กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี

17 มกราคม 2566

ชื่นชอบ 649

29,845 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มต้นรวบรวมและเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ จากการนำนักศึกษาออกศึกษาภาคสนามมาใช้ประกอบการเรียนการสอน และได้นำตัวอย่างบางส่วนมาจัดนิทรรศการเพื่อให้ผู้สนใจเข้าชม ต่อมาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์พืชนานาชาติ ซึ่งนับเป็น 1 ใน 4 ของพิพิธภัณฑ์พืชในประเทศไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์พืชนานาชาติ

 

คณะวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา จึงยกระดับเป็นหน่วยงานอิสระขึ้นตรงกับคณะวิทยาศาสตร์ และต่อมาตั้งชื่อเป็น “พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” โดยรวมกิจกรรมในส่วนของพิพิธภัณฑ์พืชเข้าไว้ด้วยกันเพื่อขยายกิจกรรมให้ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งวิจัยด้านธรรมชาติศึกษาแก่ชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้ และเป็นแหล่งวิจัยด้านธรรมชาติศึกษาของนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ

 

จากผลงานวิจัยและการจัดเก็บตัวอย่างต้นแบบอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้งานของพิพิธภัณฑสถานแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น และในปี พ.ศ.2549 ทางพิพิธภัณฑ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนาม ตั้งชื่อเป็น “พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี” หรือ “Princess Maha Chakri Sirindhorn Natural History Meseum” พร้อมทั้งมีพระราชานุญาติให้อัญเชิญพระนามาภิไทยย่อ “สธ” มาประดิษฐาน พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี จึงดำเนินภารกิจเพื่อ สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ นับแต่นั้นมา

 

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี ได้จัดแสดงนิทรรศการทางธรรมชาติวิทยาไว้ในบริเวณตึกพิพิธภัณฑ์ฯ หรือ “ตึกไดโนเสาร์” เนื่องจากบริเวณด้านหน้าตึกมีรูปปั้นของไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยตั้งอยู่ 3 ตัว  พื้นที่จัดแสดงหลักๆ 6 บริเวณ ได้แก่

 

  • พื้นที่นอกอาคาร จัดแสดงลักษณะของพืชพรรณ และระบบนิเวศ

- ชนิดของหิน

- พืชป่าชายหาด

- สังคมพืชชุ่มน้ำ

 

  • โถงอาคาร ใช้เป็นพื้นที่รวมพลเพื่อแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับภาพรวมของพิพิธภัณฑ์ฯ ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวนิทรรศการหลัก พื้นที่ดังกล่าวยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเล็กๆ เช่น

- ตู้ปลาน้ำจืดและตู้ปลาน้ำเค็ม

- หุ่นจำลองปลาฉลามและปลากระเบน

- นิทรรศการแสดงพันธกิจของพิพิธภัณฑ์

  • พื้นที่ชั้นที่ 1 จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับต้นกำเนิดของธรรมชาติ ตั้งแต่การก่อเกิดจักรวาล ไปจนถึงการกำเนิดสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการ โดยมีการจัดเรียงเนื้อหาตามช่วงเวลา เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เข้าใจถึงความเป็นมาของโลก ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน

- อวกาศและดวงดาว

- ธรณีวิทยา

- หินและแร่

- ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย และคาบสมุทรไทย

- การกำเนิด และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

- ซากดึกดำบรรพ์

- มาตราธรณีกาล

  • ชั้นลอย มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ  เป็นพื้นที่นิทรรศการชั่วคราว ซึ่งจะปรับเปลี่ยนเพื่อให้สาธารณชนได้ความรู้ที่หลากหลาย และทันสมัย
  • ชั้นที่ 2 ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เป็นพื้นที่ที่อธิบายเกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นตัวอย่างจริง ซึ่งจะสร้างความรู้สึกตื่นเต้น และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น และการเรียนรู้ให้กับผู้เข้าชมได้

- สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่

- โครงกระดูก

- ปะการัง

- สัตว์ขาข้อ

- มอลลัสก์ (ปลาหมึก และหอย)

- ปลา

- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน

- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

- เมล็ด และผล

  • ชั้นที่ 3 ระบบนิเวศ เป็นการจำลองระบบนิเวศแบบต่างๆ โดยอธิบายถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต ในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของระบบนิเวศ และเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์

- ระบบนิเวศทางทะเล

- ระบบนิเวศชายฝั่ง

- ระบบนิเวศป่าเขตร้อน

- ระบบนิเวศเขาคอหงส์

- ระบบนิเวศถ้ำหินปูน

- บริการเชิงนิเวศของป่า

- ระบบนิเวศในแนวปะการังเทียม

- ระบบนิเวศย่อยบนต้นไทร

- นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ตึกไดโนเสาร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์ : 0-7428-8067-8
โทรสาร : 0-7444-6682
เว็บไซต์ : http://www.nhm.psu.ac.th/
อีเมล : psu.museum@gmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการ ทุกวันอังคาร-เสาร์ (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เวลา 09:00-16:00 น.

พิกัด : https://maps.app.goo.gl/HHpV6kDSsHHbKy7V8?g_st=ic

ค่าเข้าชม

• เด็กส่วนสูงไม่เกิน 120 เซนติเมตร/ ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี

• นักเรียน / นักศึกษา / บุคลากร ม.อ. ท่านละ 20 บาท

• ผู้ใหญ่ / บุคคลทั่วไป ท่านละ 30 บาท

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

  • กรณี walk in ไม่เกิน 15 ท่าน สามารถซื้อตั๋วได้ที่จุดจำหน่ายตั๋วเข้าชม ภายในอาคารได้เลย
  • กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ มีรอบเข้าชม ดังนี้

- รอบที่ 1 เข้าชม เวลา 09:00-10:30 น.

- รอบที่ 2 เข้าชม เวลา 10:30-12:00 น.

- รอบที่ 3 เข้าชม เวลา 13:00-14:30 น.

- รอบที่ 4 เข้าชม เวลา 14:30-16:00 น.

 

**หมายเหตุ จำกัดจำนวน รอบละ ไม่เกิน 150 คน

(1) จองเข้าชมเป็นหมู่คณะผ่านระบบจองเข้าชมได้ที่ เว็บไซต์ https://nhm.psu.ac.th/booking/

(2) กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรบรรยายนิทรรศการ

กรุณาติดต่อและจองเข้าชมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ได้ที่ 074-282 782

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

24

แบ่งปัน

กิจกรรม

19 มิ.ย. 2567

25 ก.ค. 2567

19 มิถุนายน 2567
พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.และกรมทรัพยากรธรณี ขอเชิญน้องๆ สถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ และผู้ที่สนใจร่วมงาน เทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุง (Phatthalung Fossil Festival) ในโครงการการเผยแพร่แนวทางการเชื่อมโยงแหล่งมรดกธรณี กับการบูรณาการการท่องเที่ยว    วันที่ 24-25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 - 19.00 น.  ณ อาคารซากดึกดำบรรพ์ ๕๐๐ ล้านปี เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ จ.พัทลุง   พบกับนิทรรศการ นิทรรศการจากกรมทรัพยากรธรณี พบกับสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์มากมาย ไดโนเสาร์ สัตว์ทะเลโบราณ เรียนรู้เรื่องราวของอุทยานธรณี  พร้อมกิจกรรมและของรางวัลสุดว้าว นิทรรศการเผยความลับโลกบรรพกาล นิทรรศการจำลองห้องแล็บนักบรรพชีวิน นิทรรศการจากพิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. นิทรรศการป่าสาคู จากงานวิจัยสู่ชุมชน รวมถึงนิทรรศการอื่นๆ การจัดแสดงนิทรรศการ กิจกรรม และสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน การประชุม เสวนา เผยแพร่แนวทางการเชื่อมโยงแหล่งมรดกธรณี กับการบูรณาการการท่องเที่ยว   กิจกรรมพิเศษเสริมการเรียนรู้ภายในบูท **ลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อทำการสำรองที่นั่ง** ตามล่าหาฟอสซิล ฟอสซิลปริศนา (Mystery Box) ท่องเที่ยวโลกบรรพกาล สีสันแห่งซากดึกดำบรรพ์ Workshop สบู่ไทรโลไบต์ Night walk (นิเวศราตรี) โปสการ์ด เข็มกลัด แม็กเน็ทและพวงกุญแจ D.I.Y โดยลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/mQoHpb555EYXMyPN6   สถานที่จัดงาน อาคารซากดึกดำบรรพ์ ๕๐๐ ล้านปี  https://maps.app.goo.gl/iBorC3r1meFWRrg5A   ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 074-282 784 LINE OA : https://lin.ee/pPBV6z0

