คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ร.5 ประพาสครั้งที่12

ร.5 เสด็จประพาส ถึง 12 ครั้ง กับความสำคัญเมืองตราดในยุคล่าอาณานิคม

ท่าเรือจ้างในปัจจุบัน และบ้านเรือนสองข้างทางบริเวณท่าเรือจ้าง

         ประพาสครั้งที่ 12 พ.ศ. 2450 การเสด็จครั้งนี้นับเป็นครั้งที่มีความหมายและสำคัญที่สุดในบรรดาทั้ง 12 ครั้ง เพราะเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองตราดนับจากเมืองตราดกลับคืนเป็นของไทย ภายหลังประสบวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ซึ่งส่งผลให้เมืองตราดตกเป็นของฝรั่งเศสอยู่ชั่วขณะหนึ่ง นอกจากนี้ยังเป็นการเสด็จฯครั้งสุดท้ายในรัชกาลและพระชนม์ชีพของพระองค์ด้วย เพราะอีก 3 ปีต่อมา พระองค์ก็เสด็จสวรรคต1

         การเสด็จมาครั้งนี้ ตามที่พระบริหารเทพธานี กล่าวถึง ท่าเทียบเรือพระที่นั่งว่า ทรงขึ้นท่าเรือจ้าง ซึ่งข้าราชการพ่อค้าประชาชนพร้อมใจกันประดับตกแต่งบ้านเมืองไว้ล่วงหน้า เมื่อเสด็จฯ ขึ้นท่าเรือจ้างแล้ว เสด็จฯตามถนนเข้าตลาดขวางไปท้ายตลาดใหญ่ จากนั้นทรงเสด็จไปที่พลับพลารับเสด็จที่บริเวณสนามหน้าศาลาว่าการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสตอบเป็นที่ประทับใจแก่ชาวเมืองตราดยิ่งนัก ใจความมีดังนี้

         ดูกรประชาชนอันเป็นที่รักของเราถ้อยคำซึ้งเจ้าทั้งหลายได้มอบฉันทะให้กล่าวเฉพาะหน้าเราเวลานี้เป็นที่จับใจอย่างยิ่ง

         สมัยเมื่อเราต้องพลัดพรากจากเขตร์แดนอันเป็นที่พึงใจซึ่งเราใส่ใจบำรุงอยู่และเมื่อนึกถึงประชาชนทั้งหลายอันเป็นที่รักใคร่คุ้นเคยของเราต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงอันประกอบไปด้วยความวิบัติไม่มากก็น้อยย่อมมีความเศร้าสลดใจเป็นอันมาก

         เพราะเหตุฉะนั้นครั้นเมื่อเราได้รับโทรเลขจากเมืองตราดในเวลาที่เราอยู่ในประเทศยุโรปเป็นสมัยเมื่อเราได้มาอยู่รวมกันอีกจึงมีความยินดีอย่างยิ่ง

         มีความปรารถนาที่จะใคร่ได้มาแลเห็นเมืองนี้แลเจ้าทั้งหลายเพื่อจะได้ระงับความลำบากอันใดซึ่งจะเกิดขึ้นด้วยความเปลี่ยนแปลงแลเพื่อจะได้ปรากฏเป็นที่มั่นใจแก่เจ้าทั้งหลายว่าการทั้งปวงจะเป็นที่มั่นคงยืนยาวสืบไปเจ้าทั้งหลายผู้ที่ได้ละทิ้งภูมิลำเนาจะได้กลับเข้ามาสู่ถิ่นฐานแลที่ได้ละเว้นการทำมาหากินจะได้มีใจอุสาหะทำมาหากินให้บริบูรณ์ดังแต่ก่อนแลทวียิ่งขึ้นซึ่งเจ้าทั้งหลายคิดเห็นว่าเราเหมือนบิดาที่พลัดพรากจากสืบบุตรจึงรีบมาหานั้นเป็นความคิดอันถูกแท้ขอให้เชื่ออยู่ในใจเสมอไปในเบื้องหน้าดังเช่นที่คิดเห็นในครั้งนี้ว่าเราคงจะเป็นเหมือนบิดาของเจ้าเสมอตลอดไปย่อมยินดีด้วยในเวลามีความสุขและจะช่วยปลดเปลื้องอันตรายในเวลามีภัยได้ทุกข์

         บัดนี้เรามีความยินดีได้เห็นเจ้าทั้งหลายมาสโมสรประชุมกัน ณ ที่นี้ด้วยหน้าตาเบิกบานซึ่งเป็นพยานว่าเราได้อยู่ในประเทศที่ไกลแต่รัฐบาลของเราได้จัดการตอนรับเจ้าทั้งหลายโดยความเอื้อเผื้อเป็นธรรมแลมีความกรุณาสมดังความปรารถนาแลคำสั่งของเราเปนที่พอใจความจงรักภัคดีของเจ้าทั้งหลายทั้งในเวลาที่ล่วงมาแล้วแลในเวลานี้จึงมีความที่จะให้เมืองตราดนี้อยู่เปนสุขสมบรูณ์แลขออำนวยพรแก่อาณาประชาราษฎรให้มีความเจริญสุขสิริสวัสดิทำมาค้าขึ้นบริบูรณ์มั่งคั่งสืบไปในภายหน้าฯ2

         จากนั้นทรงพระราชทานพระแสงสำหรับเมืองตราด ผู้ว่าราชการเมืองตราดรับจาก พระหัตถ์แล้วเชิญพระแสงขึ้นพาดไว้บันไดแก้วบนโต๊ะที่บูชา

พระแสงราชศัสตรา ประจำเมืองตราด

เหรียญเสมาที่ รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้ประชาชน

ถนนชัยมงคลท้ายตลาดใหญ่

........................................

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2553). โครงการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ “ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง จังหวัดตราด”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
สหธรรมิก, 379.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2553). โครงการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ “ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง จังหวัดตราด”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
สหธรรมิก, 393.

3,974 views

0

แบ่งปัน