คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดแม่นางปลื้ม

     จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองกรุงเก่าที่ถูกพบว่าเคยมีอดีตที่รุ่งเรือง ยิ่งใหญ่เกรียงไกรอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ มีประวัติศาสตร์อันยาวนานรวมระยะเวลากว่า 417 ปี มีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์  สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ความเชื่อ ประเพณีต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายให้เราชนรุ่นหลังได้ค้นคว้าศึกษาเรียนรู้กัน โบราณสถานเก่าแก่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งแต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนักคือ “วัดแม่นางปลื้ม” ที่ตำบลคลองสระบัว เดิมเรียกว่าวัดท่าโขลง เพราะเป็นจุดที่โขลงช้างผ่าน ก่อนเข้าเพนียด หลักฐานทางโบราณคดีและสื่อเรียนรู้ในวัดเล่าประวัติความเป็นมาของวัดว่า สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.1920 สมัยขุนหลวงพะงั่ว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยา หากว่าข้อมูลนี้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง นับจนถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2563) วัดแม่นางปลื้มก็มีอายุถึง 643 ปีแล้ว  แต่ทว่าสถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้างภายในวัดยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก แตกต่างจากวัดที่ร่วมสมัยเดียวกันอีกหลาย ๆ วัด ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามในคราวกรุงศรีฯแตกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) จนแทบจะเรียกได้ว่ามีเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง ยากแก่การบูรณะให้สมบูรณ์ดังเดิม เรื่องนี้มีคำตอบอยู่ในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่ง ความว่า "ลุศักราช 1129 (พ.ศ.2310) ปีกุน นพศก ถึง ณ วันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 วันเนาว์สงกรานต์ วันกลาง พม่าจุดเพลิงเผาฟืนเชื้อใต้รากกำแพงตรงหัวรอ ริมป้อมมหาไชย และพม่าค่ายวัดการ้อง วัดนางปลื้ม และค่ายอื่นๆทุกค่ายจุดปืนใหญ่ ป้อมปืนและหอรบ ยิงระดมเข้ามาในกรุงพร้อมกัน ตั้งแต่เพลาบ่าย 3 โมงเศษจนพลบค่ำ" ซึ่งสรุปได้ว่า วัดแม่นางปลื้มเป็นหนึ่งในที่ตั้งค่ายของพม่าในการจุดปืนใหญ่ระดมยิงเข้าไปในกรุงศรีฯ ดังนั้นพื้นที่บริเวณวัดจึงไม่ได้รับความเสียหายจากสงครามมากนัก “วัดแม่นางปลื้ม” เป็นวัดเก่าแก่ มีสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างแบบไทยโบราณที่สมบูรณ์ งดงามทรงคุณค่า ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ มาตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2538

     สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

1. เจดีย์ประธานของวัดแม่นางปลื้ม เป็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยม บนฐานทักษิณมีรูปสิงห์ปูนปั้นรายรอบอยู่ 36 ตัว เป็นหนึ่งในสองเจดีย์ฐานสิงห์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อีกแห่งหนึ่งคือเจดีย์วัดธรรมิกราช) เจดีย์ประธานวัดแม่นางปลื้มได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรในปี พ.ศ. 2543 และ ปี พ.ศ. 2556

2. วิหารหลวงพ่อขาว อยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ สันนิษฐานว่าพระวิหารน่าจะได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 เนื่องจากหน้าบันตกแต่งด้วยเครื่องถ้วยจีนเป็นลายเครือเถา ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธนิมิตรมงคลศรีรัตนไตรหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อขาว” หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์ยิ้มแย้ม ลักษณะสมบูรณ์สง่างามมาก องค์พระเป็นสีขาวตลอดทั้งองค์ มีเพียงพระเกศาเท่านั้นที่เป็นสีดำ เชื่อว่าหลวงพ่อขาวสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1920 พร้อม ๆ กับวัดแม่นางปลื้ม วิหารแห่งนี้มีประตูตรงกลางที่เมื่อมองตรงทะลุประตูเข้าไปจะเห็นองค์หลวงพ่อขาวประดิษฐานอยู่ ทางวัดได้จัดวางพระพุทธรูป อาทิ พระพุทธรูปปางยืนอุ้มบาตร ปางห้ามสมุทร และพระสังกัจจายน์ เอาไว้ให้สาธุชนกราบสักการะ ประตูกลางแห่งนี้แต่เดิมเป็นประตูสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จผ่านเข้าออก ขุนนางและประชาชนธรรมดาไม่อาจเดินผ่านได้ วิหารและองค์หลวงพ่อขาวได้รับการบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ. 2543 โดยกรมศิลปากรพร้อมกับการบูรณะเจดีย์ประธาน

