแล้วเชื่อว่าจะสามารถลดความกังวลเรื่องการสูญพันธุ์ของช้างไทยได้ในระดับหนึ่ง
การผสมเทียม
การผสมเทียมแบ่งออกเป็น 2 ช่วงการทดลอง ช่วงที่ 1 จะทำการผสมช้าง 10 เชือก ด้วยน้ำเชื้อสด ที่เจือจางด้วยสารละลายน้ำเชื้อที่มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาน้ำเชื้อได้ดีที่สุด โดยผสมครั้งละ 3 วัน (วันก่อนเกิด ระดับของฮอร์โมนลูทิไนซิงสูงขึ้น 1 วัน วันที่เกิดระดับของ ฮอร์โมนลูทิไนซิงสูงขึ้นและหลังจากวันนั้น 1 วัน) ในการ ผสมแต่ละครั้งจะใช้อสุจิที่มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ ไปข้างหน้าไม่ต่ำ 60% ความเข้มข้นของเซลล์อสุจิไม่ต่ำกว่า 25 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรและใช้ปริมาตรอย่างน้อย 10 มิลลิลิตร เมื่อประสบความสำเร็จมีช้างเพศเมียตั้งท้องจากการ ผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่เย็นแล้วจึงพัฒนาไปสู่การทดลอง ในช่วงที่ 2 ซึ่งจะทำการผสมเทียมในช้างอีก 10 เชือก ด้วยน้ำเชื้อที่ผ่านการแช่แข็งด้วยสารเจือจางน้ำเชื้อและสารป้องกันอันตรายจากการแช่แข็งที่ให้คุณภาพน้ำเชื้อหลังจากอุ่นละลายที่ดีสุด โดยผสมครั้งละ 3 วัน (วันก่อนเกิด ระดับของฮอร์โมนลูทิไนซิงสูงขึ้น 1 วัน, วันที่เกิดระดับฮอร์โมน ลูทิไนซิงสูงขึ้นและหลังจากนั้น 1 วัน) ในการผสมแต่ละครั้ง จะใช้อสุจิที่มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 50% ความเข้มข้นของเซลล์อสุจิไม่ต่ำกว่า 25 ล้านตัว ต่อมิลลิลิตรและใช้ปริมาตรอย่างน้อย 10 มิลลิลิตร ทำการผสมเทียมโดยการใช้กล้องส่อง ตรวจภายในขนาดความยาว 1.7 เมตร ทำการสอดผ่าน ทางช่องคลอดร่วมกับการกำหนดตำแหน่งโดยใช้คลื่น ความถี่สูง (ultrasonography) ผ่านทางทวารหนักโดยใช้ หัวตรวจขนาด 3.5 MHz ช่วยกำหนดตำแหน่งในการ ปล่อยน้ำเชื้อ การฉีดน้ำเชื้อเข้าท่อพลาสติกผสมเทียม ชนิดพิเศษที่สอดอยู่ในช่องอุปกรณ์ของกล้องส่องตรวจ ภายใน การปล่อยน้ำเชื้อจะปล่อยที่ช่องเปิดที่ปากมดลูก แล้วใช้แรงดันจากกระบอกฉีดยาดันน้ำเชื้อเข้าไปในปากมดลูก
แม่สาเนอสเซอรี่
ลูกช้างจะอาศัยอยู่กับแม่ช้างที่เนอสเซอรี่แห่งนี้จนกระทั่งอายุ 2 ปี ในช่วงระยะเวลาหลังจากนี้ลูกช้างจะถูกฝึกและเรียนรู้ทักษะต่างๆ จากควาญช้างที่มีประสบการณ์เพื่อเตรียมพร้อมเป็นนักแสดงที่ดีต่อไป
เนื่องด้วยสถิติจำนวนช้างที่น้อยลง ปางช้างแม่สาจึงได้ทุ่มเทความรู้และความเชี่ยวชาญของเราเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนช้างในประเทศ ความสำเร็จในการสืบพันธุ์ช้างของเราถูกถ่ายทอดผ่านเนอสเซอรี่ช้างแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ที่ลูกช้างตัวน้อยอาศัยและใช้ชีวิตช่วงวัยเด็ก อยู่กับแม่ของตนและควาญช้างซึ่งให้การดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เรายังส่งเสริมสืบสานสายพันธุ์ช้างไทยโดยการร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในการศึกษาและพัฒนาการสืบพันธุ์ของช้างทั้งแบบตามธรรมชาติและการผสมเทียม คุณสามารถสัมผัสวิถีชีวิตของครอบครัวช้าง ได้อย่างใกล้ชิดที่เนอสเซอรี่ช้างแม่สา โดยใช้เวลาเดินเพียง 5 นาทีจากลานแสดงช้าง
ช้างท้องนานเท่าใหร่?