27 พ.ค. 2567

21 ก.ค. 2567

27 พฤษภาคม 2567
พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี ชวนน้องๆ ผู้ปกครอง โรงเรียน สถาบันการศึกษาและผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรม “เปิดโลกธรณีคาบสมุทรไทย” ที่แรกและที่เดียวในภาคใต้ เริ่มจองตั๋วได้แล้ววันนี้   โครงการเปิดโลกธรณีคาบสมุทรไทย  วันที่ 19-21 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารีฯ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา  **โดยพิพิธภัณฑ์ ฯ จะเปิดเฉพาะกิจสำหรับโครงการนี้เท่านั้น**   ราคาตั๋วเข้าร่วมกิจกรรม 200 บาท/คน/รอบ (ครึ่งวัน) วันมี 2 รอบ แบ่งเป็น เวลา 9.00 - 12.00 และ 13.00-16.00 น. รับจำนวนจำกัด พิเศษ มีเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมที่ลงทะเบียนซื้อบัตรเข้าร่วมกิจกรรม    พบกับกิจกรรม  • เครื่องปั้นดินเผา  • เปิดโลกอัญมณี  • เรียนรู้ดูแร่  • สอดส่องมองหิน • โลกใบจิ๋วของซากดึกดำบรรพ์ • เข็มกลัด พวงกุญแจ D.I.Y. • กระบะทรายตามล่าหาฟอสซิล  • นิทรรศการ Fossil gallery • สำรวจโครงสร้างธรณีเขาคอหงส์และความหลากหลายทางชีวภาพ (เต็มแล้ว) แต่ละฐานกิจกรรมมีเวลาทำกิจกรรมตามที่ได้แจ้งไว้   เพิ่มเพื่อน LINE Official คลิกเลย https://lin.ee/pPBV6z0 เพื่อซื้อตั๋วเข้าร่วมกิจกรรมนี้ล่วงหน้า พร้อมสอบถามรายละเอียด  . ส่วนนิทรรศการเปิดให้บริการทุกวันอังคาร-เสาร์ เวลา 09:00 - 16:00 น. (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และกรณีพิเศษ) ปิดให้บริการวันจันทร์และวันอาทิตย์ เข้าชม โทร. 074-282782 Map ตึกหลังไดโนเสาร์ https://maps.app.goo.gl/3xt2wfNiGZ9P7yob8?g_st=ic

05 เม.ย. 2567

07 เม.ย. 2567

29 มีนาคม 2567
PSUNHM Museum On Tour พิพิธภัณฑ์ฯ สัญจร พา On Tour to พัทลุง ณ เขาเจียก ในงาน Phatthalung Coffee Craft Music#4 วันที่ 6-7 เมษายน 67 เวลา 09.00 – 20.00 น.  มาคลายร้อนกับคาราวานพิพิธภัณฑ์สัญจร ณ เขาเจียก พัทลุง  มาดำดิ่งสู่ท้องทะเลโบราณ 250 ล้านปี ยุคไทรแอสซิก กับเหล่าซากดึกดำบรรพ์ พบกับนักวิจัย และนักกิจกรรม ที่ยกทัพกิจกรรมพิเศษต่างๆ มามากมาย   กิจกรรมฟังบรรยายเรื่อง ซากดึกดำบรรพ์พัทลุง โดย ดร.กิตติชัย ทองเติม ณ บริเวณลานกิจกรรมเขาเจียก อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง • รอบที่ 1 เวลา 09.30-11.00 น.  • รอบที่ 2 เวลา 13.30-14.00 น.    กิจกรรมนั่งตุ๊กตุ๊ก ชมฟอสซิลรอบเขาเจียก โดย ดร.กิตติชัย ทองเติม ณ บริเวณลานกิจกรรมเขาเจียก อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง รับจำกัดจำนวนรอบละ  15 คน • รอบที่ 1 เวลา  11.00-11.30 น. • รอบที่ 2 เวลา  14.30-15.00 น. • รอบที่ 3 เวลา  16.00-16.30 น. ลงทะเบียนสำรองที่นั่งฟรี คลิ๊กลิงก์ https://forms.gle/t7zTioA6WxYTZFzRA   กิจกรรมอื่นๆ อาทิ เช่น ระบายสีปูนพลาสเตอร์ เข็มกลัดและแม็กเน็ต สบู่ไทรโลไบต์ ของที่ระลึกจากพิพิธภัณฑ์ฯ   ติดตามร้านค้าอื่นๆได้ทางเพจหลักของงาน https://www.facebook.com/profile.php?id=100089856446890...

