คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดโยธานิมิต

พระเจ้าตากสินมาที่วัดโยธานิมิตจริงหรือไม่

โบสถ์หลังเก่า สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

         วัดโยธานิมิตหรือวัดโบสถ์ เป็นวัดเก่าแก่มากวัดหนึ่ง อยู่ในเขตเทศบาลทางด้านตะวันตกของตัวเมืองตราด ไม่มีผู้ใดทราบประวัติความเป็นมาที่แน่ชัดว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยใด คงเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มารวบรวมกำลังที่จังหวัดตราดเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยานั้น ได้มารวบรวมกำลังอยู่บริเวณนี้ เมื่อมีเวลาก็ได้ขุดมูลดินไว้เพื่อที่จะสร้างวัดแต่ไม่มีเวลาพอ เพราะได้ยกทัพกลับไปจันทบุรีเสียก่อน เมื่อพระองค์กลับไปแล้ว พวกกรมการเมืองราษฎรได้นิมนต์พระมาประจำอยู่ติดต่อกันมาตามลำดับ ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาพระคลังกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา ยกทัพไปปราบญวน ได้ยกทัพมาอยู่ที่จังหวัดตราด เมื่อมีโอกาสว่างจึงช่วยกันสร้างวัดนี้ขึ้นมาจนเป็นผลสำเร็จ แต่เมื่อตรวจสอบหลักฐานที่จะยืนยันคำบอกเหล่าดังกล่าวนี้ ก็ไม่ปรากฏข้อความเช่นนี้อยู่ในพระราชพงศาวดารตอนใดเลย ในพระราชพงศาวดารไม่เคยมีบันทึกไว้ว่าเจ้าพระยาพระคลังหรือเจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพมาพักอยู่จังหวัดตราดเลย คงปรากฏเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่ชัดเจนตอนเดียวคือ ตอนที่ให้พระอภัยพิพิธ พระราชวรินทร์ และพระเทพสงครามคุมทัพเมืองจันทบุรี เมืองตราด และเมืองระยอง กับพระยาโสรัชชะ ออกญาเสนาอันชิตเจ้าเมืองกำปอด ยกเข้าตีค่ายญวนเมื่อเดือน 4 แรม 14 ค่ำ (ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2384) เท่านั้น

         ส่วนข้อความที่ระบุถึงพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังดังกล่าวข้างต้นนี้ปรากฎชัดอยู่ในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อเดือนอ้าย พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองออกไปสร้างวัดโยธานิมิต (วัดโบสถ์) ที่จังหวัดจันทบุรีพร้อมกับสร้างเมืองจันทบุรีขึ้นใหม่ ซึ่งถ้าพิจารณาหลักฐานดังกล่าวนี้แล้วจะเห็นว่า ชื่อวัดโยธานิมิตในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราดต่างมีชื่อพ้องกันทุกประการ แม้แต่ชื่อที่ใช้เรียกกันทั่วๆ ไปคือ วัดโบสถ์ ก็มีเหมือนๆ กัน จึงเข้าใจว่าอาจจะเกิดความสับสนไขวัเขวกันขึ้นระหว่างวัดทั้งสองนี้และเข้าใจเอาว่าการสร้างวัดโยธานิมิตที่จังหวัดจันทบุรีเป็นการสร้างที่จังหวัดตราดก็ได้1

พระประธาน และภาพจิตกรรมฝาผนัง ในโบสถ์หลังเก่า

 

โบสถ์หลังใหม่วัดโยธานิมิตร

 

ตู้พระไตรปิฎก สันนิฐานว่าอายุราวๆ สมัยต้นรัตนโกสิทร์

 

ศาลพระเจ้าตากสิน และอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน

 

........................................

1 จังหวัดตราด, สำนักงาน. (2527). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย,76.

11,549 views

1

แบ่งปัน