ช้างท้องประมาณ 18-22 เดือน ปกติช้างคลอดท้องละ 1 ตัว น้ำหนักแรกเกิด ประมาณ 100 กิโลกรัม ปางช้างแม่สาจะพักงานช้างที่ท้องตั้งแต่อายุท้องประมาณ 10 เดือนขึ้นไป โดยมีโรงเรือนที่พักแยกออกมาโดยเฉพาะ ช้างท้องจะได้รับการพักผ่อนและ ดูแลด้านอาหารน้ำดื่มอย่างพอเพียงมีควาญช้างและนายสัตวแพทย์คอยดูแล อย่างใกล้ชิด
ช้างทำงาน
ช้างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ในพื้นโลก ณ ปัจจุบันนี้ และในประเทศไทยก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่มีช้างอาศัยอยู่ ช้างที่อยู่ในประเทศไทยเป็นช้างเอเชีย ชนิดย่อยอินเดีย (Elephant maximus indices) นับแต่ อดีตกาลที่ผ่านมา ช้างได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงเพื่อประโยชน์ต่างๆนานา ตั้งแต่เป็นราชพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน ในยามศึกสงครามหรือแม้แต่เป็นแรงงานในป่า ซึ่งนับได้ว่าช้างเป็นผู้มีพระคุณต่อคนไทยเป็นอย่างยิ่งปัจจุบันบทบาทของช้างได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
ช้างถูกเปลี่ยนมือจากเจ้าของที่มีอาชีพทำไม้มาเป็นช้างในธุรกิจการท่องเที่ยว ต้อนรับแขกต่างๆ และนั่นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การดำรงชีวิตของช้างเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในเรื่องพฤติกรรมการกินการเป็นอยู่ หรือแม้แต่การสืบเผ่าพันธุ์ จึงขึ้นอยู่กับผู้ที่นำช้างมาเลี้ยงนั่นเองช้างในธุรกิจการท่องเที่ยวในปัจจุบันได้เพิ่มจำนวนขึ้นจากอดีต เป็นอย่างมากและแพร่หลายไปตามสถานที่ต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในส่วนของปางช้างแม่สาซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ใช้ช้างในการท่องเที่ยว ตระหนักถึงผล กระทบที่มีต่อช้างเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีโครงการต่างๆมากมายที่ช่วยให้ช้างมีความเป็นอยู่ที่ดีและสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป
ช้างพัก
ช้างทำงานก็เหมือนคนทำงานถ้าเหนื่อยก็พักช้างก็เช่นกัน ในเวลาที่ทุกคนกำลังมีความสุขอยู่กับการชื่นชมความน่ารักและความสามารถของเหล่าช้างดาราที่กำลังแสดงอยู่นั้นยักษ์ทรงพลังทั้งหลายของเราก็กำลังพักผ่อนอยู่โดยทุกคนอาจจะไม่ทันสังเกตุแม้แต่ช้างแสดงของเราก็ยังต้องการการพักผ่อนเมื่อการแสดงจบลงเหล่าช้างน้อยทั้งหลายก็จะพากันไปพักผ่อนเช่นเดียวกัน รวมถึงเพื่อนคู่ชีวิตของช้างเหล่านั้นด้วย “ช้างพักมีหลายพักเช่นช้างบาดเจ็บเราก็เอา ไปพักช้างป่วยเราก็เอาไปพัก ช้างทำงานเราก็มี เวลาพักให้ช้าง ทำงานก็มีสองอย่างคือ ช้างแหย่งสำหรับ แบกคนเข้าไปท่องเที่ยวในป่า อีกอย่างคือช้างโชว์ คือการแสดงความสามารถด้านต่างๆ ให้ผู้คน ได้ชื่นชมกัน เวลาพักเนี่ยช้างโชว์ก็จะพักเวลาที่ แสดงเสร็จ วันหนึ่งก็แสดง 3 รอบ ถ้าตอนเช้า 8 โมงคนไม่เยอะก็แสดง 2 รอบพอ คือรอบ 10 โมงกับรอบ บ่ายโมงครึ่งที่เหลือก็พักผ่อนไป
ช้างพักส่วนช้างแหย่งก็ จะพักตอนช้างโชว์แสดง พอช้างโชว์แสดงเสร็จ ช้างแหย่งก็จะพักบริเวณนี้กินอาหารกินน้ำ จะไปทำงานอีกทีตอน 9 โมง ก็จะเดินอีกนิดหน่อย ไปพักอีกทีก็ 10 โมงตอนช้างโชว์แสดง ช้างแหย่ง จะทำงานอีกทีก็ 10.30 เดินยาวเดินสั้นแล้วแต่แขก จองมา จะไปพักทั้งควาญทั้งช้างอีกทีก็เที่ยงเลยกิน อาหารกินน้ำด้วยกันทั้งคนทั้งช้าง ไปเริ่มงานอีกที ก็บ่ายโมง แต่ตอนบ่ายนี่คนไม่เยอะช้างเดินสบายๆ พักเยอะ บางวันคนน้อยกลับบ้านก่อนก็มีก็ขำๆกันไป”
ช้างชรา
คุณชูชาติ กัลมาพิจิตร ผู้ก่อตั้งปางช้างแม่สา ได้พูดไว้ว่า “ช้างทุกเชือกหลังจากปลดระวางพวกเรานำเขาไปเลี้ยงในป่า ใกล้ๆกับปางช้างแม่สานั้นเอง เราดูแลช้างเหล่านี้เพราะว่าช้างเหล่านี้ ไม่รู้ว่าจะดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างไร”
แต่ปัญหาคือเมื่อช้างไม่สามารถ ทำงานได้ก็ส่งผลให้ควาญช้างไม่มีรายได้ที่มากพอ ทำให้ควาญช้างและ ครอบครัวต้องพบกับความลำบากในการดำรงชีวิตสุดท้ายช้างเหล่านั้น ก็ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวในป่าเปรียบเหมือนกับคนที่ต้องอยู่ตัวคนเดียวช้าง เหล่านี้ต้องอยู่อย่างลำพังจนกระทั่งสิ้นชีวิตไปอย่างโดดเดี่ยว นี่เป็นจุดประสงค์ของคุณชูชาติที่ต้องการเปลี่ยนชีวิตโดดเดียวของช้างชราให้มี ความสุขมากขึ้นในช่วงสุดท้ายของชีวิต
กิจกรรมบ้านควาญช้าง ณ ปางช้างแม่สา
ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมีความต้องการใช้ชีวิตแบบควาญช้าง และสัมผัสช้างอย่างใกล้ชิด ปางช้างแม่สา จึงเพิ่มกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า บ้านควาญช้าง คอยบริการนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้โดยนักท่องเที่ยวจะได้ศึกษาความเป็นอยู่ของช้าง การดูแลช้าง วิธีการขี่ช้าง การอาบน้ำให้ช้าง การทำผลงานศิลปะกับช้างเป็นต้น
ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
www.maesaelephantcamp.com