3. โบสถ์ของวัดแม่นางปลื้มเป็นโบสถ์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หน้าบันตกแต่งด้วยเครื่องถ้วย เช่นเดียวกับพระวิหาร ภายในประดิษฐานพระพุทธมหาปิติเทวะนฤมิตปฏิมากรณ์ หรือ “หลวงพ่อปลื้ม”  พระประธานของโบสถ์ โดยหลวงพ่อปลื้มนี้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในมัยอยุธยาตอนต้นหรือเก่าแก่กว่านั้น

4. ซุ้มประตูวัดแม่นางปลื้มเป็นซุ้มประตูวัดแบบโบราณให้อารมณ์ความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ เมื่อก้าวล่วงเขตประตูเข้าไปยังส่วนของโบราณสถาน ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังผ่านประตูทะลุมิติไปยังอดีตอย่างไรอย่างนั้น เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์ค UNSEEN THAILAND ได้เลยทีเดียว ซุ้มประตูนี้ตั้งขึ้นตรงกับประตูกลางของวิหารหลวงพ่อขาวซึ่งมองทะลุไปยังองค์หลวงพ่อขาวได้

ตำนานสมเด็จพระนเรศวร กับหญิงชรา “แม่ปลื้ม”

     มีตำนานเกี่ยวกับประวัติของวัดแม่นางปลื้มเรื่องหนึ่งที่เล่าต่อกันมาอย่างแพร่หลาย ว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือพระองค์ดำ มีเย็นวันหนึ่ง ขณะที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จล่องเรือไปตามแม่น้ำ ทรงติดพายุฝนไม่สามารถเสด็จกลับพระราชวังได้ พระองค์แลเห็นแสงไฟจากบ้านหลังหนึ่งที่อยู่ติดริมแม่น้ำ จึงได้เสด็จอย่างเร่งรีบไปขึ้นท่าน้ำบ้านเก่าๆหลังนั้น ซึ่งเป็นบ้านของหญิงชราผู้ยากจนอาศัยอยู่คนเดียว แต่ด้วยความที่พระองค์เป็นกษัตริย์นักรบผู้ห้าวหาญ พระสุระเสียงจึงดังกังวานอย่างผู้ยิ่งใหญ่ หญิงชราตกใจตัวสั่นด้วยความกลัว และอ้อนวอนให้พระองค์เงียบเสียงลงเพราะกลัวจะไปต้องพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดินที่อาจจะผ่านมาเมื่อใดไม่ทราบได้ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศ ฯ กลับยิ่งเปล่งสุระเสียงให้ดังยิ่งขึ้นอย่างไม่เกรงกลัวพระราชอาญาอันใดตรัสว่า หากพระเจ้าแผ่นดินผ่านมาได้ยินและต้องการจะลงอาญาพระองค์เสียให้ถึงชีวิต ก็จะถือว่าเป็นคราวเคราะห์ของพระองค์เอง หญิงชราพยายามห้ามไม่ให้พระองค์กล่าววาจาก้าวล่วงพระเจ้าแผ่นดิน พร้อมทั้งยังกล่าวยกย่องเทิดทูนพระเจ้าแผ่นดินไว้เหนือหัวด้วยความจงรักภักดี ทำให้สมเด็จพระนเรศวร ฯ พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก จึงยอมลดพระสุระเสียงลง หลังจากนั้นหญิงชราได้ดูแลหาผ้าแห้งมาให้พระองค์ได้ผลัดเปลี่ยนและจัดการฉลองพระองค์ที่เปียกฝนให้อย่างเรียบร้อย