19 ก.พ. 2567

05 เม.ย. 2567

19 กุมภาพันธ์ 2567
ปิดเทอมนี้ ชวนน้องมา SUMMER NATURE CAMPS 2024 กับพิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ กิจกรรมด้านธรรมชาติวิทยา โดยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติ กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่จะเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ โดย นักกิจกรรมของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ  และกิจกรรมเสริมทักษะด้านภาษาจีนและภาษาอังกฤษ  โดย อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   ค่าลงทะเบียน รายสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2,500 บาท/คน รายวัน วันละ 650 บาท/คน กิจกรรมแบบไป-กลับ (ไม่ค้างคืน) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.  (รับลงทะเบียนเฉพาะผู้ที่มีอายุ 5-12 ปี) ส่วนลดพิเศษ สำหรับน้อง ๆ ที่ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง ต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ ลดค่าลงทะเบียน 5% ต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ ลดค่าลงทะเบียน 10% ลงทะเบียน https://forms.gle/xW88Wf7hjiBReiZr5   รายละเอียดกิจกรรม  สัปดาห์ที่ 1 : วันที่ 18 - 22 มีนาคม 2567 • Doodle art ธรรมชาติ...วาดเส้น • มหัศจรรย์สัตว์ใต้ท้องทะเล • My Collection • ขุมทรัพย์ในป่า • ย้อนเวลา 500 ล้านปี • กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการ • เสริมทักษะภาษาจีน • เสริมทักษะภาษาอังกฤษ   สัปดาห์ที่ 2 : วันที่ 25-29 มีนาคม 2567 • นักสำรวจหอย • OH GLOW เรืองมหัศจรรย์ • เกล็ด (ผีเสื้อ) ความรู้ • Nature of Art • กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการ • เสริมทักษะภาษาจีน • เสริมทักษะภาษาอังกฤษ   สัปดาห์ที่ 3 : วันที่ 1-5 เมษายน 2567 • ปักษาพาเพลิน • นักสืบใบไม้ • ความลับของกะโหลก • ส่องรอยเท้าสัตว์ • แพลงก์ตอนและโลกใบจิ๋ว • คุยเฟื่องเรื่องดวงดาว • กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการ • เสริมทักษะภาษาอังกฤษ หมายเหตุ*: กิจกรรมภายในสัปดาห์อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 074-282 784 Inbox Facbook : https://www.facebook.com/psunhm

12 ม.ค. 2567

13 ม.ค. 2567

12 มกราคม 2567
พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. ขอเชิญนักสำรวจตัวน้อย มาร่วมผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์  ในธีม “THE WAY OF AVATAR” ทำความรู้จักกับเหล่าสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ  ความมหัศจรรย์และความลับของธรรมชาติ จากสิ่งมีชีวิตตัวแทนแต่ละกลุ่ม ได้แก่  กลุ่มแมลง กลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก กลุ่มปู  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับฟอสซิล โดยเรียนรู้ผ่านตัวละครอวตาร   เสาร์ ที่ 13 มกราคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  Map: https://maps.app.goo.gl/3xt2wfNiGZ9P7yob8?g_st=ic   สอบถามข้อมูล โทร. 074-282782 พิพิธภัณฑ์ เปิดทุกวันอังคาร-เสาร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. Facebook : https://www.facebook.com/psunhm
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง