คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ศาสนาและความเชื่อ

ตราด 3 ศาสนา อยู่รวมกันเป็น 1

         ชาวตราด มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย แม้ว่าจะมีชนหลายเชื้อชาติ หลายศาสนาอยู่ร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างที่ต่างกัน แต่ชาวตราดมิได้มีความขัดแย้งใดๆ ต่อกัน จะถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันทำให้เกิดความผสมผสานทางวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ที่กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

         ศาสนาพุทธ ชาวตราดส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 95.5 มีศาสนาสถานที่เป็นวันธรรมยุตินิกาย 9 วัด วัดมหานิกาย 107 วัด

         ศาสนาคริสต์ ชาวตราดที่นับถือศาสนาคริสต์ คิดเป็นร้อยละ 2 มีศาสนสถานที่เป็นโบสถ์นิกายโรมันคาทอลิก 1 แห่ง โดยไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่าเป็นกลุ่มผู้นัยถือศาสนาคริสต์เข้ามาในจังหวัดตราดเมื่อใด มีการสร้างโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิคขึ้นที่บ้านท่าเรือจ้าง อำเภอเมืองตราด เป็นโบสถ์ไม้ที่ตั้งอยู่บริเวณถนนท่าเรือจ้าง แต่สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานต่อมาได้มีการสร้างขึ้นใหม่เป็นแบบอาคารก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนมารดานุสรณ์ เป็นโบสถ์คริสต์แห่งเดียวในจังหวัดตราด

         ศาสนาอิสลาม ชาวตราดนับถือศาสนาอิสลามคิดเป็นร้อยละ 2.5 มีศาสนสถานที่เป็นมัสยิด 10 แห่ง ศาสนาอิสลามเข้ามาในจังหวัดตราดเมื่อประมาณ 100กว่าปีแล้ว มีชาวมุสลิมอพยพเข้ามา 2 คือทางประเทศกัมพูชา และทางตรังกานู ประเทศมาเลเซีย พากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันกับชาวพุทธที่บ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ ปัจจุบันยังคงมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ที่แห่งนี้

มัสยิดอัลกุบรอ บ้านน้ำเชี่ยว

4,189 views

0

แบ่งปัน