จากนั้นสมเด็จพระนเรศวร ฯ ก็ได้สร้างความตกใจให้แก่หญิงชราอีกครั้งเมื่อพระองค์ขอดื่มสุราเพื่อแก้อาการหนาว หญิงชรากราบทูลว่าระยะนี้เป็นช่วงเข้าพรรษา การดื่มสุราเป็นเรื่องที่ผิด มิมีผู้ใดซื้อขายหรือดื่มสุรากันในช่วงนี้ หากพระเจ้าแผ่นดินทรงทราบเข้านางและพระองค์จะต้องโทษได้ สมเด็จพระนเรศวรยืนกรานจะเสวยน้ำจันทร์ให้ได้และไม่เกรงกลัวพระราชอาญาอีกเช่นเคย จนหญิงชราต้องยอมนำสุรารินใส่จอกมาให้พระองค์และสาบานว่านางซื้อสุรานี้มาไว้ตั้งแต่ยังไม่เข้าพรรษา และไม่ได้ดื่มอีกเลยนับตั้งแต่เข้าพรรษามา นอกจากนั้นยังขอร้องมิให้เรื่องที่นางนำสุรามาให้พระองค์เสวยนั้นแพร่งพรายไปที่อื่น สมเด็จพระนเรศวร ฯ ให้คำมั่นว่าจะมิบอกกล่าวเรื่องนี้แก่ผู้ใดทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองสนทนากัน หญิงชรากล่าวเรียกพระองค์ดำว่า “ลูก” ทุกคำด้วยความเมตตา แม้จะไม่เคยรู้จักหรือพบหน้ากันมาก่อน พระองค์เองก็ตรัสเรียกแทนพระองค์เองว่า “ลูก” เช่นกัน เมื่อเสวยน้ำจันทร์และเข้าบรรทมที่บ้านของหญิงชราแล้ว ย่ำรุ่งพระองค์ก็เสด็จกลับพระบรมมหาราชวังพร้อมทหารองค์รักษ์ที่รอคอยอยู่ใกล้ ๆ บ้านของหญิงชรานั่นเอง หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระนเรศวร ฯ มีพระราชดำรัสให้ข้าราชบริพารจัดขบวนเรือหลวงซึ่งเป็นเรือพระที่นั่งสำหรับพระราชชนนีหรือพระมเหสีใช้ในพระราชพิธี ไปยังบ้านของหญิงชราซึ่งต่อมาทราบชื่อว่า “แม่ปลื้ม” และประทานฉลองพระองค์ที่ใช้ในคืนนั้นมาด้วยเพื่อให้แม่ปลื้มจำพระองค์ได้ และให้มหาดเล็กเชิญตัวแม่ปลื้มไปเข้าเฝ้าในพระบรมมหาราชวัง เมื่อนำตัวไปเข้าเฝ้าเฉพาะพระพักตร์ พระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จมาจูงมือนางและตรัสว่า พระองค์คือบุคคลที่ไปอาศัยบ้านนางเมื่อคืนนี้ และนางได้ดูแลอย่างดี ทรงตรัสว่า “ในยามยาก นางได้รับฉันเป็นลูกของนาง ดังนั้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ลูกก็จะเรียกนางว่าแม่ และจะรักยิ่งต่อไป” พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งให้จัดที่อยู่ในพระราชวังให้หญิงชรา และให้นางได้รับการดูแลปรนนิบัติอย่างดีดุจพระมารดาของพระองค์ จนกระทั่งนางได้สิ้นชีพลง พระองค์ทรงจัดพิธีถวายพระเพลิงเช่นเดียวกับพระราชินีทีเดียว และได้บูรณปฏิสังขรณ์ “วัดแม่นางปลื้ม” เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่หญิงชรา

9,247 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา