สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
วัดแห่งนี้คือที่จำพรรษาของสมเด็จพะโคะ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเล พระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนให้ความนับถือมากมาย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดราชประดิษฐาน แต่ชาวบ้านก็ยังคงนิยมเรียกกันติดปากว่าวัดพะโคะอยู่อย่างนั้น ทั้งนี้ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าชม ได้แก่
• พระสุวรรณมาลิก เจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากลังกา
• พระพุทธไสยาสน์ หรือพระโคตมะ
• พระพุทธรูปปั้นสีทองปางปรินิพพานยาว 18 เมตร สูง 2.5 เมตร ฝีมือช่างปั้นท้องถิ่น
• รอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปยอดเขา ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรอยพระบาทของสมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ หรือหลวงพ่อทวดนั่นเอง
• รูปจำลองและอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชมุนีสามีราม ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑปบนยอดเขา โดยวางคู่กับรอยพระพุทธบาทเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะโดยสะดวก
• พิพิธภัณฑ์วัดพะโคะซึ่งเปิดให้เข้าชมเมื่อปี พ.ศ. 2536 จัดแสดงของต่าง ๆ มากมาย เช่น พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผาเครื่องทองเหลือง มีดพร้า ตะบันหมากทองเหลือง ธนบัตรและเหรียญสมัยก่อน เครื่องถ้วยกระเบื้อง นอกจากนี้ยังมีวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่อทวด เช่น อัฐบริขาร จีวร ไม้เท้าของหลวงปู่ทวด ลูกแก้วบารมี เป็นต้น
ปาฏิหาริย์แห่งหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเล
มีเรื่องเล่ากันว่า วันหนึ่งมีโจรสลัดแล่นเรือเลียบมาตามฝั่ง เห็นสมเด็จพะโคะ หรือหลวงปู่ทวดเดินอยู่ ซึ่งท่านมีลักษณะแปลกกว่าคนทั้งหลาย จึงใคร่จะลองดี โจรสลัดได้จอดเรือและจับสมเด็จพะโคะไป เมื่อเรือแล่นมาได้สักครู่ เกิดเหตุเรือแล่นต่อไปไม่ได้ ต้องจอดอยู่หลายวันจนในที่สุดน้ำจืดหมดลง โจรสลัดเดือดร้อนกันไปทั่ว สมเด็จพะโคะสงสารจึงเอาเท้าซ้ายแช่ลงไปในน้ำทะเล เกิดเป็นประกายโชติช่วง และน้ำทะเลได้กลายเป็นน้ำจืด โจรสลัดเกิดความเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้ขอขมา และนำสมเด็จพะโคะขึ้นฝั่ง ตั้งแต่นั้นมาเมื่อเรื่องราวแพร่สะพัด ประชาชนจึงพากันไปกราบไหว้บูชากันเป็นจำนวนมาก