คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เวียงท่ากาน

เวียงท่ากาน

          แหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน ตั้งอยู่ที่บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ทิศเหนือ  ติดกับบ้านพระเจ้าทองทิพย์

ทิศใต้  ติดกับบ้านสันกะวาน

ทิศตะวันออก  ติดกับบ้านหนองข่อย

ทิศตะวันตก  ติดกับบ้าต้นกอก และบ้านต้นแหนหลวง

ลักษณะทั่วไป

          เวียงท่ากาน มีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๔๖๐ x ๗๔๐ เมตร ความกว้างของคูน้ำประมาณ ๘ เมตร สภาพคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นเขตเมืองนั้นยังมีสภาพตื้นเขิน เหลือสภาพแนวคูน้ำคันดินให้เห็น ๓ ด้าน บริเวณรอบเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงกว่าที่นาโดยรอบ

หลักฐานที่พบ

           ๑. เจดีย์ทรงมณฑป ฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบหก ก่ออิฐก่อดินฉาบปูน กว้างประมาณ ๓.๕ เมตร ส่วนยอดเจดีย์พัง ความสูงของเจดีย์ที่เหลือประมาณ ๓ เมตร ตัวเจดีย์ถูกลักลอบขุดเป็นโพรง

           ๒. เป็นโบราณสถาน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ห่างประมาณ ๒๐ เมตร ขนาดประมาณ๖.๘ x ๘ เมตร พื้นที่เนินปกคลุมด้วยต้นไม้และวัชพืช พบแนวอิฐส่วนฐานวางตัวตามทิศตะวันออก - ตะวันตก ยาวประมาณ ๔ เมตร สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร

           ๓. ศิลปวัตถุที่พบตามบริเวณเจดีย์ ส่วนใหญ่เป็นพระพิมพ์ดินเผา ที่เรียกชื่อว่า พระแผง(หรือกำแพงห้าร้อย) พระสาม พระสิบสอง พระบัวเข็ม พระคง พระเลี่ยงหลวง พระสามใบโพธิ์ พระร่มโพธิ์ ซึ่งเป็นวัตถุที่มีรูปลักษณะศิลปกรรมของสมัยหริภุญไชย นอกจากนี้ก็พบมูยาสูบ(กล้องยาสูบ) ตุ้มตาชั่งสัมฤทธิ์ ตุ้มแห ชามเวียงกาหลง คอสิงห์ดินเผา ศิลปวัตถุที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ โถลายครามจีนสมัยปลายราชวงศ์หยวน ขนาดสูงประมาณ ๓๘ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตรงกลางโถประมาณ ๓๒ เซนติเมตร เส้นรอบวงประมาณ ๑๐๖เซนติเมตร มีหูเล็ก ๆ เป็นรูปมังกร

            การเดินทางจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด เป็นระยะทางประมาณ 34 ก.ม. จนถึงทางแยกเข้าบ้านท่ากานบริเวณปากท่างบ้านทุ้งเสี้ยว เป็นระยะทางเข้าไปประมาณ 2 ก.ม. โดยผ่านพื้นที่บ้านต้นกอกสภา เมืองเก่าเวียงท่ากานมีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว และมีกำแพงดินหรือคันดินล้อมรอบ 2 ชั้นปัจจุบันเหลือแนวคูน้ำ คันดินให้เห็น 3 ด้านยกเว้นด้านทิศใต้    ตัวเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงพื้นโดยราบเป็นที่ราบลุ่มห่างจากลำน้ำปิงประมาณ 3 ก.ม.   ทางทิศตะวันออกมีลำน้ำแม่ขานไหลผ่านห่างจากตัวเมือง เวียงท่ากานประมาณ 2 ก.ม.    นอกจากนี้ยังมีลำเหมือง(ลำห้วย) สายเล็กๆ  ชักน้ำจากน้ำแม่ขานมายังคูเมืองทางทิศใต้และยังมีลำเหมืองขนาดเล็ก ชักน้ำเข้ามาใช้ภายในเมืองทางทิศตะวันออก ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นระบบ ชลประทาน ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ

         สภาพภายใต้ในตัวเมืองเดิมเป็นป่าทึบต่อมามีการโค่นต้นไม้ใหญ่หักล้างพื้นถางโพรงเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยพื้นที่บริเวณชายเนินที่เป็นที่นาทั้งหมด   ปัจจุบันบ้านเรือนราษฎรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตัวเมืองชาวบ้านท่ากานส่วนใหญ่เป็นพวกชาวยองที่อพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละปกครองเมือง เชียงใหม่คนส่วนใหญ่พูดภาษายอง

            คำว่า “ท่ากาน” ชาวบ้านเล่าว่ามาจากคำว่า “ต๊ะก๋า”  ในตำนานเล่าว่า เมื่อก่อน นี้มีกาเผือกตัวใหญ่จะบินลงที่นี้ชาวบ้านกลัวว่าเมื่อบินลงมาจะทำ ให้เกิดความเดือดร้อน  ในหมู่บ้านจึงพากันไล่กาหรือต๊ะก๋าไม่ให้มาลงก็เลยเรียกต่อกันมาว่า บ้านต๊ะก๋า ต่อมาเมือประมาณพ.ศ.2450 จ้าอาวาสวัด ท่ากานได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบ้านท่ากาน เนื่องจากคำว่า บ้านต๊ะก๋า ไม่เป็น ภาษาเขียน

          จากหลักฐานทางด้านเอกสารและตำนานหลายฉบับ เช่นตำนานมูลศาสนา พงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวโดยรวมไว้ว่า เมืองท่ากาน  เป็นเมืองที่มีประวัติเกี่ยวกับนิยายปรัมปราทางพุทธศาสนากล่าวถึงพระพุทธเจ้า ว่าเคยเสด็จมาที่เมืองนี้  เมื่อมาถึงยุคล้านนา   และจากการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี  ได้พบโบราณวัตถุศิลปกรรมแบบหริภุญไชยจำนวนมาก  เช่น  พระพิมพ์ดินเผาแบบต่าง ๆ  พระพุทธรูปดินเผา   เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าชุมชนแห่งนี้นับถือพุทธศาสนามาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 17 – 18  ส่วนโบราณสถานที่พบ  ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่กำหนดอายุสมัยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 แสดงถึงการอยู่อาศัยสืบเนื่องกันมาโดยตลอด  แม้ในสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า  ภายหลังที่เชียงใหม่พ่ายแพ้แก่พระเจ้าบุเรงนอง  ในปี พ.ศ. 2101

          เวียงท่ากาน ปรากฏชื่อใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า “เวียงพันนาทะการ” อาจจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง เนื่องจากพญามังราย (พ.ศ. 1804-1854)โปรดให้นำต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาทวีปหนึ่งต้นจากจำนวนสี่ต้น  มาปลูกที่เมืองเวียงพันนาทะการ  เวียงท่ากานเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารเพราะเป็น  ถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ชื่อของเวียงท่ากานปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกนาถกล่าวว่าพระองค์ได้เสด็จยกทัพ ไปตีเมืองเงี้ยวและได้นำเชลยเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงท่าการ  หมายถึงว่าในช่วงนี้เวียงพันนาทะการมีฐานเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่   เพราะคำว่าพันนาในภาษาไทยเหนือหมายถึงตำบล

          หลังจากพม่าเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ในสมัยพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง  เวียงท่ากานจึงตกอยู่ในอำนาจของพม่าเช่นกันต่อมาเมืองเชียงใหม่ถูกทิ้งร้างไปประมาณ 20 ปีเศษ คือในช่วงระหว่าง (พ.ศ.2318-2339) เวียงท่ากานก็คงจะร้างไปด้วย จนถึงช่วงปี พ.ศ.2339  พระเจ้ากาวิละทรงตี เมืองเชียงใหม่คืนจากพม่าได้จึงกวาดต้อนพวกไทยยองเข้ามาอยู่ตราบจนทุกวันนี้ ประชากรบ้านท่ากาน ส่วนใหญ่เชื้อสายไทลื้อ  ที่เรียกตัวเองว่า “ชาวยอง”  เนื่องจากอพยพมาจากเมืองยองในพม่า  เข้ามาอาศัยในบริเวณเวียงท่ากาน  เป็นระยะเวลากว่า  200 ปี  เป็นชุมชนที่รักท้องถิ่น  รักษาวัฒนธรรมประเพณีอย่างเคร่งครัด  เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งที่อยู่อาศัยและของดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่ในพื้นที่  จึงรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม  จนได้รับโล่พระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ในฐานะผู้สนับสนุนการอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี  พ.ศ. 2531  เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย

โบราณสถานภายในเวียงท่ากานที่สำคัญ

1.  วัดกลางเมือง                7.  วัดหนองหล่ม

2.  วัดอุโบสถ                    8.  วัดน้อย

3.  วัดต้นโพธิ์                    9.  วัดป่าเป้า

4.  วัดหัวข่วง                   10.  วัดป่าไผ่รวก

5.  วัดพระเจ้าก่ำ               11.  กู่ไม้แดง

6.  วัดต้นกอก

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

www.wiangtakan.blogspot.com

www.prapayneethai.com

 

12,805 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่