คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปลาตะเพียนสาน

     การสานปลาตะเพียนใบลานเป็นอาชีพเก่าแก่ที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นานกว่า 100 ปี โดยสันนิษฐานว่าชาวไทยมุสลิมซึ่งล่องเรือขายเครื่องเทศอยู่ตามแม่น้ำเจ้าพระยาและอาศัยอยู่ในเรือเป็นผู้ประดิษฐ์ปลาตะเพียนสานด้วยใบลานขึ้นเป็นครั้งแรก แรงบัลดาลใจอาจจะมาจากความรู้สึกผูกพันอยู่กับท้องน้ำ สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวและความคุ้นเคยกับรูปร่างหน้าตาของปลาตะเพียนเป็นอย่างดี โดยใช้วัสดุจากท้องถิ่น เช่น ใบมะพร้าว ใบลาน ใบตาล ปลาตะเพียนสานด้วยใบลานในสมัยก่อนนั้นไม่สวยงามและมีขนาดใหญ่โตเช่นปัจจุบันนี้ ปลาตะเพียนรุ่นแรกสร้างขึ้นเรียกว่า “ปลาโบราณ” โดยจะทำเป็นตัวปลาขนาดเล็กๆ ขนาด 1-3 ตัวเท่านั้น ปลาตะเพียนใบลานมักทาด้วยสีเหลืองซีดๆ ที่ทำด้วยวัตถุดิบจามธรรมชาติที่เรียกว่า “รงค์” ผสมกับ น้ำวานิช แล้วน้ำไปเสียบไม้สำหรับห้อยแขวนเลยและปลาตะเพียนใบลานสมัยก่อนยังมีจำนวนน้อยมากถ้าเทียบกับปัจจุบัน

     ปลาตะเพียนสาน เป็นงานประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย เดิมมักใช้ใบลานมาทำเป็นเส้นแผ่นยาว ๆ บาง ๆ มาตากแดด 2-3 นาที แล้วมาสานเป็นรูปปลาตะเพียน เนื่องจากใบลานมีโครงสร้างที่เหนียว แข็งแรง แล้วลงสีให้สวยงาม จากนั้นก็นำมาประกอบเป็นโมบาย สมัยก่อนคนไทยมีอาชีพทำนากันเป็นส่วนใหญ่ ในคูคลองก็จะมีปลาตะเพียนเป็นจำนวนมาก ปลาตะเพียนสานจึงเป็นสัญญลักษณ์แห่ง ความอุดม สมบูรณ์ เนื่องจากช่วงที่ ปลาโตเต็มที่นั้น เป็นช่วงเดียวกับ ช่วงเวลาที่ข้าวตกรวง นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะแขวน ปลาตะเพียนสาน ไว้เหนือเปลเด็ก เพื่อเป็นการอวยพร ให้เด็กสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย และในโอกาสที่มีพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พ.ศ. 2548 จึงให้ประชาชนคนไทยร่วมสานปลาตะเพียนร้อยเป็นโบมายแขวนประดับไว้ที่หน้าบ้าน หรือห้างร้านเพื่อถวายพระพร ปลาตะเพียนสาน มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีลวดลายและตกแต่งสวยงาม ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และอีกชนิดหนึ่งเป็นเพียงสีใบลานตามธรรมชาติ

     ปัจจุบันปลาตะเพียนสานยังมีการทำกันเป็นสินค้า OTOP ของชาวบ้านกลุ่มท่าวาสุกรี จังหวัดอยุธยา อีกด้วย ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน และยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนไทยไว้ นอกจากนี้บางคนยังใช้ริบบิ้นทำอีกด้วย นอกจากปลาตะเพียนสานใบลานที่ลงสีมาในสมัยรัชการที่ 5 แล้วในปัจจุบันยังมีการคิดเพิ่มเติมค่าให้ปลาตะเพียนในสมัยปัจจุบัน ได้มีการค้นคิดการฉลุใบลานขึ้นมาอีกเพี่อเพิ่มคุณค่าและลวดลายต่างๆลงไป อีกทั้งยังพัฒนา ประโยชน์การใช้งานปลาตะเพียนสานใบลานให้มีประโยชน์มากกว่าการที่จะเป็นเครื่องแขวนสำหรับใช้ในโอกาสอื่น ๆ อีกมากมายได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า OTOP กรุงเทพที่เขตธนบุรี และได้เป็นวิสาหกิจชุมชน ได้มีการจดลิขสิทธิ์และแจ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย

     ดังนั้นโมบายปลาตะเพียน จึงเป็นอีกหนึ่งของฝาก ของขวัญ ของประดับ และของชำร่วย ที่หลายคนยังนิยมชมชอบและอดที่จะซื้อกลับไปไม่ได้ เมื่อได้มีโอกาสไปเยือน… พระนครศรีอยุธยา 

17,071 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา