สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
“เวียงกุมกาม” ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเมือง โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียงเป็นเมืองทดลองที่สร้างขึ้นมา ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่
การสถาปนา
“เวียงกุมกาม” เกิดขึ้นหลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย(ลำพูน)อยู่ 2 ปี พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่างและมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นก็คือ”เวียงกุมกาม” แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงนั้นมีน้ำท่วมอยู่ทุกปี จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหายคือพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัยและพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่และเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา จึงสรุปได้ว่าเวียงกุมกามนั้นเป็นเมืองที่ทดลองสร้างขึ้น
การล่มสลาย
เวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101 – 2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา พม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้งๆที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมาก ผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา สภาพวัดต่างๆและโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ใต้ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม
การขุดค้นพบ
ในปี พ.ศ. 2527 เรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการและประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง(ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545 ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านาต่างๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ
ที่ตั้ง และ ลักษณะ
เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน
ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภีและอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง
โบราณสถานที่สำคัญ
หลังจากที่หน่วยกรมศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ได้ทำการขุดค้นหาซากเมืองและโบราณสถานเพิ่มเติมก็ได้ค้นพบเจอวัดต่างๆที่จมอยู่ใต้พื้นดินเป็นจำนวนหลายวัด ดังต่อไปนี้
วัดกู่คำ หรือวัดเจดีย์เหลี่ยม
เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเวียงกุมกาม พญามังรายทรงให้ขุดคูเมืองทั้ง ๔ ด้าน แล้วนำดินที่ขุดได้มาทำเป็นอิฐประกอบกับการใช้ศิลาแลงเพื่อก่อเจดีย์ ลักษณะเจดีย์เป็นเจดีย์กลวงสี่เหลี่ยมข้างในเจดีย์มีทางเข้าออกได้ มีพระพุทธรูปประดับด้านละ ๑๕ องค์ แต่ละด้านมีซุ้มพระชั้นละ ๓ องค์ มี ๕ ชั้น รวมทั้งองค์เจดีย์มีพระพุทธรูป ๖๐ องค์ โดยวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐมเหสีพระองค์หนึ่งที่สิ้นชีวิตที่เวียงกุมกาม
วัดกานโถม หรือวัดช้างค้ำ
เป็นวัดสำคัญของเวียงกุมกามควบคู่กับวัดกู่คำ สาเหตุที่ชื่อวัดกานโถม เพราะตั้งชื่อตามนายช่างกานโถมหรือหลานของพญามังราย ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดนี้ พญามังรายโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมธาตุที่ได้จากประเทศลังกา ลักษณะเจดีย์มีฐานกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๘ เมตร ทำซุ้มคูหา ๔ ทิศ ชั้นล่างไว้พระพุทธรูป ๔ องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืน ๑ องค์ การซ่อมเจดีย์กานโถม ครั้งสุดท้ายอยู่ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ผลของการซ่อมได้กลายเป็นศิลปะพม่าซึ่งเป็นเจดีย์รูปช้างค้ำ อันเป็นที่มาของชื่อวัดช้างค้ำ
วัดหัวหนอง
ตั้งอยู่ในเวียงกุมกาม ใกล้กำแพงเมืองด้านเหนือ วัดมีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างประกอบด้วยซุ้มโขงประตูใหญ่ อุโบสถ มณฑป วิหารและเจดีย์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าเป็นที่ประทับของกษัตริย์มาก่อน
วัดธาตุขาว
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงกุมกาม อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ ๑ เมตร ประกอบด้วยเจดีย์ อุโบสถ และมณฑป ลักษณะสถาปัตยกรรมของเจดีย์เป็นเจดีย์กลม ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม แบบศิลปะล้านนา