คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

อู่ข้าว – อู่น้ำ

เมืองกรุงเก่า อู่ข้าว – อู่น้ำ

     จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ตั้งของราชธานีเก่าแก่อันมีความรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่จนถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่ารากเหง้าของความเป็นไทยในปัจจุบันส่วนหนึ่งได้รับการถ่ายทอด ส่งต่อมาจากที่แห่งนี้ “อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา” นั่นเอง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 รวมระยะเวลากว่า 417 ปีแห่งความมั่งคั่ง มั่นคง ร่ำรวยด้วยศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติจนเกิดเป็นสายธารแห่งชีวิตที่เต็มไปด้วยความสมบูรณ์พูนสุข คำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เห็นจะเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงเท่าใดนัก เนื่องด้วยเมื่อพิจารณาจากภูมิประเทศที่ตั้งของพระนครแล้ว นับว่าเป็นความชาญฉลาดและความเข้าใจในธรรมชาติของแผ่นดินและท้องน้ำของบรรพบุรุษเป็นอย่างยิ่งที่ได้เลือกบริเวณอันเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำ 3 สายคือ เจ้าพระยา ป่าสักและลพบุรี เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมในก่อตั้งราชอาณาจักรขึ้น ผืนแผ่นดินที่ดูดซับแร่ธาตุจากการตกตะกอนของสายน้ำที่พัดมาจากทางเหนือ ก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์ทุกหย่อมหญ้า เมื่อ “ดินดำ น้ำดี” ชีวีจึงเป็นสุขกันถ้วนทั่ว

     แม่น้ำทั้ง 3 สายทำหน้าที่เป็นคลองรอบกรุงและแนวป้องกันตามธรรมชาติ ส่วนคูคลองที่ขุดเชื่อมต่อถึงกันกับเส้นทางน้ำธรรมชาติ ใช้เป็นเส้นทางส่งน้ำไปสู่ชาวบ้านสำหรับใช้ในการเกษตร ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นเส้นทางคมนาคมอีกทั้งยังเป็นเส้นทางระบายน้ำที่สำคัญในช่วงฤดูน้ำหลาก แม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลผ่าน 3 สายคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ แม่น้ำป่าสักไหลผ่านทางทิศตะวันออก และแม่น้ำลพบุรี (ปัจจุบันเป็นคลองเมือง) ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ แม่น้ำ 3 สายนี้ไหลมาบรรจบกันโอบล้อมรอบพื้นที่ของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ตัวเมืองจึงมีลักษณะเป็นเกาะ เราจะเห็นบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำมายาวนาน

     ภูมิประเทศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ทุก ๆ ปีในสมัยก่อนเมื่อฤดูฝนเริ่มต้นขึ้นก็จะถึงเวลาปลูกข้าว โดยเริ่มจากการเพาะกล้าจากเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเอาไว้จากผลผลิตของปีที่แล้ว หลังจากนั้นก็จะเป็นการ “ดำนา” คือการนำกล้าข้าวไปปลูกลงบนผืนนาโดยมักจะลงมือหลังจากวันที่มีฝนตก เพราะน้ำฝนจะช่วยให้ดินมีความอ่อนนุ่มสามารถนำกล้าข้าวลงปลูกได้ง่าย เมื่อเสร็จแล้วก็รอคอยการมาถึงของน้ำที่จะไหลบ่ามาจากทางเหนือ ส่วนมากจะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม น้ำฝนที่สะสมมาตั้งแต่สิงหาคมนี้จะเพิ่มปริมาณขึ้นจนท่วมทุ่งนากินบริเวณเข้าไปจนถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวบ้านริมน้ำเลยทีเดียว ในฤดูน้ำหลากนี้ชาวบ้านมักจะเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เช่นการนำเรือออกมาเป็นพาหนะไปมาหาสู่กันหรือการปล่อยใต้ถุนบ้านให้โล่งเพื่อรองรับมวลน้ำ เป็นต้น ในช่วงน้ำหลากนี้เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต่างก็รอคอยเพราะต้นข้าวจะเจริญเติบโตชูต้นให้สูงขึ้นเพื่อหนีน้ำท่วม และมวลน้ำนี้จะพัดพาเหล่าบรรดาสัตว์น้ำและแร่ธาตุพืชพรรณต่าง ๆ เข้ามายังพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู หรือปลานานาชนิด เมื่อน้ำแห้งลงในช่วงเดือนพฤศจิกายนก็จะถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต บรรดาสัตว์น้ำที่ไม่ได้ออกจากพื้นที่ไปตามกระแสน้ำก็จะวนเวียนอยู่ในที่ลุ่ม หรือทุ่งนาและเติบโตขยายพันธุ์แพร่กระจายไปตามแม่น้ำลำคลองเป็นแหล่งอาหารให้ชาวบ้านต่อไป ปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินี้ยังความอุดมสมบูรณ์ให้ราชธานีเก่าแห่งนี้จนได้รับการขนานนามว่าเป็น อู่ข้าว – อู่น้ำ แห่งสยามประเทศและยังความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติมาถึงลูกหลานชาวพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน

     ปัจจุบันนี้ระบบการจัดการน้ำได้รับการพัฒนาขึ้นมาก ชาวอยุธยาไม่ต้องรอคอยน้ำฝนตามฤดูกาลอีกต่อไปแล้ว แต่วิถีการเกษตร วัฒนธรรมทางด้านอาหาร วิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ก็ยังคงเป็นสายธารชีวิตอันสงบสวยงามของผู้คนที่นี่อยู่นั่นเอง

3,980 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา